การอ่านพัฒนาสมอง



บ่ายวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ มีการประชุม เวทีการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ที่มี ศ. นพ. ประเวศ วะสี เป็นประธาน โดยที่เวทีวันนี้เป็นเรื่อง การอ่านเป็นเครื่องมือของการพัฒนามนุษย์

เริ่มจากการบรรยายสั้นๆ เรื่อง “ประโยชน์ของการอ่านต่อการสร้างสมองและการเรียนรู้” โดย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น พญ. พิชญา ตันธนวิกรัย แห่งโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา สรุปได้ว่า การฝึกให้เด็ก อ่านหนังสือนั้น ไม่ใช่แค่เพื่อให้เด็กอ่านออกเขียนได้แต่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ มีผลพัฒนาการทำงานและโครงสร้างของสมอง

ตามด้วยการเสนอกรณีศึกษา ๒ เรื่อง

เรื่องแรก การขยายผลวัฒนธรรมการอ่านสู่ชุมชนโดย คุณครรชิต จักรสาร นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ แห่ง รพสต. สร้างมิ่งอ. เลิงนกทาจ. ยโสธร ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจจากเรื่องเล่าในชีวิต ของตนเอง จากการเลี้ยงลูกด้วยการอ่านหนังสือให้ฟังตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ทำความรำคาญแก่แม่ (ของลูก) เป็นอันมาก แต่คุณครรชิตก็ทำต่อเนื่องเรื่อยมาหลังลูกคลอดผลคือพัฒนาการของลูกเป็นเครื่องพิสูจน์ผลดีนำไปสู่การขยายผลสู่ชุมชน และได้รับการสนับสนุนจาก อบต.

เรื่องที่สอง การขับเคลื่อนการอ่านระดับจังหวัด โดย คุณมานพ ษมาวิมล ผู้อำนวยการสำนักงานเขต พื้นที่การประถมศึกษาสุโขทัย เขต ๒เล่าเรื่องการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย นักเรียน ป. ๓ ต้องอ่านออกเขียนได้ ทุกคน ซึ่งดำเนินการบรรลุได้จริงๆโดยใช้การประเมิน แล้วให้ครูเข้าไปช่วยเหลือเด็กที่ไม่บรรลุเป็นรายคน

การอภิปรายนำไปสู่ข้อเรียนรู้ว่าจุดสำคัญของการอ่าน ไม่ใช่แค่อ่านออกเขียนได้แต่เป้าหมายที่แท้จริง คือการที่เด็กได้ฝึกให้ความหมายของเหตุการณ์และถ้อยคำเป็นการกระตุ้นสมองให้ทำงานหลากหลายส่วน เชื่อมโยงกันกันนำไปสู่การพัฒนาสมอง

ผมสรุปกับตนเองว่า การอ่าน ทั้งที่พ่อแม่อ่านให้ลูกเล็กฟังและที่เด็กเล็กฝึกอ่านเรียนรู้ความหมายเป็นการฝึก executive function ซึ่งเมื่อกลับมาค้นอินเทอร์เน็ตที่บ้าน ก็พบหลายเว็บไซต์ที่อธิบายตามที่ผมเข้าใจ ดัง เว็บไซต์นี้

สรุปว่า การอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในท้อง และอ่านเรื่อยมาตั้งแต่แบเบาะจนเมื่อลูกพอรู้เรื่อง ก็อ่านด้วยกันเป็นการสร้าง “สมองดี” ให้แก่ลูกเรามีวิธีสร้างเด็กหัวดีได้ทั้งแผ่นดินไม่ใช่จะมีเด็กหัวดีได้ เฉพาะลูกคนที่หัวดีเท่านั้น

วิจารณ์ พานิช

๑๓ มิ.ย. ๕๙


หมายเลขบันทึก: 610895เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2016 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2016 08:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท