ความฝัน จะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อเรา "ลงมือทำ"
ลงมือทำอย่างเดียว ไม่เพียงพอ
แต่หมายถึงต้องประเมินงาน ถอดบทเรียนเป็นระยะๆ
....
กระบวนการโครงการในฝันของการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนานิสิต
คือการเปิดพื้นที่ให้นิสิตได้ล้อมวงโสเหล่/เสวนาเรื่องราวกิจกรรมในฝันที่อยากทำ ซึ่งผูกโยงมาจากกระบวนการ รู้จักฉันรู้จักเธอ - จิตอาสา(จิตสาธารณะ) อันหมายถึงเรื่องราวที่นำมาสื่อสาร แลกเปลี่ยนกันนั้น ส่วนหนึ่งมาจากกิจกรรมเหล่านั้น
ด้วยเหตุนี้กิจกรรมที่นิสิตนำมาสื่อสารแบ่งปันกัน จึงมีทั้งที่กิจกรรมที่เกิดขึ้นแล้ว - ผ่านมาแล้ว หรือกระทั่งยังไม่เกิดขึ้น
...
กระบวนการโครงการในฝัน คือกระบวนการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้นิสิตได้นำทฤษฎีจากการบรรยายมาฝึกปฏิบัติแบบกลุ่มทีม
ก่อนกลับไปลงมือเขียนงานโครงการส่งผู้สอน
กระบวนการโครงการในฝัน เหมือนการทบทวน ถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมาแล้ว เพื่อนำมาแบ่งปัน สานฝันร่วมกับเพื่อน
กระบวนการโครงการในฝัน เหมือนการผูกโยงให้นิสิตได้ออกแบบกิจกรรมที่จะต้องลงมือทำร่วมกันอย่างจริงจังเพื่อ "บริการสังคม"
และกระบวนการโครงการในฝัน ก็เหมือนการเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นทีมให้กับนิสิต
...
ครับ ผมคงไม่บอกว่า กระบวนการโครงการในฝันนี้
ใช้เครื่องมืออันใดบ้าง----
แต่ที่แน่ๆ แต่ละคนได้ทบทวนประสบการณ์ตัวเอง ได้จินตนาการใหม่
ได้เล่าเรื่อง ได้ฟัง ได้หาข้อสรุป
ได้ทำแผนผังความคิด ได้นำเสนอ ฯลฯ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย แผ่นดิน ใน pandin
-สวัสดีครับอาจารย์
-บันทึกนี้มาเสริมหนุน"ความฝัน"ของผมครับ
-ชอบข้อความสั้น ๆนี้ครับ"ความฝัน จะเป็นจริงได้ ก็ต่อเมื่อเราลงมือทำ"
-ขอบคุณครับ