เก็บแสงแดดไว้ใช้ตอนกลางคืน ที่สวนโมกข์


โดยไม่ต้องซื้อถ่านไฟฉายเลยแม้แต่ชุดเดียว จนตลอดพรรษา ...

 

    ปี 2531 ผมบวชเรียนและจำพรรษาอยู่ที่สวนโมกข์  นอกจากการศึกษาและปฏิบัติธรรมแล้ว ยังมีเกร็ดประสบการณ์ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหา  และลองวิชา ที่อยากนำมาบันทึกเอาไว้อ่านกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ และการขยายผลจากความรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางออกไป

    เรื่องแรกก็ตามหัวเรื่องของบันทึกนี้แหละครับ  " เก็บแสงแดดไว้ใช้ยามค่ำคืน " เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง และเป็นความตั้งใจตั้งแต่ก่อนเดินทางไปที่นั่นแล้วล่ะครับ  คือช่วงปี 27-29 ที่ผมใช้ชีวิตศึกษาดูงานอยู่ที่ญี่ปุ่น  และไปลุยคลองถมญี่ปุ่น คือย่าน Aki habara เกือบทุกสัปดาห์ และหาซื้อ ของแปลก ของถูกจำพวกวัสดุที่ใช้ในงานไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ ไว้มากมาย เพื่อทดลองอะไรต่อมิอะไรด้วยใจรัก  หนึ่งในจำนวนนั้น ผมได้แบตเตอรี่พลังแสง (Solar Battery) ขนาดใส่กระเป๋าเสื้อได้มาตัวหนึ่ง  ลดราคาเหลือประมาณ 450 บาท  จากราคาจริงราวๆ 1000 บาท  มันสามารถจ่ายแรงดันได้ประมาณ 3 โวลต์ และกระแสประมาณ 200 mA. ซึ่งเพียงพอที่จะประจุ หรือ ชาร์จ ไฟให้กับแบตเตอรี่ หรือ "ถ่านชาร์จ" ชนิด Ni-Cad ได้  ก่อนไปสวนโมกข์ก็เลยตั้งใจมั่นว่าตลอดพรรษา จะลองเก็บแสงแดด  แปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า  เก็บไว้ในถ่านขนาดกลาง 2 ก้อนที่ใช้กับไฟฉายดู โดยจะไม่ยอมซื้อถ่านไฟฉายเลยตลอดพรรษา  ทำได้สำเร็จครับ  ดัดแปลงง่ายๆด้วยการ  เอากระดาษม้วนห่อถ่านไฟฉายทั้ง 2 ก้อนที่เรียงต่อกันแบบอนุกรม แล้วใช้ยางรัดของ รัดหัว-ท้าย  ต่อสายจากช่อง DC.Out มายังขั้วบวก-ลบของถ่าน นำชุดอุปกรณ์ไปวางรับแสงแดดข้างกุฏิ  บางทีเงาพุ่มไม้ทอดผ่านมาบังก็ไปขยับ ย้ายที่ตั้งเสียหน่อยเพื่อให้แผ่น Solar Cells ได้รับแสงแดด

   ทุกคืนทั้งตอนหัวค่ำและตอน ตี 3 ตี 4 ที่เราจะต้องมารวมตัวกันสวดมนต์ทำวัตรที่ลานหินโค้ง  ผมได้อาศัยแสงสว่าง  จากไฟฉายกระบอกนั้นเป็นเครื่องส่องนำทาง  และเป็นแสงที่เก็บมาจากดวงอาทิตย์ในตอนกลางวัน  โดยปลี่ยนแสงแดดให้เป็นไฟฟ้าและเก็บไว้ในถ่านไฟฉาย 2 ก้อนนั้น โดยไม่ต้องซื้อถ่านไฟฉายเลยแม้แต่ชุดเดียว จนตลอดพรรษา  ปัจจุบันอุปกรณ์ดังกล่าวก็ยังคงอยู่และใช้งานได้ดี .. ไม่น่าเชื่อนะครับ  เกือบ 20 ปีเต็มแล้วนะนี่

  นี่ครับ เจ้า " Pocket Solar Battery " ตัวเก่ง ที่ซื้อมาตั้งแต่ 15 มีนาคม 2529

            

 

 

หมายเลขบันทึก: 6111เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2005 01:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • แวะมาทักทายค่ะ
  • อาจารย์เก่งจังเลยนะค่ะ
  • อยากเก่งเหมือนอาจารย์จังเลย
  • ขอเป็นลูกสาวอาจารย์ได้มั๊ยค่ะ (อิอิ)
  • http://gotoknow.org/blog/akirao

   ดีใจจังเลย !
         เป็นบันทึกที่ไม่เคยมีใครมาแสดงความเห็นไว้เลย ทั้งที่ผ่านมาเกือบ 2 ปีแล้ว มิหนำซ้ำคนเข้ามายังเป็นคน ไม่ธรรมดา .. 

     P เป็นนักศึกษาที่ "เอาการเอางาน" .. เป็น ลูกศิษย์ แล้วยังขอเป็น ลูกสาว ด้วยก็ยิ่งดีใหญ่เลย .. ด้วยความยินดีครับ .. ไม่ต้อง อิ อิ.

  • ผมคงขอเป็นลูชายไม่ได้เพราะแก่แล้ว 
  • ขอเป็นเพื่อนของลูกสาวก็แล้วกันนะท่านพี่..อิอิ
  • แวะมาทักทายครับ

สวัสดีค่ะ

P

เพิ่งมีโอกาสได้เห็นบันทึกนี้ค่ะ น่าสนใจนะคะ

ดิฉันเคยใช้แบบนี้ ตอนไปค้างที่ภูกระดึงค่ะ ค่ะ แต่มีคนทำให้ค่ะ ได้สนใจถามความรู้เขาอยู่บ้างค่ะ

ดิฉันเห็น.....เขาเก็บไฟฟ้ากระแสตรงที่ผลิตได้จากแสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน เพื่อไปใช้ในเวลากลางคืน โดยการนำไปเพิ่มประจุของชุดแบตเตอรี่ (เก็บไฟที่ผลิตได้ไว้ในแบตเตอรี่) หลังจากนั้น จึงจะนำไฟฟ้าไปใช้งานตามต้องการ โดยอาจนำไฟฟ้าที่เก็บไปใช้ในลักษณะกระแสตรงเหมือนเดิม หรืออาจจะแปลงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) โดยติดอุปกรณ์เพิ่ม ก่อนจะนำไปใช้งานก็ได้

น่าสนใจ และใช้ได้ดีมากจริงๆ อย่างอาจารย์บอกน่ะค่ะ

ผมพึ่งรู้นะครับว่ามีอย่างนี้ด้วย  เป็นความรู้ใหม่ครับ

 

และขออนุโมทนาบุญกับอาจารย์ด้วยนะครับ  ที่ได้บวชศึกษาธรรมะ  และสวดมนต์  และยังนำความรู้ดีๆมาให้ 

      .........ทำต่อไปนะครับ.... 

                                                          เด็ก มก. กพส.

สวัสดีครับ
    บันทึกนี้เขียนไว้นานแล้ว  ยังมีท่านติดตามอ่านก็ต้องขอขอบคุณครับ

  • ท่านน้องชายนาย สะ-มะ-นึ-กะ .... ขอบคุณครับ .. เพื่อนลูกสาวหรือ ... อิ อิ อิ .. วัยเดียวกันเลยนิ
  • ท่านพี่ sasinanda ... ขอบพระคุณครับ ... เรื่องพลังธรรมชาติ เช่นสายน้ำ  แสงแดด  สายลม ทำอะไรได้ง่ายๆ อีกมากมายครับ  ควรส่งเสริมให้มีการทดลองในระดับเล็กๆ เช่นในครัวเรือนหรือชุมชน  การสร้างไฟฟ้าใช้เองฟรีๆ ทำได้ไม่ยากครับเพียงแต่เรายังไม่เอาจริงเพราะยัง ไม่เดือดร้อนถึงที่สุดกระมังครับ
  • คุณ Nakaru .... ขอบคุณที่ติดตามครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท