การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน ตอนที่ ๒


  1.  การประสานและสนับสนุนให้เกิดโครงการวิจัยย่อยใน 4 ประเด็น

 

การประสานและสนับสนุนให้เกิดโครงการวิจัยย่อยใน 4 ประเด็น

 

1)  รูปแบบและวิธีการจัดการกลุ่ม เครือข่ายระดับหมู่บ้าน/ตำบลให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

 

2)  รูปแบบและวิธีการในการจัดสวัสดิการและบทบาทในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ขึ้นในชุมชนโดยกลุ่มและ   เครือข่ายระดับหมู่บ้าน/ตำบล โดยการมีส่วนร่วมของกลไกสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ

 

3) ระบบการทำงานและทักษะ/ความรู้ที่จำเป็นของหน่วยสนับสนุนในพื้นที่เพื่อใช้ในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเครือข่ายระดับหมู่บ้าน/ตำบลให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

4)      รูปแบบและวิธีการในการจัดการทุนระดับบุคคล/ครอบครัวของสมาชิกกลุ่มให้เกิด

 

ความเข้มแข็งขึ้นในระดับจิตใจ เศรษฐกิจและสังคม

 

การประสานและสนับสนุนให้เกิดโครงการวิจัยนั้นอาศัยเครือข่ายนักวิจัยและนักพัฒนาที่ผู้ประสานงานรู้จักและได้รับคำแนะนำประกอบด้วย

 

1)  เครือข่ายนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏในชุดโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวน35 มหาวิทยาลัย

 

2)      เครือข่ายวิจัยจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของ สกว.ภาค

 

3)      นักพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนที่ทำงานเกาะติดเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน

 

              โดยผู้ประสานงานได้กำหนดเป้าหมายจำนวน 6 พื้นที่ทั่วประเทศ ( 5 พื้นที่เป็นชุมชนชนบท  และ 1 พื้นที่เป็นชุมชนเมือง) ผลการดำเนินงานมีนักวิจัยรวม 14 พื้นที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

 

หมายเลขบันทึก: 6116เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2005 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท