ความรู้.. อาการซีดมากอย่างรวดเร็ว..โรคITP?


เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ ... แม่ของลูกน้อง ... ของ นพ. สมพนธ์ นวรัตน์ ... มาหาด้วย อาการซีด ... ซึ่งเกิดอย่างรวดเร็ว ภายใน 2 - 3 วัน เป็นหญิงไทย อายุ 58 ปี ซึ่งเดิมประจำเดือนหมดไป 4 - 5 ปีแล้ว ... อยู่ๆ ก็มีประจำเดือนมามาก ค่ะ และก็มีอาการซีดอย่างมาก ซีดอย่างรวดเร็ว ความเข้มข้นเลือดมีแค่ 8 % (จากผู้หญิงคนปกติ ควรมี 38% - 41 %) มีอาการอ่อนเพลียอย่างมากๆ




จากภาพ จะไม่พบเกล็ดเลือดเลยนะคะ



- Immune Thrombocytopenic Purpura : ITP

(ภาพช้าย มือ)


- Acquired Platelet Dysfunction with Eosinophilia : APDE.(ภาพขวามือ)


ITP ย่อมาจาก Immune Thrombocytopenic Purpura หรือบางครั้งเรียกว่า Idiopathic Thrombocytopenic Purpura เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง (autoimmune disease) ลักษณะที่สังเกตได้คือการมีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเกล็ดเลือดตนเองด้วยวิธีการเดียวกับการทำลายผู้รุกรานที่เป็นอันตรายอย่างแบคทีเรีย เกล็ดเลือดมีความสำคัญในการช่วยให้เกิดลิ่มเลือดและหยุดการไหลของเลือด


ปกติเมื่อสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตราย (เชื้อโรคต่างๆ) ถูกตรวจพบโดย..ระบบภูมิคุ้มกัน ร่างกาย จะผลิตแอนติบอดีออกมา เพื่อเข้าจับแบคทีเรียและทำลายเชื้อเหล่านั้น .. ในผู้ป่วย ITP ร่างกายจะทำงานผิดพลาด กล่าวคือ จะผลิตแอนติบอดีต่อเกล็ดเลือดของตัวเอง ซึ่งกรณีนี้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้สูญเสียความสามารถบางประการในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างสารแปลกปลอมและเซลล์ของตัวเอง ... เกล็ดเลือดที่มีแอนติบอดีเกาะอยู่จะถูกทำลาย โดยเซลล์พิเศษที่เรียกว่า มาโครฟาจ (macrophage) ซึ่งมีปริมาณมากในม้าม

ในผู้ป่วยบางราย การมีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำ แบบที่พบเห็นได้ในผู้ป่วย ITP นั้น อาจเป็นผลมาจาก ปัจจัยร่วมสองประการ คือ มีการผลิตเกล็ดเลือดผิดปกติพร้อมๆ กับการทำลายเกล็ดเลือดโดย แอนติบอดี (antibody – mediated)


อัตราการเกิด ITP

• มีอัตราการเกิด ITP ประมาณ 100 รายต่อประชากรล้านคนต่อปี

• สมาคม Platelet Disorder Support Association หรือ PDSA ประมาณการว่าประชากรประมาณ 200,000 คนของประเทศสหรัฐอเมริกามี อาการ ITP

• การศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่าชายและหญิง มีอัตราการเกิด ITP ไม่ต่างกัน และอัตราการเกิดสูงสุดอยู่ในกลุ่มผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป



ประเภทของ ITP

ITP แบ่งได้เป็นสองชนิด คือ ชนิดปฐมภูมิ และชนิดทุติยภูมิ ที่เป็นผลมาจากโรคอื่น (เช่น AIDS, Lupus)

นอกจากนี้ ITP ยังสามารถแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน และแบบ เรื้อรัง (กรณีที่แสดงอาการนานกว่า 6 เดือน) ซึ่งมั

กจะพบ ITP แบบเฉียบพลันในเด็ก ส่วน ITP ในผู้ใหญ่มักจะเป็นแบบเรื้อรัง


อาการ

อาการหลักๆ ของ ITP คือ มีรอยช้ำเป็นจ้ำและมีเลือดออก ซึ่งหมายรวมไปถึง

• อาการช้ำที่เกิดขึ้นเอง (purpura): มีรอยสีม่วงๆ บนผิวหนังหรือเยื่อเมือก

• มีจุดเลือดในชั้นผิวหนัง (petechiae): รอยจุดสีแดงเล็กบนผิว (โดยปกติมักพบที่ขา) ที่มักจะเกิดขึ้นเป็นกลุ่มๆ และอาจมีลักษณะเหมือนผื่น

• เลือดไหลไม่หยุด

• เลือดออกที่เหงือก

• เลือดกำเดาไหล

• มีเลือดออกมากในสตรีมีประจำเดือน (อาการมีระดูมาก หรือmenorrhagia)

• ปัสสาวะมีเลือดปน

• อุจจาระมีเลือดปน

• อาการเลือดออกในสมอง เป็นภาวะแทรกซ้อนของ ITP แม้พบได้ยาก แต่หากเกิดขึ้นก็อาจส่งผลถึงชีวิต ความเสี่ยงของการมีเลือดออกในสมองมีมากที่สุดใน:

- ผู้สูงอายุ

- ผู้ป่วยที่มีประวัติตกเลือด

- ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา

- ผู้ป่วยที่มีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำกว่า 10,000 /มล. ถึง 20,000 /มล. 6




การรักษา

แพทย์จะตัดสินใจว่ามีความจำเป็นต้องรักษาหรือไม่ขึ้นอยู่กับอาการ ปริมาณเกล็ดเลือด และผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการ ผู้ป่วย ITP ชนิดเรื้อรังอาจได้รับการรักษาที่หลากหลายตลอดช่วงเวลาของการรักษา ไม่มีการบำบัดใดๆ ที่เหมาะกับผู้ป่วยทุกรายในทุกกรณี


1. ในเด็ก

การรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีอาการ ITP ชนิดเฉียบพลันในขั้นต้นยังคงเป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงกันในหมู่แพทย์ เพราะบ่อยครั้งที่โรคนี้สามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาใดๆ การรักษาอาจมีความจำเป็นเพื่อป้องกันข้อจำกัดในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงป้องกันไม่ให้มีเลือดออกมากเกินไป


รูปภาพ: ภาพ : childrenshospital


2. ในผู้ใหญ่

ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่ ที่ไปพบแพทย์ด้วยอาการ ITP มักมีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำกว่า 10,000 /มล. ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเสียเลือด ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรเข้ารับการรักษาทันที เมื่อตรวจวินิจฉัยพบ นะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก plus.google.com/+MorsengBangkok/posts/CBjdGEcLRkA และhttp://www.baxter.co.th/th/patients_and_caregivers...www.google.co.th/search?q และhttps://www.google.co.th/search?q และwww.google.co.th/search?q และ /www.google.co.th/search?q





สรูป .... โรค ITP. ย่อมาจาก Idiopathic Thrombocytopenic Purpura ... เป็นภาวะเกล็ดเลือดต่ำ(Low platelets) ... โดยไม่มีสาเหตุ เพราะไขกระดูกก็ยังสร้างเลือดได้ตามปกติ .... แต่ร่างกาย สร้างสารต้านเกล็ดเลือด ในร่างกายตัวเอง ... ทำให้เลือดออกตามผิวหนัง...ก่อเป็น รอยจ้ำเลือดตามตัว บางรายอาจมีประจำเดือนมามาก .... มีเลือดกำเดาออก หากไม่รักษาอาจมีเลือดออกในสมอง จนเสียชีวิตได้ง่าย นะคะ .... ผู้ป่วยโรคนี้ต้องไปพบและรักษากับแพทย์เฉพาะทาง "โลหิตวิทยา" หรือแพทย์ทางโลหิตวิทยา (Medical Hematology) นะคะ ... จะได้ รักษาได้ดี ถูกต้อง (Treated correctly) แม่นยำ (accurately) ได้คุณภาพ (quality) เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปนะคะ



ขอบคุณค่ะ

6 กรกฎาคม 2559



หมายเลขบันทึก: 609837เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2016 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2016 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

-สวัสดีครับ

-ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ

ดีค่ะเป็นความรู้ที่ดี

ขอบคุณ ความรู้ดี ๆ นี้นะครับพี่

เป็นประโยชน์ดีมาก

ได้ความรู้มากเลยครับ

ขอบคุณมากๆครับ

อ่านบันทึกว่าด้วยสุขภาพนี้แล้วสุขใจมากครับ

ทำให้ตั้งคำถามกับตัวเองและคนใล้ตัวได้เป็นอย่างดียิ่ง

ขอบพระคุณครับ

ขอบคุณเรื่องและภาพที่น่าสนใจที่ต้องเฝ้าระวังค่ะ

  • มีโรคอย่างนี้ด้วย..สบายดีนะครับ!
  • ขอบคุณความรู้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท