ผักกะเฉดหรือผักรู้นอน แก้ไข้ดับพิษบำรุงร่างกาย


ผักกะเฉด

พืชเลี้อยอยู่บนผิวน้ำลักษณะเดียวกับผักบุ้งที่เป็นปล้องใหญ่ที่นำทำแกงเทโพ ปกติแล้วเวลาเรานำผักกะเฉดมาทำอาหารเช่น ยำ ผัดไฟแดง แกงส้ม ลวกจิ้มน้ำพริก หรือใช้แบบดิบเคียงกับขนมจีนน้ำยา ทุกบ้านทุกร้านอาหารจะแกะนมผักกะเฉด สีขาวที่มองดูลักษณะคล้ายๆฟองน้ำบางๆทิ้งหมด ทราบไหมค่ะว่า นมผักกะเฉดนั้น เป็นสมุนไพรเป็นยาด้วย บำรุงร่างกาย แก้ไข้ตัวร้อน ถอนพิษตับอักเสบ แต่ส่วนใหญ่แล้วเราก็ไม่เคยได้พบเคยเห็นอาหารที่ทำจาก นมผักกะเฉดนะคะ บันทึกนี้นำสรรพคุณประโยชน์ผักกะเฉดอาหารเป็นยามาฝากค่ะ




ผักกะเฉด เป็นพืชที่เกิดอยู่ตรามผิวน้ำ ลำต้นเป็นเถากลมเนื้อนิ่ม มบประกอบคล้ายใบกระถิน ใบจะหุบลงในเวลากลางคืน จึงเรียกว่า ผักรุ้นอน ระหว่างข้อมีปอดเป็นฟองสีขาวหุ้มลำต้นเรียกว่า นมผักกะเฉด มีรากงอกออกตามข้อ ดอกช่อเล็กๆสีเหลือง เป็นพืชที่มีโปรตีนมากกว่าคารืโบไฮเดรต และมีแร่ธาตุ วิตามินหลายชนิด เกิดตามหนองบึงทั่วไป


สรรพคุณ

นม รสจืดเย็น แก้ไข้ตัวร้อน ถอนพิษตับอักเสบ บำรุงร่างกายให้แข็งแรง

ใบ รสจืดเย็น ดับพิษปวดแสบปวดร้อน แก้ไข้ ดับพิษ


( ขอบคุณสรรพคุณผักกะเฉด จากหนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย โดย วุฒิ วุฒิธรรมเวช)







<p “=””>
</p>


ผักกะเฉดปลูกในน้ำ ก็มีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพได้ ถ้านำมาทำอาหารแบบล้างไม่หมดหรือเจอผักกะเฉดที่ผู้ปลูกขายฉีดยาฆ่าแมลง เวลาเราทำเองก็ล้างแช่เปลี่ยนหลายน้ำได้ แต่ร้านอาหารที่ขายในปริมาณมากๆก็ไม่ทราบจะเหมือนกับที่เราล้างเองหรือไม่นะคะ ก็ต้องระวังให้มากขึ้นนะคะ

ได้ทราบข้อมูลในการนำผักกะเฉดมาทำอาหารพึ่งระวัง นำมาฝากด้วยค่ะ

<p “=””> ขอบคุณ http://frynn.com/ข้อควรระวัง : แต่ก็มีคำแนะนำออกมาว่าการรับประทานผักกระเฉดควรทำให้สุกก่อนนำมารับประทาน เพราะมีความเสี่ยงต่อพยาธิตัวอ่อนที่อาจปะปนเข้ามา รวมไปถึง “ไข่ปลิง” ที่ทนความร้อนได้สูงมาก แอดมินไปอ่านเจอมาว่าต้องต้มด้วยความร้อนสูงถึง 500 องศาเซลเซียสและต้องต้มนานเป็นชั่วโมงเลยถึงจะรับประทานได้อย่างปลอดภัย และนอกจากนี้ยังอาจมีสารพิษจากยาฆ่าแมลง “คาร์โบฟูราน” ปลอมปนเข้ามาอีกด้วย ซึ่งสารพิษตัวนี้มีพิษร้ายแรงต่อร่างกายมนุษย์ มีผลต่อระบบประสาทและหัวใจ เป็นสารก่อมะเร็ง และอาจทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติ </p>



<p “=”“>ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี </p> <p “=”“>วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ ๒๕๕๙ </p>

หมายเลขบันทึก: 608466เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2016 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2016 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-สวัสดีครับพี่กานดา

-ผักสดๆ อร่อยนะครับ

-สบายดีนะครับ

-ด้วยความระลึกถึงครับ

ขอบคุณ คุณ กานดา น้ำมันมะพร้าว สำหรับ..ข้อเขียน..บันทึกนี้..ที่ให้..ความรู้.และกล่าวถึง.ในด้าน..ความเป็นพิษ.."โดยเฉพาะ..พืชที่มีสรรพคุณทางยา"ซึ่ง โดยทั่วๆไป

มักจะกล่าวถึงสรรพคุณหลากหลาย..แต่ไม่มีข้อมูลทาง ลบ..มากล่าวให้ทราบกัน..


น่าสนใจมาก

เป็นผักที่เป็นยาด้วยนะครับ

ขอบคุณพี่มากๆครับ

  • เห็นผักผลไม้ในตลาดหรือศุนย์การค้า..ชักรู้สึกหวาดกลัวกับพิษภัยที่แฝงตัวมากขึ้นทุกวันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท