ตำนานหมู่บ้านนาคำ ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี


จากคำเล่าของตา ที่บ้าน บ้านนาคำใหญ่ ที่มาของชื่อหมู่บ้าน "นาคำใหญ่" คนในสมัยก่อนตั้งแต่หลายปีที่แล้วในหมู่บ้านแห่งนี้มีคนคนหนึ่งได้ขุดพบทองคำจำนวนหนึ่งและได้บอกต่อๆกันไปและชาวบ้านหมู่บ้านแห่งนี้ได้พากันขุดหาทองคำกันทั้งหมู่บ้านและหมู่บ้านนี้มีผู้คนอาศัยอยู่มาก เลยเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน นาคำใหญ่ การเป็นอยู่หมู่บ้านแห่งนี้แต่ก่อนเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ในหมู่บ้านจะมีน้ำเพียงบ่อเดียวที่ตั้งอยู่ท้ายหมู่บ้าน คนหนุ่มสาวในสมัยนั้นพอถึงเวลาตอนบ่ายเย็นๆ จะพากันถือถังใส่น้ำ 2 ใบและจะมีไม้หาบน้ำคนในหมู่บ้านจะเรียกกัุนว่า "ไม้คาน" ออกไปหาบน้ำมาใส่ตุ้มไว้ไช้กันและบริเวณเวณรอบๆหมู่บ้านจะมีภูเขาล้อมรอบและเต็มไปด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์ และในเวลาต่อมามีพระรูปหนึ่งและคณะได้ธุดงมาและได้มาขอพบคนในหมู่บ้านซึ่ง1ในนั้นมีคุณตาอยู่ด้วย ได้พาทางคณะและพระท่านนี้ได้เดินปีนภูเขาเพื่อไปสำรวจพื้นที่รอบๆเพื่อจะสร้างวัด ในเวลาต่อมาก็ได้สร้างวัดและก่อตั้งขึ้นมาชื่อว่า วัดป่าภูก้อน ในปี พศ. 2530 ต่อมาทางวัดได้สร้างศาลาอุโบสถ 2 ชั้น 1 หลัง ซึ่งเป็นที่ประกอบพิธีสงฆ์ชั้นบนและเป็นที่ฉันชั้นล่าง มีกุฏิพระ 45 หลัง เรือนครัว 1 หลัง เรือนพักฆราวาส 6 หลังถังเก็บน้ำคอนกรีต 20 ถัง และห้องน้ำจำนวนมาก โดยใช้ระบบประปาภูเขา จากฝายเก็บน้ำดินขนาดเล็กที่เป็นแหล่งต้นน้ำซับและน้ำตกในวัด ซึ่งต่อมากรมชลประทานได้บูรณะถวายให้แข็งแรงถาวรในปี 2538 และวัดยังได้ต่อระบบประปาไปถึงหมู่บ้านนาคำใหญ๋ที่อยู่ห่างจากวัดไป 4 กม. ทำให้ชาวบ้านมีแหล่งน้ำใช้อย่างสะดวกและสะอาด และในเวลาต่อมาคนในหมู่บ้านก็ค่อยๆมีครอบครัวขยายหรือมีครอบครัวใหม่ได้ค่อยๆพากันอพยพออกจากหมู่บ้านนาคำใหญ่ไปอยู่อีกหมู่บ้านหนึ่งพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนั้นชื่อว่าหมู่บ้านนาคำน้อย และบ้านนาคำใหญ่เป็นหมู่บ้านที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่น้อยกว่าหมู่บ้านนาคำน้อย ปัจจุบันเลยตั้งชื่อหมู่บ้านนาคำใหญ่เป็น หมู่บ้านนาคำ



ที่มารูปภาพ http://www.watpaphukon.org/history/




ที่มารูปภาพ www.facebook.com/photo.php?fbid=828691240549240&se...

ข้อมูลจากคำบอกเล่า คุณตาวิไล มีบุญ


หมายเลขบันทึก: 610142เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2016 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2016 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ปัจจุบัน-- หมู่บ้านมีสภาพอย่างไรบ้างครับ
เล่าเพิ่มเติมหน่อย นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท