นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : บทบาทของศึกษานิเทศก์


ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นเบอร์หนึ่ง ที่จะสามารถทำให้โรงเรียนะทะยานไปข้างหน้าได้ เป็นผู้นำในโรงเรียนให้เกิดการขยับขับเคลื่อน ระหว่างบุคลากรในโรงเรียน ชุมชน และ ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ .. ถ้าโรงเรียนใด ทำเป็นท่อนๆ ผลที่ได้รับก็กระท่อนกระแท่น อย่างที่เป็นอยู่

การนิเทศการศึกษา เป็นศาสตร์ และ ศิลปะ ในการทำงาน การมีความรู้ดีเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถขับเคลื่อนการศึกษาไปได้ ต้องมีทั้งศิลปะในการบริหาร การพูด การสื่อสาร การทำงานร่วมกับคนอื่น และคุณลักษณะส่วนบุคคล ซึ่งบุคคลเดียวไม่สามารถมีครบทุกสิ่งทุกอย่าง

จากประสบการณ์การทำงานด้านนี้ พบว่า การขับเคลื่อนโรงเรียนด้วยการนิเทศ เยี่ยม ประชุม รับนโยบาย มาส่งต่อกับครูบริหาร มันไปได้ช้า และโรงเรียนมี ดรามาเยอะ บริบทก็แตกต่างกันไป pattern เดียว ทำให้เหมือนกันไม่ได้ ต้องมีการ ปรับ ประยุกต์ บูรณการ นโยบายต่างๆ แต่ จะมีสักกี่โรงที่ไปได้ และตีโจทย์แตก..

เมื่อสักระยะหลัง ได้เริ่มเยี่ยมชั้นเรียน สังเกตชั้นเรียน จริงจัง .. เกิดความรู้สึกว่า บทบาท สำคัญสุด ๆ ในการพัฒนาการศึกษา ต้องให้เครดิตกับ ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นเบอร์หนึ่ง ที่จะสามารถทำให้โรงเรียนทะยานไปข้างหน้าได้ ผอ.ร.ร. ต้องเป็นผู้นำใน โรงเรียนให้เกิดการขยับขับเคลื่อน ระหว่างบุคลากรในโรงเรียน ชุมชน และ ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ .. ถ้าโรงเรียนใด ทำเป็นท่อนๆ ผลที่ได้รับบก็กระท่อนกระแท่น อย่างที่เป็นอยู่

ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องมีวิสัยทัศน์ เป็นผู้นำ ช่วยแก้ปัญหา เป็นที่ปรึกษา ทำงานร่วมกับครู จริงใจ .

การบริหารจัดการของ ผอ.ร.ร.ไม่จำเป็นต้องเป็นแนวราบเสมอไป แต่ดิฉันพิจารณาว่า .ควรเริ่มจากแนวราบ และลดการสั่งการ เน้นการสอนงาน ทำงานเป็นทีม หลักการมีส่วนร่วม อาจจะอืดมากในระยะแรกๆ แต่ น่าจะยั่งยืนกว่า แบบสั่งการ ซึ่งเป็น passive เหมือนกับ นร. นั่นล่ะ ถ้าสั่งจนชิน ครูเขาจะรอให้เราสั่งแล้วถึงจะทำ บางทีสั่งไม่ถูกใจ เขาก็ไม่ทำ ..

วันนี้ ตั้งใจเขียนถึงผู้อำนวยการโรงเรียนที่พาคณะครูไปศึกษาดูงาน ที่โรงเรียนบ้านปะทาย (เครือข่ายกบนอกกะลา) ที่ ดิฉันพยายาม ส่งเสริม สนับสนุน เต็มที่ ในการให้โรงเรียน ปรับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ได้เห็นแนวคิดของการบูรณาการ การเรียนรู้ในบริบท บนฐานปัญหาจริง

ผลจะออกมาเป็นเช่นไรก็ยังไม่ทราบ

สิ่งที่กำลังทำอยู่ คือ บทบาทของศึกษานิเทศก์ เหมือนมี step การทำงาน แต่จริงๆ แล้วก็ไม่ได้เกิดจาก mind set หรือ การวางแผน ที่สมบูรณ์แบบเท่าใดนัก เพราะ หน้างาน .. ไม่เป็นไปตามที่เราคาดการณ์ทุกเรื่อง ไม่ใชการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ที่จะควบคุมตัวแปรต่างๆ ได้

หน้างานก็ต้อง ปรับไปตามสถานการณ์ ที่ เผชิญอยู่ แต่ต้องมีความต่อเนื่อง ดิฉันนั่งทบทวนว่า ทำอะไรบ้าง ...

บทบาทศึกษานิเทศก์

        • วิเคระห์ ปัญหา outcome ผลลัพธ์ทางการศึกษา คุณภาพนักเรียน ครู การบริหาร
        • กำหนดเป้าหมาย "ทำอย่างไรโรงเรียนจะเข้มแข็ง ปรับตัวและเท่าทันกับสถานการณ์โลก"
        • เลือก -กลุ่มโรงเรียนที่ไม่มากนัก ที่พร้อมจะรับการเปลี่ยนแปลง ผอ.โรงเรียน ครู ที่มีท่าทีเปิดใจ
        • step แรก ... ชักชวน ท้าทาย เชิญชวน เพื่อ ร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน โรงเรียนที่ได้รับการยอมรับ
        • step สอง .. ผู้อำนวยการโรงเรียนๅ/ ครู เลือกว่าจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน

มาถึงวันนี้ ... โรงเรียนมีการรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย และ ให้ครูไปศึกษาดูงานทั้งโรงเรียน ..เพื่อเรียนรู้กับโรงเรียนใน ศต..21 บ้านปะทาย ..

โรงเรียน เปลี่ยนหรือยัง ..ก็ยัง .แต่เป็นเพียงจุด เริ่มต้นของเส้นทาง โรงเรียนใน ศตวรรษที่ 21 ในบริบทฉบับพวกเขาเอง ผลจะเป็นอย่างไรอยู่กับวิสัยทัศน์ ผู้บริหารล้วนๆ ..... เครดิต โรงเรียน

  1. นาขามร่วมราษฏร์บำรุง
  2. สงยางสงเปลือยวิทยาคม
  3. สายป่าแดงวิทยาคม
  4. แก้งนางราษฏร์บำรุง
  5. ชุมชนแก้งคำวิทยา
  6. กุดครองวิทยาคาร
  7. หนองแคนวิทยา
  8. ดงน้อยสงเคราะห์
  9. ด่านเหนือหนองไผ่สงเคราะห์
  10. บึงไฮโนนสวางวิทยา
  11. บ้านนหนองช้าง
  12. ดอนหวายราษฏร์บำรุง
  13. บ้านโหมนสงเคราะห์

สำหรับ ศึกษานิเทศก์ ก็เป็น ผู้ส่งสาร และสนับสนุนการทำงาน และจะทำต่อไป



หมายเลขบันทึก: 608514เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2016 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2016 07:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท