เรื่องเล่าในตำนาน พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน มมส.


เรื่องจาก พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (บ้านอีสาน)

ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1มิถุนายน พ.ศ. 2542โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ที่มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาการอย่างมีความหมายและความสำคัญควบคู่กับพัฒนาการของสังคม

ซึ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้น ของ ตำนานนี้ ด้วยความที่ บ้านแต่ละหลังนั้นได้ถูกส่งมอบมาจาก เจ้าของซึ่งอาจจะเสียชีวิต หรือไม่มีผู้อยู่อาศัยแล้ว

จากนั้นมหาวิทยาลัยก็ได้ขอจัดซื้อเข้ามาอยู่ในพิพิธภัณฑ์ จริงๆมีอยู่ สองสถานที่ที่มีบ้านโบราณนี้อยู่นั้นคือ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช ทางพระธาตุนาดูน กับ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ขามเรียง ซึ่งเฮี้ยนทั้งสองที่ครับ

แต่จะมาเล่าในส่วนของมอใหม่ดีกว่า บ้านหลังใหญ่นั้นส่วนใหญ่เป็นของเจ้านายในสมัยก่อน ส่วนหลังเล็กนั้นจะเป็นของบ่าวไพร่ และบริวารของเจ้านาย ทุกบ้านมีเจ้าของอยู่แล้ว

นิสิตที่ไปออกกำลังกายบริเวณสวนสาธารณะ ใกล้ริมสระน้ำมักจะพบเห็นบ้านหลังนี้เป็นประจำ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าไปดู แต่มีนิสิตบางคน เข้าไปสำรวจแล้วมักจะเจอสิ่งแปลกประหลาดกลับมาทุกครั้ง มักจะเจอเหมือนมีคนเสมือนว่าอยู่ในบ้าน ทำโน้นทำนี้ แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่มีใครอยู่ในนั้นเลย

ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เจอเป็นคนแก่ ผู้ชายบ้าง ผู้หญิงแก่บ้างแทบทั้งนั้น ยามที่อยู่บริเวณนั้น คอยดูแลยังพบเจออยู่ จึงมีการเปลี่ยนผลัดยามบ่อยๆครั้ง(ขอย้ายหรือลาออก) เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ถึงบ้านจะยังคงเก่า แต่เจ้าของบ้านยังคงรักและผูกพันธ์ ดูแลบ้านของตัวเอง

หากใครไปทำข้าวของเสียหายหรือขโมยไปอาจจะต้องได้เจอดีกันทุกคน

อ้างอิง

https://th-th.facebook.com/MSU-Ghost-Club-Fanpage-...

เพิ่มเติมข้อมูล

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน เกิดขึ้นจากการก่อตั้งสถานีวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อศึกษาพันธุ์ไม้ พันธุ์ไผ่ พืชสมุนไพร ซึ่งเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ ต่อมาจึงมีการเพิ่มเติมการแสดงเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมของอีสาน จึงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านอีสานตามแบบประเพณีเดิม

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน เกิดขึ้นจากความคิดที่ว่า "การศึกษาที่สมบูณ์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่สมดุลกัน ระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์" การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์บ้านโบราณอีสานเพื่อที่จะอธิบายสภาพชีวิตของสังคมและวัฒนธรรมอีสานด้วยข้าวและน้ำ เพราะอีสานเป็นสังคมเกษตรกรรมทำนา ที่ต้องอาศัยน้ำเป็นหลักสำคัญและยังจะโยงไปสัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิตที่ผู้คนจะต้องเกี่ยวข้องกันเรื่อง ปลง พืชพันธุ์ป่าไม้ และรวมทั้งเกลือด้วย จากนั้นจึงดำเนินการสร้างพิพิธภัณฑ์ด้วยการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของชาวอีสาน คือที่อยู่อาศัยของชีวิตครอบครัว ซึ่งจะรวมไปถึงความสัมพันธ์ของระบบเครือญาติเพื่อนบ้าน

หมายเลขบันทึก: 609566เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2016 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2016 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นเรื่องเล่าไม่รู็จบ-ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคน

อยากให้เพิ่มเติมภาพที่ ม.เก่า และเติมเรื่องราวอื่นๆ เข้าไปอีกสักหน่อย นะครับ เช่น ประวัติการจัดตั้ง สารสนเทศข้อมูลที่มีอยู่ในนั้น


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท