สามพรานฟอรั่ม ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙


การสร้างระบบใหม่จะถูกกดดันโดยคนเสียประโยชน์ที่อยู่ในระบบเก่า แต่คนที่ได้ประโยชน์จากระบบใหม่จะรอขอส่วนแบ่ง

สามพรานฟอรั่ม ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙

บันทึกการประชุมสามพรานฟอรั่ม วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2559

สามพรานฟอรั่มจัดทุกเดือน เป็นเวทีนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินการริเริ่มสร้างสรรค์ ในระบบสุขภาพ เพื่อเป็นกำลังใจแก่กันและกัน เปิดช่องทางให้มีการขยายเครือข่ายและต่อยอด เพื่อสร้างคุณค่า และคุณประโยชน์ยิ่งขึ้น

ต่อไปนี้เป็นบันทึกสาระจากการประชุมสามพรานฟอรั่ม เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ บันทึกโดย ศ. พญ. วณิชา ชื่นกองแก้ว ผมแก้ไขนิดหน่อย ในส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อน

อาจารย์ประเวศ เปิดประชุมโดยกล่าวต้อนรับและกล่าวถึงการศึกษาบทเรียนรู้ที่ผ่านมาทั้งที่ทำสำเร็จและไม่สำเร็จเช่น ศ. ดร. ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งสถาบัน health policy research โดยได้รับการสนับสนุน ทุนจากองค์การอนามัยโลก นายแพทย์สงวนริเริ่มเรื่องหลักประกันสุขภาพแต่ในขณะนั้นไม่มี health economist จึงได้ประสานกับอาจารย์สมคิด แก้วสนธิ ซึ่งเป็นอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเปิดหลักสูตร ปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์สุขภาพ แต่หลังจากที่อาจารย์เกษียณราชการก็ไม่เกิดความต่อเนื่อง

อาจารย์เสนอให้หน่วยงานตระกูล ส, IHPP, HITAP วิจัยศึกษาภาพรวมของ ระบบสุขภาพในอุดมคติและสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อให้เห็น gap และมีผลต่อประชาชน รัฐบาล หรือมหาวิทยาลัยอย่างไรแล้วนำมาสื่อสารให้ภาควิชาการและสาธารณะให้รับรู้

อาจารย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล การก่อตั้งเป็นมูลนิธิของหน่วยงาน IHPP ทำให้เกิดความมั่นคง มีงบประมาณสามารถเลี้ยงดูองค์กรได้ แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการสร้าง career path ที่ก้าวหน้าให้แก่นักวิจัยจะเชื่อมต่อกับกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างไร

อาจารย์ประเวศ เสนอให้ตั้งกองทุนส่งเสริมอุดมปัญญาเพื่อทำวิจัยเรื่องการศึกษา การสื่อสาร การสร้างปัญญา โดยก่อตั้งเป็นมูลนิธิ national science foundation ให้ประสานกับนักการเมืองที่ในขณะนี้ อยู่เฉยๆ ยังไม่ได้มีภารกิจ เพื่อเป็นแนวทางเชื่อมโยงภายหลังการเลือกตั้ง

การสร้างกระแสให้ทางมหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์เข้าใจเรื่อง HS โดยการจัดประชุมวิชาการเช่นเดียวกับ การประชุมรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลขึ้นในประเทศและเน้นให้คณบดีโรงเรียนแพทย์เข้าร่วมประชุม

อาจารย์วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร เสนอว่าองค์กร IHPP (ดู ppt นำเสนอ ที่ สามพราน_IHPP.pptx) มี Weakness IHPP เป็นองค์กรใหญ่ ทำให้การ พัฒนานักวิจัยทำได้ไม่ใกล้ชิดเท่าการที่เป็นองค์กรเล็ก. การพัฒนางานวิจัยเพื่อเผยแพร่ให้ได้งานที่มีคุณภาพ ได้ไม่เท่ากับการที่เป็นองค์กรเล็ก นอกจากนี้ความสนใจอย่างมีความหลากหลาย

Threat

มีทุนสนับสนุนลดลงบางครั้งมีผลทางด้านการเมืองเข้ามามีอิทธิพลหรือในโยบายมีการเปลี่ยนแปลง การมีสภาพเป็นลูกครึ่ง (amphibian) คือเป็นหน่วยงานในสังกัด กสธ. ด้วย และเป็นมูลนิธิด้วย ทำให้งานวิจัย ส่วนหนึ่งไม่ตอบสนองกับความต้องการของกระทรวง

Opportunity

นักวิจัยรุ่นใหม่เป็นผู้นำที่ดีในองค์กรได้ ถ้าได้มีการหล่อหลอมให้มี strong brain, good commitment, และมี voluntarism

นอกจากนี้การทำงานในต่างประเทศทำให้มีการสร้างเครือข่ายและสามารถเคลื่อนไหวนโยบายต่างๆ จากต่างประเทศเข้ามาขับเคลื่อนในประเทศได้ จุดแข็งขององค์กรคือมีการสร้างคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง

อาจารย์สุวิทย์ กล่าวถึงหนังสือเรื่อง the prince ของNiccolo Machiavelli 1513 กล่าวว่า It must be remembered that there is nothing more difficult to plan, more doubtful of success, nor more dangerous to manage than the creation of a new system. For the initator has the enmity of all who would profit by the preservation of the old institutions and merely lukewarm defenders of those who would gain by the new ones.

การสร้างระบบใหม่จะถูกกดดันโดยคนเสียประโยชน์ที่อยู่ในระบบเก่าแต่คนที่ได้ประโยชน์จากระบบใหม่จะรอขอส่วนแบ่ง

อาจารย์ประเวศ เสนอให้สร้างสถาบันนโยบายสุขภาพให้มีชื่อเสียงและมีนักศึกษารวมทั้งสื่อมวลชนมาศึกษาและนำไปสื่อสารและขยายผลต่อ

HITAP

ดู ppt นำเสนอที่ สามพราน_HTA and HITAP.pptx

Prof Carr White จากคณะสาธารณสุขศาสตร์จาก John Hopkins กล่าวว่าในสหรัฐอเมริกามีการใช้เทคโนโลยีมากแต่จากการศึกษาพบว่าโรคต่างๆสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรักษาที่จำเพาะเจาะจงเพียง 20% ส่วนอีก 80% เป็น Hawthorne effect* หรือ placebo effect จึงเสนอเรื่อง technology assessment ขึ้นมาใช้

ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาเรื่อง technology assessment และสื่อสารให้สังคมรับรู้เพื่อกดดันแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีมากเกินความจำเป็น

อาจารย์สุวิทย์ แนะนำให้รวบรวมประวัติของ IHPP และเครือข่ายเพื่อเป็นแบบอย่างให้เรียนรู้ สำหรับนักวิจัยเมื่อทำวิจัยไปนานๆ ก็ต้องการที่จะกำหนดนโยบายและในที่สุดก็ต้องการที่จะเป็นผู้ตัดสินใจ โดยแท้จริงแล้วนักวิจัยควรจะรักษา intellectual and ethical integrity ให้เข้มแข็งเพื่อให้องค์กรอยู่รอดและต้องเสนอในสิ่งที่ทำผลการวิจัยได้โดยต้องมีวิธีการพูดเพื่อเสนอผลงานวิจัยในเชิงบวกโดยการให้ความชื่นชมองค์กรต่างๆและจึงกล่าวสิ่งที่ท้าทายที่องค์กรนั้นๆควรจะต้องปรับปรุง

อาจารย์ยศ เสนอให้มีหน่วยงานที่ทำเรื่อง database of uncertainty for effective treatment โดยให้ผู้ใช้หรือผู้ตั้งคำถามและมีองค์กรที่ตอบคำถามเหล่านั้นถ้าตอบไม่ได้ให้ทำงานวิจัยในเรื่องนั้นซึ่งในประเทศอังกฤษองค์กรที่ให้ทุนสนับสนุนเฉพาะงานวิจัยที่มีคำถามอยู่ใน database นั้นเท่านั้น

*ทฤษฎี Hawthorne Effect ในปี ค.ศ. 1924 American National Research Council ได้ส่งวิศวกรสองคนลงไปทำการทดลองเรื่องผลของสภาพแวดล้อมด้านแสงสว่างมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในสายการผลิตอย่างไร ที่โรงงานผลิตอุปกรณ์โทรศัพท์ที่ชื่อว่า Hawthorne ใกล้เมืองชิคาโก้ ก็ปรากฎผลว่าเมื่อโรงงานมีแสงสว่างมาก ผลิตภาพ (Productivity) ของพนักงานจะมีสูงกว่าในกรณีที่โรงงานมีแสงสว่างน้อยกว่า ซึ่งกลายเป็นบทสรุปของทฤษฎีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ว่าปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี มีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานดีขึ้น

ผู้บันทึก

พญ.วณิชา (วิม)

หมายเหตุ

นพ. โกมาตรแก้ความเข้าใจ Hawthorne Effect ว่าหมายถึงผลการทดลองที่ดีขึ้น จากการที่ผู้ถูกทดลองได้รับความเอาใจใส่ ไม่ใช่จากการ input ที่ใส่เข้าไปในการทดลอง อีกชื่อหนึ่งคือ placebo effect

หมายเลขบันทึก: 609991เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2016 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2016 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท