๔๒๔. นวัตกรรม...เริ่มต้นที่เรา โรงเรียนขนาดเล็ก


ฝึกการคิดเชื่อมโยง “การเชื่อมโยงทางความคิดกับฐานองค์ความรู้ คือกุญแจสำคัญของ การเกิดนวัตกรรม “ น่าจะเป็นที่มาของ Best Practice หรือวิธีปฏิบัติที่ดี นั่นเอง

ผมเป็นคนที่ชอบดูโฆษณา จะเชื่อหรือคล้อยตามหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ปัจจุบันมีโฆษณาที่มีคุณค่า ให้ความรู้สึกที่ดีมากมาย ดูแล้วไม่เบื่อ อย่างเช่นโฆษณาของ บริษัท ปตท. มีวลีหรือประโยคเด็ดๆอยู่เสมอ..ยิ่งเป็นเอกสาร ประชาสัมพันธ์ด้วยแล้ว ปตท.ใช้ถ้อยคำที่ให้แง่คิด สามารถไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้ อย่างเช่น ในเรื่อง..”นวัตกรรมเริ่มต้นที่เรา..”ด้วย ๑๒ คุณสมบัติของนวัตกร ..ผมเลยมาลองคิด...เพื่อโรงเรียนขนาดเล็กของผม....

แค่คำโปรย...ก็น่าสนใจแล้ว เขาบอกว่า ...”คน คือทรัพยากรที่มีค่าที่สุด เป็นทรัพยากร หนึ่งเดียวในโลก ที่สามารถคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไม่รู้จบ มาเริ่มฝึกฝนและปลุกพลังนวัตกรรมทางความคิดด้วย ๑๒ คุณสมบัติของนวัตกร ด้วยตัวเราเอง”

๑.จินตนาการเสริมสร้างวิสันทัศน์ “เปิดรับพลังแห่งจินตนาการผสมผสานเข้ากับองค์ความรู้

เล็งเห็นความเป็นไปได้ใหม่สู่อนาคต” แสดงให้เห็นว่า วิสัยทัศน์ ต้องใช้ จินตนาการ และจินตนาการ ต้องมีความรู้ด้วย

๒.กล้าคิดริเริ่มอย่างสร้างสรรค์ ”ความกล้าจะทำลายของเขตของความกลัว...” กล้าคิด กล้า

ทำ และพร้อมที่จะก้าวไป...เสมอ

๓.ค้นหาแรงบันดาลใจ ”สรรพสิ่งรอบตัว ล้วนสร้างแรงบันดาลใจที่ดีได้เสมอ “ ไม่ต้อง

เดินทางไปไกลๆก็ได้ บางทีก็อยู่ในหัวใจของเรานี่แหละ

๔.เห็นปัญหา ตั้งคำถามหาคำตอบ “เข้าใจปัญหา คุ้นเคยกับการตั้งคำถาม และหาความ

เป็นไปได้ของคำตอบอยู่เสมอ” ไม่หนีปัญหาว่างั้นเถอะ ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ได้มีไว้ให้กลุ้ม

๕.คิดปรับปรุงดัดแปลงต่อยอดและพัฒนาอยู่เสมอ “ผลลัพธ์ของสิ่งใหม่ที่ดีกว่า ย่อมเกิดขึ้น

จากการไม่ยอมหยุดคิดพัฒนาได้โดยง่าย” ผมกำลังคิดถึง การทำโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน

๖.เรียนรู้อย่างผู้เชี่ยวชาญ “เรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ รู้ลึก รู้จริง ในสิ่งที่สนใจ” ผมอ่านหนังสือ

และเขียนทุกวัน ไม่ทำตัวเป็นน้ำล้นแก้ว..ก็คิดว่าน่าจะเพียงพอ

๗.ทดลองให้มาก ล้มเหลวเพื่อสำเร็จ “ลงมือทำให้มาก เพื่อเรียนรู้จากความล้มเหลว ต่อยอด

สู่ความสำเร็จในอนาคต” ผม ทำงานหนักทุกวัน..ไม่ล้มเหลว แต่คิดว่า ยังทำไม่สำเร็จมากกว่า

๘.อดทนเพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า”...เพื่อให้คุ้มค่ากับการรอคอย” ถามตัวเองว่า ต้องอดทนด้วย

หรือ แล้วต้องนานแค่ไหน ทำทุกวันให้มีความสุข ไม่ดีรึ

๙.ฝึกการคิดเชื่อมโยง “การเชื่อมโยงทางความคิดกับฐานองค์ความรู้ คือกุญแจสำคัญของ

การเกิดนวัตกรรม “ น่าจะเป็นที่มาของ Best Practice หรือวิธีปฏิบัติที่ดี นั่นเอง

๑๐.หมั่นสังเกตในรายละเอียด “ยิ่งเห็นในรายละเอียด มากเท่าไหร่ ยิ่งสร้างสรรค์คุณค่าได้มากขึ้นเท่านั้น...” ก็ต้องหมั่นนิเทศ กำกับ ติดตามงาน บ่อยๆ

๑๑.คิดนอกกรอบ สร้างความแตกต่าง “สร้างสรรค์ให้เกิดการยอมรับ ด้วยวิธีการคิดที่แตกต่างจากเดิม” บางทีก็ต้องระวังตัวด้วย ถ้าบางเรื่องเป็นงาน นโยบาย....อาจไม่ต้องคิด

๑๒.คิดเพื่อส่วนรวม ร่วมประสานทุกองค์ความรู้”

ข้อสุดท้ายนี้..ทำให้นึกถึง ค่านิยม ๑๒ ประการ ทำอย่างไร ครูจะคิดพัฒนา ให้คุณภาพกลับคืนสู่สถานศึกษาอย่างยั่งยืน...เพื่อส่งต่อถึงลูกหลานไทยในอนาคต

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙









หมายเลขบันทึก: 610322เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มีขนมกล้วยแฟนซี

จากโครงงานภาษาไทยมาฝากท่านผอ.คนเก่งจ้ะ



กระโดดมาตรงนี้จ้ะ

เผลอไปกดจัดเก็บข้อมูลก่่อนแทรกภาพอ่ะนะ


ผอ.เขียนจากมือถือมั้ยคะ มีคำผิดหลายคำและวรรคตอนแปลกๆ แต่ก็ยังคงความเป็นคนช่างคิด ช่างเก็บมาคิดเหมือนปกติค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท