บางส่วนจากหนังสือ KM ฉบับขับเคลื่อน LO


          ขอขอบคุณบรรดาแฟนๆ ทั้งที่เป็นนักอ่าน และนักปฏิบัติจัดการความรู้ทุกท่านครับ ผมได้นำบางส่วนของหนังสือ “KM ฉบับขับเคลื่อน LO” มาให้ท่านอ่านดังต่อไปนี้ครับ: 

บทนำ
มองภาพใหญ่ เข้าใจภาพรวม

          สองสามปีที่ผ่านมาถือได้เป็นช่วงเวลาที่มีการพูดถึงเรื่องการจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM) และเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization – LO) กันค่อนข้างมาก ...เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? ผมจะลองมองเป็นสองประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรกเป็นการมอง ภาพใหญ่ ในระดับสังคมโลก ส่วนประเด็นที่สองเป็นการมองในระดับของสังคมไทย 

          ประเด็นแรกถือว่าเป็นผลพวงมาจากสิ่งที่เราเรียกว่าโลกาภิวัตน์ (Globalization) คือโลกทั้งโลกเชื่อมโยงต่อถึงกัน การเปลี่ยนแปลงในที่แห่งหนึ่งมีผลต่อกระทบต่อในอีกหลายๆที่ ระบบที่เรียกว่าเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) เป็นเศรษฐกิจของสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge-based Society) ในสังคมฐานความรู้นี้ ผู้บริหารจะต้องให้กับความสำคัญกับการจัดการความรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติงาน “Human Capital” กลายเป็น ต้นทุน ที่สำคัญ องค์กรที่ต้องการจะประสบความสำเร็จ จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสามารถดึงศักยภาพของคนแต่ละคนออกมาได้อย่างเต็มที่ ในปัจจุบันเริ่มมีการให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)”  มีความพยายามที่จะตีค่าสิ่งเหล่านี้ให้ปรากฏออกมาทางบัญชี   ในรูปของสินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้  (Intangible Assets)

          ประเด็นที่สองที่ทำให้สังคมไทยตื่นตัวกันยกใหญ่ในเรื่อง KM และ LO ก็คือกระแสที่เกิดขึ้นในภาคราชการเมื่อสำนักงาน ก.พ.ร. ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการจัดการความรู้ และการพัฒนาส่วนราชการไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (หมวด 3 มาตรา 11) ดังมีใจความตอนหนึ่งว่า ... ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ..... โดยที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดให้ทุกส่วนราชการดำเนินการเรื่อง KM และ LO ตามที่ระบุไว้ในคำรับรองปฏิบัติราชการ (มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร) 

          หากเราพิจารณาดูให้ดีก็จะพบว่าเรื่อง KM และ LO ที่กำลังพูดถึงกันนี้ แท้จริงแล้วอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ใหม่ในสังคมไทยก็ได้ แต่ก่อนตอนที่เราไม่ได้เรียกว่า KM  ในหลายๆ ที่ก็อาจจะมีการจัดการความรู้กันอยู่บ้างแล้ว   เพียงแต่ว่าในตอนนั้นสิ่งที่ทำๆ กันอาจจะไม่ชัดเจน หรือไม่ได้ทำเต็มรูปแบบเหมือนกับที่พูดกันในขณะนี้   ในบางที่อาจจะสนใจจัดการเฉพาะความรู้ที่อยู่ในเอกสาร  สนใจแต่ความรู้ที่เป็นหลักวิชาการ  ในขณะที่บางแห่งก็อาจเน้นเฉพาะความรู้เชิงปฏิบัติการ  ให้ความสำคัญเฉพาะส่วนที่เห็นว่าเป็นความรู้ที่มาจากประสบการณ์จริง ด้วยเหตุนี้การจัดการความรู้ที่ทำกันอยู่แต่เดิม จึงอาจทำแค่เพียงบางส่วน  ยังไม่ครบถ้วนไม่ครอบคลุม 

          เมื่อสองปีที่แล้วผมได้เขียนหนังสือ KM เล่มแรกขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า การจัดการความรู้ ฉบับมือใหม่หัดขับ ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ที่สนใจ ทำให้มีการจัดพิมพ์ไปแล้วถึง 7 ครั้ง แต่สิ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับผมค่อนข้างมากก็คือการที่พบว่า ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจ หลักใหญ่ ในการทำ KM หลายคนยัง สับสน จับต้นชนปลายไม่ได้ว่าเป้าหมายที่แท้จริงของการทำ KM คืออะไร ไม่รู้ว่า KM ที่ เต็มรูปแบบ นั้นทำกันอย่างไร ที่เห็นทำๆกันอยู่กลายเป็น KM แบบ ติดรูปแบบ ไป นอกจากนั้นยังไม่เข้าใจว่า KM เต็มรูปแบบนั้น จะนำไปสู่การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร        

          หนังสือเล่มนี้พยายามที่จะตอบคำถามข้างต้น เรียกได้ว่าเป็นการ ต่อยอด จากเล่มแรก ฉบับมือใหม่หัดขับโดยที่ผมพยายามเพิ่มเนื้อหาที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติมในสองปีที่ผ่านมานี้ลงไปแต่ในส่วนของรูปแบบการนำเสนอนั้นได้พยายามทำตามแบบเดิม คือเลือกใช้ภาษาที่ง่ายๆ ให้อ่านได้แบบสบายๆ เสมือนประหนึ่งว่ากำลังพูดคุยกัน โดยเกริ่นให้เห็น ภาพใหญ่ ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในรายละเอียด สำหรับประเด็นที่มีการพูดไว้ในหนังสือเล่มอื่นอยู่แล้ว ก็ไม่ได้นำมารวมไว้ เพราะต้องการให้เนื้อหากระชับมากที่สุดเพื่อที่หนังสือนี้จะได้ไม่หนาจนเกินไป         

          ผมหวังว่าเนื้อหาและวิธีการนำเสนอที่ใช้นี้ คงจะทำให้ท่านเพลิดเพลินไปกับการอ่าน และทำให้ท่านได้เรียนรู้เรื่อง KM และ LO นี้อย่างมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านอ่านจบแล้ว นอกจากจะเข้าใจในเรื่อง KM และ LO แล้ว ยังอาจทำให้ท่านเกิดแรงบันดาลใจ จนรู้สึกไปว่า KM และ LO เป็นเรื่องที่ไม่ทำไม่ได้แล้ว !! 

หมายเลขบันทึก: 61140เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
ขอบคุณท่าน อ. ประพนธ์ค่ะ อ่านเล่มมือใหม่หัดขับแล้วและจะตามอ่านหนังสือเล่มนี้ต่อไปค่ะ

ขอบคุณครับ คุณวันเพ็ญ Comment เร็วจังเลยครับ

สวัสดีครับ 

  • จะติดตามรอเล่มนี้นะครับ

ดีใจที่อาจารย์ประพนธ์จะออกหนังสือเล่มใหม่อีก มีหนังสือ อาจารย์ทุกเล่มเลยค่ะ จะรอเล่มใหม่ KM ฉบับขับเคลื่อน LO ค่ะ

เรียน อ.ดร.ประพนธ์ค่ะ ถือว่าเป็นโชคดีกว่าเพื่อน..ที่ได้อ่านหนังสือของอาจารย์ก่อนใครๆ....แม้จะเป็นเพียงบทนำ...(ซึ่งถือเป็นหัวใจของหนังสือ)ก็ตาม... ถือว่าอาจารย์ควักหัวใจให้เพื่อนๆเลยแหละ ขอบพระคุณแทนเพื่อนๆทุกคนค่ะ
แต่ก่อนจะมีกระแส KM ผมไม่ค่อยกังวลเท่าไหร่ ตอนนี้พอมองออก ผมเลยรู้สึกสงสารชาวบ้านมากๆเลย เพราะนอกจากจะถุกกระแสบริโภคนิยมลากไปแบบไม่ปราณีแล้ว ยังถูกภาคราชการละเลยปล่อยทิ้งจากความไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของภาคราชการเอง เมื่อเราทำ LO แล้ว จะมีทางแก้ปัญหาการพายเรือในกะลาได้ไหมครับ ผมอยากจะเห็นการออกจากกะลาไปสู่โลกแห่งความจริง อย่างค่อยๆไปก็ได้ แต่การอยู่ในกะลาไม่ได้ช่วยใครเลย อย่างมากก็แก้เฉพาะปัญหาของตัวเองเท่านั้น LO น่าจะเป็นอีกความหวังหนึ่งของประเทศนะครับ

อยากให้ถึงวันพรุ่งนี้เร็ว ๆ ถ้าถึงพรุ่งนี้เร็ว ก็จะถึงวันงานมหกรรมฯ เร็ว ถ้าถึงวันมหกรรมเร็ว ก็จะได้อ่านหนังสือเล่มนี้เร็ว  (5555)  ใจจดจ่อรอหนังสือ ขอบคุณคะ

ผมเองก็รู้สึกเหมือนหลายท่านครับ คืออยากเห็นหนังสือเร็วๆ ....ขณะนี้ได้ทราบว่าอยู่ในขั้นตอนการพิมพ์ ทางสำนักพิมพ์ยืนยัน (นั่งยัน) ว่าออกทันงานวันที่ 1 ธ.ค. แน่ๆ .....ทำหนังสือสนุกก็ตรงนี้แหละครับ ...ตรงที่ได้ตั้งตารอคอยสิ่งที่กำลังจะออกมา ....ผมเป็นคนหนึ่งที่ "บ้าหนังสือ" ครับ ...ไปงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติแต่ละครั้ง หอบกลับมาบ้านมากมาย ที่ซื้อมาซ้ำก็หลายเล่ม (เป็นตัวชี้วัดว่าซื้อมาแล้วยังไม่ได้อ่าน จึงซื้อมาซ้ำอีก)

  • KM ฉบับขับเคลื่อน LO
  • ฟังแล้ว โอ้ว..คุณพระช่วย
  • เรื่อง KM ฉันยังงง..งวย...
  • แถมซ้ำเติมด้วย...เรื่อง LO
  • ขอวอนให้อ. ประพนธ์
  • ผู้เป็นต้นแบบ KM
  • ช่วยเติมเต็ม ความรู้ให้แก่ศิษย์
  • และขออีกนิด...เก็บหนังสือไว้ให้หนู 1 เล่มด้วยนะคะ (กลัวหมดค่า...)

   สวัสดีครับ ตามมาอ่าน และ เชียร์ ด้วยความชื่นชม .. แถมช่วยพิสูจน์อักษร ได้ 2 จุดครับ

... ผู้บริหารจะต้องให้กับความสำคัญกับ

... “ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วราชการ

เข้ามาทักทายและได้ความรู้จากอาจารย์ทุกครั้งค่ะ    จะติดตามอ่านและนำมาปรับใช้ค่ะ    
ท่าน ผอ.กศน.นครศรีธรรมราชได้ซื้อหนังสือ KM ฉบับขับเคลื่อน LO มาฝากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่นำผลการเข้าร่วมงานมหกรรมฯ มารายงานต่อท่านผู้ว่าฯ โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังประมาณ 70 คน ท่านผู้ว่าฯ ชมหนังสือของอาจารย์ เป็นระยะๆ โดยให้ใช้เป็นคัมภีร์ KM ท่านชมสักประมาณ 6 - 7 ครั้ง และได้บอกให้ทางทีมเลขา ประสานขอลดราคาจากอาจารย์ เพราะจะซื้อจำนวนมากเพื่อแจกทั้งจังหวัด เมื่อก่อนก็ได้ซื้อมือใหม่หัดขับแจกกันไปแล้วเช่นกัน ผลปรากฏว่า หนังสือเล่มที่ดิฉันซื้อมาด้วยอ่านไม่ทันจบ มือดีเลยหยิบไปเฉยเลย เพราะผู้ว่าฯท่านชมมากไป ดิฉันก็เลยเห่อหยิบขึ้นมาโชว์ จะเรียกร้องจากอาจารย์ได้ไหมเอ่ย โทษฐานเขียนดีเกินไป

หนูกำลังจะทำรายงานเรื่อง LO อยู่พอดีเลยค่ะ ถ้ามีอะไรสงสัยจะถามอาจารย์น่ะคะ

ขอให้กำลังใจคนทำงานเพื่อส่วนรวมครับ ผมเห็นด้วยกับท่าน ดร.แสวง รวยสูงเนิน ครับ เราจะทำอย่างไรให้ชาวบ้านได้มีความรู้เท่าทันกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมได้ คงเป็นความหวังของให้กับทุคนที่มีจิตเป็นสาธารณะ ที่ต้องการให้บ้านเมืองมีความเป็นปกติสุขและร่มเย็น ขอบคุณมาก ๆ ครับ

ท่านอาจารย์ ดร. ประพนธ์ ครับ KM กับ LO นี่มีประโยชน์ต่อชุมชน หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน จริงๆ หรือครับ หรือเป็นเพียงกระแสนิยม หรือเป็นการบังคับจากกฎหมาย ธรรมาภิบาล อย่างที่ว่านั่นครับ เพราะผมเห็นหลายๆ หน่วยงาน ไม่ได้แสดงตัวว่าเป็น LO และก็ไม่ได้มี KM เขาก็อยู่กันได้ แม้แต่หน่วยงานราชการเองก็เถอะ ก.พ.ร. พยายามจะใช้เป็นตัวชี้วัด แต่ก็เป็นเพียงตัวหนึ่งในหลายๆ ตัวในการประเมินผลงานของการปฏิบัติราชการ เรื่อง KM ไม่ผ่าน ก็ไม่เป็นไร ทำเรื่องอื่นให้ผ่านก็ได้ หาก KM สำคัญจริง และเป็นความเป็นความตายขององค์กร น่าจะให้น้ำหนักมากๆ ไปเลย หน่วยไหนไม่ทำ จะได้ไม่ผ่านการประเมิน ผมก็มองเหมือนที่อาจารย์ว่า สังคมไทยคงมีอะไรๆ ที่เป็น KM แต่ไม่ได้เรียกว่า KM แต่ตอนนี้ยังคิดไม่ออก หากท่านอาจารย์มีกรณีตัวอย่าง นำมาเขียนเผยแพร่ก็จะดีนะครับ บางครั้ง การทำ KM ให้ง่ายเหมือนที่ท่านอาจารย์เขียนหนังสือให้อ่านง่าย น่าจะเหมาะกับสังคมไทยนะครับ อีกอย่าง ผมว่า สังคมไทยยังไปไม่ถึงกิจกรรม "แลกเปลี่ยนเรียนรู้" ระหว่างคนในระดับเดียวกันนะครับ รู้สึกว่า คนไทยไม่ค่อยชอบเอาดีมาอวดกัน ไม่ค่อยชอบเล่าเรื่องดีๆ ให้คนอื่นฟัง (ผมไม่ได้ว่าคนไทยชอบนินทากันนะครับ) น่าเสียดายที่วัฒนธรรมนี้ยังไม่เปลี่ยน เพราะเหตุนี้ใช่มั้ยครับที่องค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาไทยหลายเรื่อง ต้องหมดสิ้นไปพร้อมกับลมหายใจของผู้ทรงภูมิปัญญาเหล่านั้น หรือว่า เป็นเพราะท่านเหล่านั้น "หวงวิชา" จริงอย่างที่เขาว่า

คำว่า ค่อยเป็นค่อยไป ในการสร้าง LO ด้วย KM นี่ใช้กันบ่อยไปนะครับ หากเป็นค่อยเป็นค่อยไปจริง ก็ควรมีแผนที่ชัดเจน และหาให้พบว่า อะไรเป็นฐานที่จะนำไปสู่ KM จะได้ช่วยกันสร้างสิ่งนั้นขึ้นมาก่อน และอะไรจะเป็นรางวัล (นอกจากโบนัส) ให้กับองค์กรที่เป็น LO (ความเจริญ ก้าวหน้า มีชื่อเสียงระดับโลก อาจเป็นเรื่องไกลตัว หากคนทั่วไปยังให้ความสำคัญกับเรื่องปากท้องตัวเอง) แล้วต้องนำแผนไปปฏิบติด้วย บางองค์กรมีแต่แผน ไม่นำไปปฏิบัติ เวลาถูกประเมินก็ได้คะแนนเหมือนกัน แต่ก็ได้น้อย

ท่านอาจารย์ ดร. ประพนธ์ ครับ KM กับ LO นี่มีประโยชน์ต่อชุมชน หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน จริงๆ หรือครับ หรือเป็นเพียงกระแสนิยม หรือเป็นการบังคับจากกฎหมาย ธรรมาภิบาล อย่างที่ว่านั่นครับ เพราะผมเห็นหลายๆ หน่วยงาน ไม่ได้แสดงตัวว่าเป็น LO และก็ไม่ได้มี KM เขาก็อยู่กันได้ แม้แต่หน่วยงานราชการเองก็เถอะ ก.พ.ร. พยายามจะใช้เป็นตัวชี้วัด แต่ก็เป็นเพียงตัวหนึ่งในหลายๆ ตัวในการประเมินผลงานของการปฏิบัติราชการ เรื่อง KM ไม่ผ่าน ก็ไม่เป็นไร ทำเรื่องอื่นให้ผ่านก็ได้ หาก KM สำคัญจริง และเป็นความเป็นความตายขององค์กร น่าจะให้น้ำหนักมากๆ ไปเลย หน่วยไหนไม่ทำ จะได้ไม่ผ่านการประเมิน ผมก็มองเหมือนที่อาจารย์ว่า สังคมไทยคงมีอะไรๆ ที่เป็น KM แต่ไม่ได้เรียกว่า KM แต่ตอนนี้ยังคิดไม่ออก หากท่านอาจารย์มีกรณีตัวอย่าง นำมาเขียนเผยแพร่ก็จะดีนะครับ บางครั้ง การทำ KM ให้ง่ายเหมือนที่ท่านอาจารย์เขียนหนังสือให้อ่านง่าย น่าจะเหมาะกับสังคมไทยนะครับ อีกอย่าง ผมว่า สังคมไทยยังไปไม่ถึงกิจกรรม "แลกเปลี่ยนเรียนรู้" ระหว่างคนในระดับเดียวกันนะครับ รู้สึกว่า คนไทยไม่ค่อยชอบเอาดีมาอวดกัน ไม่ค่อยชอบเล่าเรื่องดีๆ ให้คนอื่นฟัง (ผมไม่ได้ว่าคนไทยชอบนินทากันนะครับ) น่าเสียดายที่วัฒนธรรมนี้ยังไม่เปลี่ยน เพราะเหตุนี้ใช่มั้ยครับที่องค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาไทยหลายเรื่อง ต้องหมดสิ้นไปพร้อมกับลมหายใจของผู้ทรงภูมิปัญญาเหล่านั้น หรือว่า เป็นเพราะท่านเหล่านั้น "หวงวิชา" จริงอย่างที่เขาว่า

คำว่า ค่อยเป็นค่อยไป ในการสร้าง LO ด้วย KM นี่ใช้กันบ่อยไปนะครับ หากเป็นค่อยเป็นค่อยไปจริง ก็ควรมีแผนที่ชัดเจน และหาให้พบว่า อะไรเป็นฐานที่จะนำไปสู่ KM จะได้ช่วยกันสร้างสิ่งนั้นขึ้นมาก่อน และอะไรจะเป็นรางวัล (นอกจากโบนัส) ให้กับองค์กรที่เป็น LO (ความเจริญ ก้าวหน้า มีชื่อเสียงระดับโลก อาจเป็นเรื่องไกลตัว หากคนทั่วไปยังให้ความสำคัญกับเรื่องปากท้องตัวเอง) แล้วต้องนำแผนไปปฏิบติด้วย บางองค์กรมีแต่แผน ไม่นำไปปฏิบัติ เวลาถูกประเมินก็ได้คะแนนเหมือนกัน แต่ก็ได้น้อย

ท่านอาจารย์ ดร. ประพนธ์ ครับ KM กับ LO นี่มีประโยชน์ต่อชุมชน หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน จริงๆ หรือครับ หรือเป็นเพียงกระแสนิยม หรือเป็นการบังคับจากกฎหมาย ธรรมาภิบาล อย่างที่ว่านั่นครับ เพราะผมเห็นหลายๆ หน่วยงาน ไม่ได้แสดงตัวว่าเป็น LO และก็ไม่ได้มี KM เขาก็อยู่กันได้ แม้แต่หน่วยงานราชการเองก็เถอะ ก.พ.ร. พยายามจะใช้เป็นตัวชี้วัด แต่ก็เป็นเพียงตัวหนึ่งในหลายๆ ตัวในการประเมินผลงานของการปฏิบัติราชการ เรื่อง KM ไม่ผ่าน ก็ไม่เป็นไร ทำเรื่องอื่นให้ผ่านก็ได้ หาก KM สำคัญจริง และเป็นความเป็นความตายขององค์กร น่าจะให้น้ำหนักมากๆ ไปเลย หน่วยไหนไม่ทำ จะได้ไม่ผ่านการประเมิน ผมก็มองเหมือนที่อาจารย์ว่า สังคมไทยคงมีอะไรๆ ที่เป็น KM แต่ไม่ได้เรียกว่า KM แต่ตอนนี้ยังคิดไม่ออก หากท่านอาจารย์มีกรณีตัวอย่าง นำมาเขียนเผยแพร่ก็จะดีนะครับ บางครั้ง การทำ KM ให้ง่ายเหมือนที่ท่านอาจารย์เขียนหนังสือให้อ่านง่าย น่าจะเหมาะกับสังคมไทยนะครับ อีกอย่าง ผมว่า สังคมไทยยังไปไม่ถึงกิจกรรม "แลกเปลี่ยนเรียนรู้" ระหว่างคนในระดับเดียวกันนะครับ รู้สึกว่า คนไทยไม่ค่อยชอบเอาดีมาอวดกัน ไม่ค่อยชอบเล่าเรื่องดีๆ ให้คนอื่นฟัง (ผมไม่ได้ว่าคนไทยชอบนินทากันนะครับ) น่าเสียดายที่วัฒนธรรมนี้ยังไม่เปลี่ยน เพราะเหตุนี้ใช่มั้ยครับที่องค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาไทยหลายเรื่อง ต้องหมดสิ้นไปพร้อมกับลมหายใจของผู้ทรงภูมิปัญญาเหล่านั้น หรือว่า เป็นเพราะท่านเหล่านั้น "หวงวิชา" จริงอย่างที่เขาว่า

คำว่า ค่อยเป็นค่อยไป ในการสร้าง LO ด้วย KM นี่ใช้กันบ่อยไปนะครับ หากเป็นค่อยเป็นค่อยไปจริง ก็ควรมีแผนที่ชัดเจน และหาให้พบว่า อะไรเป็นฐานที่จะนำไปสู่ KM จะได้ช่วยกันสร้างสิ่งนั้นขึ้นมาก่อน และอะไรจะเป็นรางวัล (นอกจากโบนัส) ให้กับองค์กรที่เป็น LO (ความเจริญ ก้าวหน้า มีชื่อเสียงระดับโลก อาจเป็นเรื่องไกลตัว หากคนทั่วไปยังให้ความสำคัญกับเรื่องปากท้องตัวเอง) แล้วต้องนำแผนไปปฏิบติด้วย บางองค์กรมีแต่แผน ไม่นำไปปฏิบัติ เวลาถูกประเมินก็ได้คะแนนเหมือนกัน แต่ก็ได้น้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท