5 ใน 42 กรณีศึกษาจาก ม.มหาสารคามในเครือข่าย Engagement Thailand (EnT)


เป็นที่น่ายินดีว่า “บทความกึ่งเรื่องเล่า” จำนวนทั้ง 5 เรื่องที่ส่งไปนั้นผ่านการพิจารณาเป็น 5 ใน 42 เรื่องจาก 17 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย ซึ่งเบื้องต้นมีสถาบันการศึกษาส่งบทความเข้าร่วมการพิจารณาจำนวน 87 บทความ แต่ผ่านเกณฑ์เพียง 42 บทความ



จากการที่ “เครือข่าย Engagement Thailand” (EnT) หรือ “พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม” โดยมี “สถาบันคลังสมอง” ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศไทยได้ส่ง “บทความวิชาการเพื่อสังคม” สถาบันละไม่เกิน 5 เรื่องเพื่อพิจารณาเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างของการศึกษาไทยที่มีต่อการรับใช้สังคม โดยกำหนดคัดกรองเป็นต้นแบบกรณีศึกษาจำนวนไม่เกิน 100 เรื่อง ภายใต้กรอบแนวคิด 4 ประเด็น ดังนี้

  • การร่วมคิดร่วมทำแบบพันธมิตรและหุ้นส่วน (partnership)
  • การเกิดประโยชน์ร่วมกันต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง (mutual benefits
  • การเกิดการเรียนรู้ร่วมกันและนำไปสู่ผลงานวิชาการ (Knowledge sharing and scholarship)
  • การเกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้ (measurable social impact)






กรณีดังกล่าวคณะทำงานโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนและทีมวิจัยระบบและกลไกงานวิชาการรับใช้สังคมของมหาวิทยาลัยมหาสารคามตัดสินใจส่งกรณีศึกษาเข้าร่วมการพิจารณาจำนวน 5 เรื่อง เลือกเฟ้นจากภารกิจ หลัก 2 ด้านคืองาน “วิจัยเพื่อท้องถิ่น” หรือการ “วิจัย มมส เพื่อชุมชน” และงานบริการวิชาการแก่สังคมในชื่อโครงการ ”หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน” ที่ขับเคลื่อนอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปี 2558






5 ใน 42 กรณีศึกษา EnT


เป็นที่น่ายินดีว่า “บทความกึ่งเรื่องเล่า” จำนวนทั้ง 5 เรื่องที่ส่งไปนั้นผ่านการพิจารณาเป็น 5 ใน 42 เรื่องจาก 17 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย ซึ่งเบื้องต้นมีสถาบันการศึกษาส่งบทความเข้าร่วมการพิจารณาจำนวน 87 บทความ แต่ผ่านเกณฑ์เพียง 42 บทความ คือ

  • บ้านดินรักษ์โลก : จากมหาวิทยาลัยสู่ชุมชนความสำเร็จการบูรณาการภารกิจ 5 In 1 (วิจัย การเรียน บริการวิชาการ ทำนุบำรุงและค่ายอาสาพัฒนา) โดย ดร.รัตนา หอมวิเชียร และคณะ
  • ICT สู่ชุมชนแบบมีส่วนร่วม : กรณีการบูรณาการศาสตร์มหาวิทยาลัยสู่ชุมชนและโรงเรียน โดย ผศ.ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา และคณะ
  • ประมง : กระบวนการเรียนรู้คู่บริการระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคามกับเกษตรกรบ้านยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดย ดร.วิภาวี ไทเมืองพล และคณะ
  • ธนาคารข้าว : กระบวนการบริหารจัดการและการลดต้นทุนผลิตข้าวในชุมชน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคามกับชุมชนบ้านหินปูน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดย ดร.นวลละออง อรรถรังสรรค์ และคณะ
  • 150 ปีเมืองมหาสารคาม : อีกหนึ่งผลพวงของการเรียนรู้คู่บริการว่าด้วยวิชาการรับใช้สังคมจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดย อ.เมธี พิริยการนนท์ และคณะ







ต่อเนื่องและต่อยอด : การเดินทางที่ยังไม่รู้จบ


ปัจจุบันคณะทำงานจากทั้ง 5 โครงการยังคงขับเคลื่อนงานวิชาการเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง เป็นต้นว่า

  • ดร.วิภาวี ไทเมืองพล และคณะ ขยายพื้นที่การบริการวิชาการประจำปี 2559 ไปยังกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (บ้านสี่เหลี่ยม ตำบลหนองบัวแก้วอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) ในชื่อโครงการ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเพาะเลี้ยงกบตามหลักปฏิบัติที่ดีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” ขณะที่ปี 2558 ดำเนินการในพื้นที่เดิมอันหมายถึงชุมชนบ้านยางน้อยในชื่อโครงการ “กระบวนการสร้างมาตรฐานตลาดพันธุ์สัตว์น้ำของชุมชนยางน้อย”
  • ผศ.ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา และคณะหวนคืนกลับไปต่อยอด “ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน” ในพื้นที่เดิมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว กล่าวคือขยับเข้าสู่โรงเรียนบ้านกอกหนองผือ (ตำบลหนองบัว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) มีภาคีเครือข่ายหลากหลายเข้ามาเกื้อหนุน เช่น กระทรวงไอซีที่ให้การสนับสนุนเรื่องวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบการศึกษาผ่านไอที ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก เช่น 1) จัดระบบหนังสือและคีย์รายการหนังสือลงระบบ 2) กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้โดยการใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาหนังสือในห้องสมุด 3) กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน 4) ฝึกอบรมยุวบรรณารักษ์เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ เช่น คัดเลือกหนังสือ ลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในระบบการจัดเก็บค้นคืนหนังสือ 5) กิจกรรมการเรียนรู้วันสำคัญทางศาสนา เพื่อให้ตระหนักเกี่ยวกับประเพณีท้องถิ่นของตนเอง
  • ดร.นวลละออง อรรถรังสรรค์ และคณะ หลังจากประสบความสำเร็จในเรื่องของการริเริ่มธนาคารข้าวและการลดต้นทุนการผลิตข้าวที่บ้านหินปูนฯ เป็นที่เรียบร้อย ก็ก้าวสู่ความท้าทายใหม่ในเรื่องการจัดการขยะในชุมชนเขวาไร่ฯ (2558) และการบริหารจัดการวิสาหกิจน้ำดื่มชุมชนบ้านหินปูน (2559) รวมถึงการเข้าหนุนเสริมารทำงานหลักสูตรอื่นๆ ในคณะเพื่อดำเนินงานเรื่องการจัดการขยะในชุมชนท่าสองคน ต.ท่าสองคอน อ.เมือง จ.มหาสารคาม






ขณะที่อาจารย์เมธี พิริยการนนท์ ได้ผันตัวไปทำหน้าที่ “พี่เลี้ยง” (CBR) หนุนเสริมทีมงานในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ เพื่อดำเนินงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นบนฐานคิดอันเดียวกันในชื่อโครงการ “แนวทางการจัดการพื้นที่ประวัติศาสตร์และทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมบ้านหัวนาไทย ตำบลหนองคูขาด อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม” โดยมีอาจารย์เมทินี โคตรดี เป็นผู้รับผิดชอบหลัก







เช่นเดียวกับ ดร.รัตนา หอมวิเชียร และ ผศ.ดร.จินดาพร จำรัวเลิศลักษณ์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็นำกระบวนการจัดการเรียนรู้คู่บริการแบบมีส่วนร่วมเข้าสู่การพัฒนานิสิตในแบบฉบับ “กิจกรรมนอกหลักสูตร” (กิจกรรมเสริมหลักสูตร) ของคณะอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องตามครรลอง 5 In 1” (วิจัย การเรียน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุง และค่ายอาสาพัฒนา) รวมถึงการบูรณาการเข้าสู่ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของนิสิต ทั้งในระดับคณะและมหาวิทยาลัย


นี่คือภาพสะท้อนเล็กๆ ที่ยืนยันว่านักวิชาการที่ทำงานวิชาการเพื่อรับใช้สังคมของมหาวิทยาลัยมหาสาคาม ยังคงเดินทางอย่างต่อเนื่องในวิถีเช่นนี้ ถึงแม้จะเป็นงานใหม่ถอดด้ามก็จริง แต่ก็มิใช่จะข่มใจทำเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวชี้วัดตามระบบ หรือทำเพื่อไล่ล่ารางวัลเชิดชูเกียรติตามวาระและเวทีต่างๆ จากนั้นก็เงียบถอยกลับสู่การจัดการเรียนรู้แบบเดิมๆ ที่ฉีกขาดออกไปจากชุมชน หรือสังคม ทว่ากลับนำชุดความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาไปบูรณาการสู่ภารกิจต่างๆ อย่างน่าชื่นชม




หมายเหตุ ภาพ : คณะวิทยาการสารสนเทศ/คณะการบัญชีและการจัดการ/เครือข่าย Engagement Thailand/ทีมระบบและกลไกฯ ม.มหาสารคาม

หมายเลขบันทึก: 609989เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2016 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2016 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ต่อยอด ต่อเนื่อง ต่อไป ... ชื่นชม มมส. และ อ.แผ่นดินที่นำมาฝากค่ะ

ขอชื่นชมและยินดีกับ 5ใน42ขอให้มีพลังในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไปนะคะ..ชื่นชมชื่นชมค่ะ

สวัสดีครับ พี่หมอ ธิ

ตอนนั้น ผมมีเวลาเขียนสกัดทั้ง 5 เรื่องนี้เพียงสองวันครับ อาศัยได้ลุยงานมากับอาจารย์ที่เป็นเจ้าของงานโดยตรงมาเป็นระยะๆ ประกอบกับการเป็นทีมหลักของการบริหารจัดการโครงการเหล่านี้มาระยะหนึ่ง จึงพอมองเห็น เข้าใจ และเขียนสกัดออกมาได้

ครับเขียนแบบ "พูดในสิ่งที่ทำ ย้ำในสิ่งที่มี"

ตอนนี้ รอฉบับแปลภาษาอังกฤษครับ - ทีมงาน และคลังสมองฯ คงใช้เวลาอีกสักพรรคครับ ถึงจะเผยแพร่ได้


สวัสดีครับ add

จุดเด่นของการงานทั้ง 5 เรื่องนี้ หากไม่นับผลกระทบที่เกิดกับชุมชนและสังคม ก็คือ การสมารถบูรณาการเข้าสู่การเรียนรู้ในรายวิชาใดวิชาหนึ่งของแต่ละหลักสูตรนั่นเองครับ เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้ผู้เรียนและชุมชนเป็นศูนย์กลาง และบ่มเพาะการเรียนรู้เพื่อการรับใช้สังคมไปในตัวด้วยเช่นกัน ครับ

ชื่นชม ชื่นชอบ หลักสูตรดี ๆ จ้ะ


มีส่วนร่วม.. ร่วมให้กำลังใจผู้เกี่ยวข้องทุกท่านค่ะ

ทึ่งการทำงานของแต่ละคณะและการทำงานของคุณแผ่นดินเอง

ทำได้เยอะและมีคุณภาพมากๆ

ขอชื่นชมคนทำงานครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท