Connectivity กับวิชาการ



บทความใน นสพ. The Nation ฉบับวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เรื่อง Mekong subregion connectivity : the path tp prosperity สรุปประเด็นจากการบรรยายของท่านผู้ว่าฯ ธปท. ดร. วิรไท สันติประภพ สรุปการเชื่อมต่อ (connectivity) เพื่อความมั่งคั่ง กล่าวถึงการเชื่อมต่อด้าน โครงสร้างพื้นฐาน (การคมนาคม สายไฟฟ้า และช่องดิจิตัล), การค้าและการลงทุน, คนต่อคน, และ การเงิน (ในหลายด้าน)

ผมไม่แปลกใจที่นักการเงินไม่ได้มอง connectivity ทางวิชาการ และผมมองว่า หากวงการวิชาการของประเทศไทย จับประเด็นภาพใหญ่ของเรื่องนี้ ทำความเข้าใจสภาพปัจจุบัน และโอกาสใช้ความเชื่อมโยงทางวิชาการในอนาคต วงการวิชาการไทยก็จะสามารถทำงานเชิงรุกได้อย่างมี policy coherence ไม่ทำงานแบบ fragmented กระจัดกระจาย ต่างหน่วย/สถาบัน ต่างทำ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะไม่เกิด synergy

ผมลองค้นกูเกิ้ลด้วยคำค้น “อุดมศึกษากับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง” ได้ผล ๓๑,๒๐๐ รายการ พบ เครือข่ายสถาบันการศึกษาและวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในวิกิพีเดีย และอื่นๆ ซึ่งแสดงว่า มีความร่วมมือทาง วิชาการอยู่แล้ว แต่ไม่ชัดเจนในแง่การเชื่อมโยงระหว่างวิชาการกับความมั่งคั่ง (prosperity) ท่านผู้ว่าฯ ธปท. จึงไม่ได้เอ่ยถึง academic connectivity

นี่คือโอกาสของวงการอุดมศึกษาไทย ที่จะยกระดับความสำคัญของตนเอง สู่ผู้มีบทบาทด้านการสร้างความมั่งคั่ง ร่วมกันในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง



วิจารณ์ พานิช

๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙

ห้องรับรองผู้โดยสารการบินไทย สนามบินสุวรรณภูมิ


หมายเลขบันทึก: 609499เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2016 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2016 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท