แนวคิดแบบพอเพียง



วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ มีงานเปิดตัวหนังสือ “แนวคิดแบบพอเพียง” (Sufficiency Thinking : Thailand’s Gift to the Unsuatainable World) และ การประชุมนานาชาติครั้งที่ ๑๑ เรื่อง “ภาวะผู้นำที่ยั่งยืน และตอนบ่ายมีการนำเสนอกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ กรณีศึกษาหนึ่งเป็นเรื่อง “ธุรกิจสุขภาพกับการประยุกต์ใช้แนวคิดแบบพอเพียงเพื่อประโยชน์ของสังคม” ที่ผมได้รับเชิญไปร่วมอภิปรายด้วย

โดยเรื่องธุรกิจสุขภาพนี้ มีรายละเอียดอยู่ในบทที่ ๙ ของหนังสือ ซึ่งอ่านได้ ที่นี่ ที่เป็นกรณีศึกษาโรงพยาบาลเทพธารินทร์ เขียนโดย ศ. นพ. เทพ หิมะทองคำ และคุณธัญญา วรรณพฤกษ์สาระในหนังสือบทนี้เตือนว่า ภาพใหญ่ของระบบสุขภาพไทย ตกอยู่ใต้กระแสทุนนิยม ที่เน้นอำนาจของตลาด มีผลให้เกิดสภาพการเอาโรงพยาบาลเอกชนเข้าตลาดหุ้น บริการสุขภาพกลายเป็น การค้ากำไร เกิดการแข่งขันกันสร้างชื่อเสียงจากการมีเครื่องมือทันสมัยราคาแพง แล้วต้องถอนทุนโดย สั่งตรวจโดยไม่มีความจำเป็น ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียเงินโดยไม่ได้รับประโยชน์ การมีกระแสมุ่งเป็นแพทย์ เฉพาะทาง ดูแลเฉพาะโรคทำให้ขาดแคลนแพทย์ครอบครัว และแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยทั้งคน

ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน กล่าวเรื่องระบบสุขภาพไทย ที่แม้มีจุดอ่อนดังข้างต้น ก็มีจุดแข็งหลายด้าน โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมคนทั้งประเทศ มีรายละเอียดมากมาย

ผู้ดำเนินการอภิปราย คือคุณธัญญา วรรณพฤกษ์ โยนประเด็นเรื่องคนหรือการศึกษาของบุคลากร สุขภาพมาให้ผมให้ความเห็น ซึ่งได้ชี้ว่าเรื่องสำคัญคือพื้นฐานจิตใจคนที่มีความมีเหตุมีผล มีความพอเพียง ซึ่งขึ้นอยู่กับ Executive Function & Self-regulation ที่ต้องวางพื้นฐานตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก และพัฒนาต่อเนื่อง มาจนระดับ มหาวิทยาลัย ส่วนเรื่องการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาของบุคลากรสุขภาพนั้น เป็นกระแสทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย เน้นที่ความร่วมมือระหว่างระบบบริการสุขภาพ กับระบบการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ ที่จะให้บุคลกากรมีสมรรถนะตรงตามที่ต้องการในระบบสุขภาพ รวมทั้งให้มีการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำ ในการศึกษาแบบที่เรียกว่า Transformative Learning เพื่อให้บัณฑิตจบออกไปเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent) ในระบบสุขภาพ



วิจารณ์ พานิช

๓๑ พ.ค. ๕๙

หมายเลขบันทึก: 610144เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2016 17:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2016 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท