แด่ครูด้วยดวงใจ โดย ชาตรี สำราญ ตอนที่ 6/1 รู้ได้อย่างไรว่า ... รู้


ความรู้ที่มีอยู่มากมายบนโลกใบนี้

ถ้าผู้เรียน รู้วิธีการเรียนรู้แล้ว

มี ใจรักที่จะเรียนรู้

นำ วิธีการเรียนรู้ ไปหาความรู้ ก็จะ รู้ ความรู้นั้นๆ


เรื่องราวที่ผู้เรียน เรียนรู้ แบบบูรณาการ

ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้ ได้จาก การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์

โดยนำความรู้ ที่มีอยู่ในตน มาใช้เรียนรู้เรื่องราวใหม่


ถ้าเด็กๆ เรียนรู้ วิธีการบูรณาการ ได้

สามารถนำใช้ในชีวิตจริงได้

ชีวิตเด็กจะสงบสุข...... เพราะเขาไม่แยกส่วน


เวลาสอนแบบบูรณาการนั้น

ครูเคย ถาม ตนเอง ไหมว่า

“ต้องการให้เด็ก เรียนรู้ วิธีการบูรณาการ

หรือ ต้องการให้เด็ก รู้ เนื้อหา ที่มาจาก การเรียนแบบบูรณาการ


ส่วนใหญ่แล้ว เด็กจะเรียนรู้ เนื้อหา ที่มาจากการบูรณาการ

แต่ไม่รู้ วิธี การบูรณาการ เพราะ ครู ขาด การฝึกฝน ทักษะการบูรณาการการเรียน ให้ ผู้เรียน รู้


เวลาครูนำผู้เรียนไป เรียนรู้ ในสวนป่า

ครูต้องการให้เด็กรู้ เรื่องของสวนป่า หรือ

ต้องการ ให้รู้ วิธี การเรียนรู้ในสวนป่า และ ให้มี วินัยในการเที่ยวในสวนป่า

..... สิ่งนี้ครูจะต้องตระหนัก


กิจกรรมการเรียนรู้ที่พึงประสงค์

ต้องเปิดโอกาสให้ ผู้เรียน เป็น ผู้ลงมือกระทำ ด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่อง จนเป็นนิสัย

ผู้เรียน มอง เห็นเหตุ เห็นผล เห็นหลักการ

มีรูปแบบการคิด ที่หลากหลาย

สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้มา สรุป เป็น ความคิดรวบยอด

นำมา พัฒนา ตนเอง และ สังคมได้

นั่นคือผู้เรียนได้ เรียน ใน สถานการณ์จริงสถานการณ์จำลอง

ร่วมเรียน ร่วมรู้ ร่วมคิด ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

มีโอกาส เรียนรู้ กับ ผู้อื่น รู้จัก ตนเอง และ ธรรมชาติ แห่งความเป็นจริง


โปรดเปิดโอกาสให้เด็กๆ ค้นหา คำตอบ

จาก โรงเรียนธรรมชาติ

ฤดูกาล เวลา กระบวนการ และ ความเป็นจริง ของสิ่งแวดล้อม

ซึ่งจะคอยให้คำตอบแก่เด็กๆ

ถ้าเด็ก สังเกต ธรรมชาติ

ความคิด ความเห็น ของเด็ก จะ สรุป เป็น องค์ความรู้ ของเด็ก ได้อย่างดี


ก่อนที่ ครูจะ นำเด็กๆ ออกไปเรียนนอกห้องเรียนครูควรจะสำเหนียกได้ก่อนว่า

  • เด็กจะเกิดพฤติกรรมใด (เช่น สังเกตเป็น อยากรู้อยากเห็น กล้าแสดงออก)
  • พฤติกรรมนั้นๆ เกิดขึ้นได้แบบใด หรือเพราะเหตุใด (เพื่อนพาทำเกมการแข่งขัน ครูกระตุ้น)
  • ครูรู้ได้อย่างไรว่า เด็กเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ (คอยสังเกตอย่าใกล้ชิด บันทึกข้อมูลไว้วิจัยในชั้นเรียน)
  • เด็กคนใดมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านใด ด้วยวิธีการใด (เช่น สังเกตเก่งขึ้น บันทึกข้อมูลละเอียดขึ้น ช่างซักถาม สิ่งนี้ครูต้องคอยสังเกต บันทึกแล้วนำมาเขียนรายงานผลการจัดกิจกรรมเป็นงานวิชาการได้)


ถ้าผู้เรียนมี ส่วนร่วม ในการกำหนดกิจกรรมการ้รียนรู้

ความสนุกสนาม ในการเรียนรู้ ย่อมเกิดขึ้น


หมั่นฝึกฝนผู้เรียน ให้ เห็นคุณค่าของประสบการณ์

แล้วเขาจะทำทุกอย่าง เพื่อการเรียนรู้

อ่านเป็นเล่มได่ที่นี่ครับ https://sites.google.com/site/chatreesamran/-2559

หมายเลขบันทึก: 610100เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2016 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016 08:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท