ขับเคลื่อน PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _๕๐ : ผลการประเมินโครงงานบ้านวิทย์น้อย เรื่อง "ฟองสบู่แม่มด"


โครงงานจากโรงเรียนเทศบาลบ้านแมด เรื่อง "ฟองสบู่แม่มด" เป็นตัวอย่างของครูเพื่อศิษย์ท่านหนึ่ง (คุณครูสรุดา เหล่าพล) ที่พยายามอย่างมาก เพื่อศึกษา ค้นหา และทดลองสูตรส่วนผสมเพื่อทำให้ฟองสบู่มีขนาดใหญ่ ตามความต้องการของเด็กๆ และหลังจากท่านและเด็กๆ พยายามอยู่หลายวัน ก็ได้สูตรสำเร็จในการทำฟองให้มีขนาดใหญ่และอยู่ได้นาน... ผมมีความเชื่อว่า วิธีที่จะปลูกฝังนักวิทย์น้อยนั้น วิธีทีดีที่สุดคือ ตัวครูเองต้องศึกษาเรียนรู้ ทดลอง เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ด้วยกระบวนการทดลอง แบบที่ครูสรุดา ทำนี้

ภาพรวมของโครงงาน

โครงงานนี้ถือได้ว่าเป็นโครงงานประดิษฐ์และทดลองที่แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ เริ่มจากความสนุกและสนใจเรื่องฟองสบู่ของเด็ก ๆ หลังจากได้ทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ "สนุกกับฟองสบู่" เด็กต้องการที่จะได้ฟองสบู่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อยู่ได้นานขึ้น และมีรูปร่างต่าง ๆ กัน ครูจึงพาเด็กศึกษา ค้นคว้า หาสูตรการทำน้ำฟองสบู่จนสำเร็จ อีกส่วนหนึ่งครูและเด็ก ๆ ได้ออกแบบการทดลองสำหรับปลูกฝังวัฏจักรนักวิทย์น้อยเพิ่มเติม โดยกำหนดให้ตัวแปรต้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นห่วงสร้างฟอง ที่ทำจากวัสดุและรูปร่าง ต่าง ๆ ให้เด็กทดลองเป่าฟองเองว่า แบบใดจะมีฟองใหญ่กว่า และรูปต่างเป็นอย่างไร? โดยกำหนดใช้น้ำฟองสบู่ที่ครูและเด็ก ๆ ช่วยกันทำในตอนแรก


ผลการประเมินตามเกณฑ์วัฏจักรนักวิทย์น้อย (ดาวน์โหลดเกณฑ์ได้ที่นี่)

ผมจะเขียนผลการประเมินเป็นข้อ ๆ เพื่อให้เห็นเหตุและผลของการให้คะแนนในแต่ละข้อของเกณฑ์ประเมินตามความเห็นเมื่อพิจารณาจากหลักฐาน ทั้งที่ได้อ่านจากเล่มและทั้งจากที่ได้ฟังการนำเสนอเมื่อครั้งไปลงพื้นที่โรงเรียน

๑) เป็นโครงงานหรือไม่

วิธีให้คะแนนข้อนี้ เกณฑ์กำหนดให้ดูว่ามีวัฏจักรวิจัย ๖ ขั้นตอนและต่อเนื่องเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่ให้หยุดตรวจ ถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์ ถ้าใช่... ให้ ๑ คะแนน และหากครบกระบวนต่อเนื่องมากกว่า ๒ วงรอบ ให้ ๓ คะแนน

โครงงานนี้ผมให้คะแนน ๑ คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินถือเป็นโครงงานทดลอง มีการฝึกทักษะตามวัฏจักรนักวิทย์น้อยครบถ้วนทั้ง ๖ ขั้นตอน ๑ วงรอบ ดังนี้

  • ชี้ชวนให้สงสัย (ตั้งคำถาม) : เด็กตั้งคำถามว่าทำอย่างไรจะได้ฟองขนาดใหญ่ขึ้น
  • พาให้คาดเดาคำตอบ (รวบรวมความรู้และตั้งสมมติฐาน) : ครูให้นักเรียนออกแบบทั้งบนกระดาษและทำห่วงเป่าฟองขนาดต่าง ๆ จากวัสดุชนิดต่าง ๆ
  • พิสูจน์ตรวจสอบคำตอบนั้น (สำรวจตรวจสอบ พิสูจน์สมมติฐาน) : ครูและเด็กทำการทดลองเป่าฟองตาม
  • แบ่งปัน อธิบาย (อธิบายอภิปรายผลการทดลอง) : ครูให้เด็กฝึกอธิบายและบรรยายรูปร่างต่าง ๆ ของฟอง
  • ระบาย บันทึก (จดบันทึกผลการทดลอง) :เด็กวาดภาพและระบายฟองสบู่ที่ทำได้
  • สรุปผลและนำเสนอ (สรุปการทดลองและนำเสนอ) : ครูและเด็กสรุปผลลงในกระดาษปลู๊พ เด็กๆ ช่วยวาดภาพและระบายสี แล้วให้นำเสนอต่อหน้าพื้น ๆ

๒) ที่มาของคำถามในการทำโครงงาน

เกณฑ์กำหนดว่า ถ้าเกิดจากครู ๑ คะแนน ถ้าเป็นเด็กและครูช่วยกันตั้งคำถาม ได้ ๒ คะแนน และถ้าเป็นเด็กตั้งคำถามเอง จะได้ ๓ คะแนน ผมให้ ๒ คะแนนครับ

๓) การะบวนการในการสำรวจตรวจสอบ

เกณฑข้อนี้มี ๒ ข้อย่อย ๑) ดูที่ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบกระบวนการสำรวจตรวจสอบ ถ้าครูคิดให้ ๑ คะแน เด็กและครูร่วมกันให้ ๒ คะแนน และถ้าเป็นเด็กคิดให้ ๓ คะแนน
ข้อนี้ผมให้ ๒ คะแนน เด็กมีส่วนร่วมในการคิดหาวัสดุที่จะนำมาทำห่วงเป่าฟอง

เกณฑ์ข้อย่อย ๒) เด็กทำเองหรือไม่ ถ้าใช่!! ให้ ๓ คะแนน ถ้าเด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้ ๒ คะแนน และถ้าครูพานำทำตลอด จะได้ ๑ คะแนน

ข้อนี้ผมให้ ๒ คะแนนครับ เด็ก ๆ ได้ลงมือทำอย่างสนุกสนานครับ


๔) การรายงานผลและการบันทึกการสำราวจตรวจสอบ


เกณฑ์บอกว่า มีการบันทึกหรือไม่? ถ้ามี ให้ดูต่อว่าสอดคล้องกับสมมติฐานหรือไม่ ถ้าใช่ ให้ ๒ คะแนน ถ้าไมสอดคล้องให้ ๑ คะแนน ถ้าไม่มีการบันทึกให้ไม่ให้คะแนน

ข้อนี้ ๑ คะแนน มีการให้นักเรียนวาดภาพฟองสบู่ที่ทำได้ ... แต่ควรมีมากขึ้น โดยกำหนดให้เปรียบเทียบ และวัดขนาดและบันทึกออกมาเป็นหน่วยความยาวครับ

๕) การสรุปและอภิปรายผลการตรวจสอบ

ข้อย่อย ๕.๑) เกณฑ์กำหนดว่า ถ้าสิ่งที่สรุปสอดคล้องกับคำถามและผลการสำรวจให้ ๑ คะแนน ถ้าไม่ให้ ๐ คะแนน ส่วนข้อย่อย ๕.๒) ถามว่าใครเป็นนสรุปถ้าเป็นครูให้ ๐ คะแนน เด็กต้องมีส่วนร่วมในการสรุป ถึงจะได้ ๑ คะแนน

ข้อ ๕.๑) ให้ ๑ คะแนน และ ๕.๒) ให้ ๑ คะแนนครับ เด็กได้มีส่วร่วมตลอดทุกกิจกรรม

๖) การส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เกณฑ์กำหนดว่า ถ้าเด็กได้ฝึกการสังเกต การวัด การจำแนก การเปรียบเทียบ การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา การคำนวณ การจัดกระทำกับข้อมูลและสื่อความหมายข้อมูล การลงความเห็นจากข้อมูล การพยากรณ์ ฯลฯ เหล่านี้ อย่างน้อย ๔ ทักษะขึ้นไป ให้ ๓ คะแนน ถ้า ๓ ทักษะให้ ๒ คะแนน และถ้า ๒ ทักษะให้ ๑ คะแนน

ข้อนี้ได้ไป ๒ คะแนนครับ ได้แก่ สังเกต การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลาและการลงความเห็นจากข้อมูล

๗ การส่งเสริมพัฒนาการหรือทักษะด้านอื่นๆ

เกณฑ์ ข้อนี้ส่งเสริมการบูรณาการวัฏจักรนักวิทย์น้อยกับการฝึกทักษะด้านอื่นๆ เช่น ด้านภาษาและการสื่อสาร ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้านสังคมเช่นการทำงานร่วมกัน ด้านการเคลื่อนไหวหรือฝึกร่างกายให้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ให้แข็งแรง หรือ ด้านอารมณ์และจิตใจให้เด็ก ๆ มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ทักษะชีวิต ฯลฯ โดยกำหนดว่า ถ้ามี ๔ ด้าน ขึ้นไปให้ ๓ คะแนน ถ้ามี ๓ ด้านให้ ๒ คะแนน ถ้ามี ๒ ด้านให้ ๑ คะแนน

ข้อนี้ให้ ๓ คะแนนครับ ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ ด้านการเคลื่อนไหว ด้านสังคมและการทำงานร่วมกัน และด้านอารมณ์จิตใจครับ

๘) ความริเริ่มสร้างสรรค์ของโครงงาน

<p “=”“>โครงงานมีความแปลกใหม่หรือไม่ ถ้าคัดลอกหรือปรับเปลี่ยนโครงงานจากผู้อื่นโดยไม่ได้ทำจริง ให้ปรับตก แต่ถ้านำหัวเรื่องคนอื่นมาทำเองให้ ๑ คะแนน ถ้าครูและเด็กริเริ่มขึ้น ให้ ๒ คะแนน แต่ถ้าเป็นโครงงานที่แปลกใหม่จริงๆ ให้ ๓ คะแนน
</p>

ข้อนี้ผมให้ ๒ คะแนน ครับ

สรุปผลการประเมิน

สรุปทั้ง ๘ ข้อ โครงงานนี้ได้คะแนนรวม ๑๗ คะแนน ผ่านเกณฑ์ประเมิน เหมาะสมที่ได้รับตราพระราชทานครับ

จบเท่านี้ครับ ... สู้ครับ

หมายเลขบันทึก: 609491เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2016 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2016 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สุดยอดเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท