บันไดการเรียนรู้สู่ความเข้าใจในความหลากหลายทางธรรมชาติ (๒)


การฝึกทำสมุดประมวลความรู้นี้ เป็นการเชื่อมทักษะการคิดวิเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญของศตวรรษที่ ๒๑ เข้ามาหากันได้อย่างแนบสนิทเป็นเนื้อเดียว ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นเครื่องสะท้อนถึงความเข้าใจในความสัมพันธ์และความเข้าใจในความหลากหลายทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างมีชีวิตชีวา

กิจกรรมเรียนรู้ในวันที่สอง

  • นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนข้อมูลลงในตารางสำรวจความยั่งยืนของสวนคุณลุงสุชล โดยนำข้อมูลที่ได้มาจากการสำรวจ สังเกต และการทำเว็บความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่สวนคุณลุงในวันแรกมาทำงานต่อ






  • ทำตาราง PMI (Plus - Minus - Interesting) เพื่อหาประเด็นด้านบวก หรือ ข้อดี / หาประเด็นด้านลบ หรือ ข้อเสีย / หาประเด็นน่าสนใจที่จะนำไปพัฒนาต่อ โดยคุณลุงสุชล (สวมเสื้อสีน้ำเงิน) จะร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานและให้คำแนะนำเพิ่มเติม รวมทั้งเก็บเอาแนวคิดที่น่าสนใจไปทดลองทำดูด้วย ซึ่งทำให้เจ้าของความคิดเกิดกำลังใจอย่างมาก




ตาราง PMI นี้เป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในการพิจารณา เรียนรู้ได้รอบด้าน และประมวลความรู้ของกลุ่มออกมาได้อย่างเป็นระบบ


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังกลับจากภาคสนาม

ครูจัดเวลาให้นักเรียนที่ไปภาคสนามคนละรอบกัน ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้รับจากการไปเรียนรู้ที่สวนคุณลุงสุชลคราวละ ๒ ห้อง โดยให้ห้อง ๔/๑ แลกเปลี่ยนกับห้อง ๔/๔ และห้อง ๔/๒ แลกเปลี่ยนกับห้อง ๔/๓ ซึ่งข้อมูลที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนั้นนำมาจาก ๔ กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมการสัมภาษณ์ กิจกรรมการเขียนเว็บความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่พบในสวนคุณลุง กิจกรรมการสำรวจความยั่งยืน และกิจกรรมการวิเคราะห์ความหลากหลายที่พบในพื้นที่โดยใช้ตาราง PMI เพื่อทบทวนความรู้และประสบการณ์ให้คมชัด ครบถ้วน


การประมวลความรู้ส่วนบุคคล

  • ส มุ ด ภ า ค ส น า ม คือ ลิ้นชักในการจัดเก็บความรู้ที่ช่วยยกระดับความรู้ความเข้าใจขึ้นไปเรื่อยๆ คู่ขนานกันไปกับการเรียนรู้ร่วมกัน กิจกรรมกลุ่มทั้ง ๔ กิจกรรมหลักที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น




  • ส มุ ด ป ระ ม ว ล ค ว า ม รู้ คือ พื้นที่ในการสะท้อนความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละคนออกมาอย่างอิสระ โดยเรียงร้อยเรื่องราวตามเวลาในแผนการเรียนรู้ ซึ่งทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้กลับมาทำความเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้มาอย่างเป็นลำดับ ต่อเนื่อง เชื่อมโยง และทำให้ครูได้รู้และเข้าใจว่าผู้เรียนแต่ละคนเข้าใจเรื่องที่เรียนรู้ไปแล้วอย่างไร มีความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนแค่ไหน เพื่อครูจะได้ทำการส่งเสริม หรือ ปรับแก้ความเข้าใจได้ทันท่วงที










การฝึกทำสมุดประมวลความรู้นี้ เป็นการเชื่อมทักษะการคิดวิเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญของศตวรรษที่ ๒๑ เข้ามาหากันได้อย่างแนบสนิทเป็นเนื้อเดียว ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นเครื่องสะท้อนถึงความเข้าใจในความสัมพันธ์และความเข้าใจในความหลากหลายทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างมีชีวิตชีวา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท