ประเพณีบุญเดือนสี่ไทคอนสาร


ประเพณีบุญเดือนสี่ไทคอนสาร

บุญเดือนสี่จะกระทำในระหว่างเดือนสี่กับเดือนห้าต่อกัน เป็นการทำบุญขึ้นปีใหม่ในสมัยโบราณ เพราะการนับปีในสมัยโบราณนั้น นับตามจันทรคติ เอาเดือนสี่เป็นเดือนสุดท้ายของปี? เอาเดือนห้าเป็นเดือนเริ่มแรกของปี ในช่วงท้ายปีเก่าและขึ้นต้นปีใหม่ จึงจัดให้มีการทำบุญและงานรื่นเริงสนุกสนานขึ้น ชาวบ้านเรียกชื่อว่า บุญตรุษสงกรานต์


งานนี้สมัยก่อนถือว่าเป็นงานสำคัญมาก ทุกคนต้องให้ความสำคัญ และยอมรับปฏิบัติตามกติกาของสังคมอย่างเคร่งครัด ถ้าใครฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษ เช่น เสียค่าปรับเป็นสุรา หรืออาหารเป็นต้น กติกามีอยู่ว่า ในระยะสามวัน คือวันขึ้น ๑, ๒ และ ๓ ค่ำเดือน ๕ ใครจะทำธุรกิจการงานไม่ได้? มีแต่ทำบุญเล่นสนุกสนานเท่านั้น ใครฝ่าฝืนต้องถูกปรับ สมัยทุกวันนี้กติกานี้เลิกใช้กัน

เมื่อใกล้วันงาน ชาวบ้านก็จะเตรียมจัดหาข้าวสาร? อาหารแห้ง ซึ่งเก็บไว้รับประทานได้ นาน ๆ มากับตุนไว้ นอกจากข้าวสารอาหารแห้งแล้ว ก็ต้องเตรียมพวกเชื้อเพลิงพวกฟืน หรือถ่านไว้ให้พร้อม เพราะในระหว่างงานนี้ไม่มีการหาฟืนหรือเผาถ่าน อาหารแห้งที่ชาวบ้านเตรียมกันก็ได้แก่ พวกเนื้อย่าง ปลาย่าง ข้าวตอกปั้น ข้าวเฮียง และขนมจีน? อาหารสำเร็จที่ชาวคอนสารนิยมทำคือ คั่วปลา และคั่วเนื้อ อาหารสองอย่างนี้นิยมทำกินกันในงานนี้ และงานบุญสาทรเท่านั้น ถือว่าเป็นยอดอาหารของชาวคอนสาร และสามารถเก็บไว้รับประทานได้นานไม่บูด ไม่เสียง่าย

เริ่มงานในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ตอนบ่าย ๆ ผู้มีศรัทธา ก็จะนำธงแผ่นผ้าไปปักในบริเวณวัด ตอนเย็น ๆ แทบทุกครัวเรือน? ส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก ๆ จะพากันนำทรายที่สะอาดมาก่อรวมกันเป็นพระทรายใหญ่หนึ่งองค์ ทรายที่เหลือจากนั้นก็นำมาก่อเป็นพระทรายเล็กหลาย ๆ องค์ ตามบริเวณโคนต้นโพธิ์บ้าง ข้างธาตุบ้าง ข้างกำแพงบ้าง? ตามอัธยาศัย พระทรายเล็กนี้แต่ละคนจะก่อหลายองค์? สำหรับผู้ที่นำธงแผ่นผ้ามาปักก็จะก่อพระทรายเล็กที่รอบ ๆ โคนเสาธงของตนเองนั่นแหละ กลางคืนวันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๔ นี้ มีการเจริญพระพุทธมนต์ที่ศาลาการเปรียญ พอพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ไปถึงบท อิติปิ? โส? ภควา ?. เจ้าของพระทราย และเจ้าของธง จะนำเทียนไปจุดปักที่พระทราย และนำดอกไม้ไปวางไว้ด้วย ถือว่าเป็นการฉลองธงแผ่นผ้าและพระทราย เช้าของวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ พระสงฆ์ในวัดจะลงศาลกาการเปรียญ ประชาชนจะไหว้พระรับศีล ขอขมาต่อพระสงฆ์ อาราธนาให้พระสงฆ์สวดถวายพรพระ ประชาชนใส่บาตรเสร็จแล้วถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าของพระทรายก็จะไปหยาดน้ำที่กลุ่มพระทรายของตนเอง เจ้าของธงก็จะไปหยาดน้ำที่โคนเสาธงของตนเอง ขณะพระสงฆ์ฉันภัตตาหาร ประชาชนที่ยังไม่กลับบ้านก็จะขอพรผู้เฒ่า ผู้แก่ ที่อยู่บนศาลกาการเปรียญ เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จก็บายศรีสู่ขวัญ ผูกแขนพระเณรทุกรูปแล้วร่วมกันรับประทานอาหาร? ต่อจากนั้นเจ้าของธงก็ดี เจ้าของพระทรายก็ดี? ซึ่งจัดกัณฑ์เทศน์มา ก็จะอาราธนาพระสงฆ์มาเทศน์เป็นกัณฑ์ ๆ ไป จนครบทุกเจ้าภาพเป็นเสร็จพิธี ปัจจุบันการเทศน์นิยมเทศน์รวมเพียงกัณฑ์เดียว?บางครั้งก็เทศน์ก่อนฉันภัตตาหาร? เพื่อจะอนุโมทนาครั้งเดียวให้เสร็จ


(ที่มา http://www.watjd.com/html/index.php?option=com_con...)

นายตรีทเศศ ข่าขันมาลั เอกวารสารศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 610662เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 19:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นิสิต มีประสบการณ์ตรงจากกิจกรรมประเพณีนี้อย่างไรบ้างครับ

ช่วยเติมเนื้อหาอีกสักนิดนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท