ใช้ความรักบำบัดโรค (เรื่องที่อยากเล่า 1)


ครอบครัวของดิฉันได้เจอสถานการณ์แบบนี้ วันที่ 13 มิถุนายน 2559 น้าของดิฉันตกจากที่สูง ทำให้อาการสาหัส ปอดแตก ซีกโครงหัก ม่ามฉีก ต้องนอนอยู่ในห้อง ICU ซึ่งตอนเห็นดิฉันกับยายได้เข้าไปเยียมครั้งแรก ตกใจมาก น้านอนไม่ได้สติ ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และมีสายอะไรไม่รู้เยอะไปหมด ซึ่งเราก็ทำอะไรไม่ได้นอกจากกำลังใจ เราคอยดูแลไม่ห่าง หนูกับยายได้นอนเฝ้าน้าอยู่ที่โรงพยาบาล แต่ห้อง ICU นอนเฝ้าข้างในไม่ได้ และกำหนดเวลาเยี่ยม 2 ครั้งต่อวัน ครั้งล่ะ 1 ชั่วโมง เวลา 11.00 - 12.00 น. และ 18.00 - 19.00 น. ทุกวินาทีมีค่าเราต้องใช้เวลาอยู่ในห้อง ICU ให้มีค่าที่สุด หนูกับญาติที่เข้าไปเยี่ยม เราก็ทำไรไม่ได้ นอกจากจับมือ พูดให้กำลังใจตลอด พูดถึงคนฟังจะไม่รับรู้ จนกระทั่งน้ารู้สึกตัว เคาพยายามจะพูดแต่พูดไม่ได้ มันไม่ได้ยินเสียง อ่านปากก็ไม่รู้เรื่อง เราก็ใช้ภาษาเขียน แต่น้าจะเจ็บมากตอนเขียน เคาพยายามที่บอกว่า ปอดแตก เราทุกครั้งที่เข้าเยี่ยมก็ทำได้แค่กำลังใจ หนูเลยลองหาข้อมูลใน google ก็เจอวิธีการให้กำลังใจ ใช้ความรักบำบัดโรค และหนูก็ทำทุกครั้งที่ได้เข้าไปเยี่ยม แต่มือใครก็ไม่สำคัญเท่ามือพ่อกับแม่ ตากับยายคอยจับมือ เช็ดตัว ลูบหัว พูดให้กำลังและก็พูดในสิ่งค่อยพูดกับลูฏเท่าไหร่ นั้นคือบอก ตลอดที่ได้เข้าเยี่ยม น้าหนูฟื้นตัวได้เร็วมากค่ะ 7 วัน น้าได้ถอดเครื่องช่วยหายใจออก 9 วัน น้าก็กินน้ำ กินโจ๊กได้ เป็นเวลา 12 วันที่ได้ใอยู่ ห้อง ICU และก็ได้มาอยู่ห้องคนไข้ธรรมดา และวันที่ 28 ก็ได้ออกจากโรงพยาบาลมาพักฟื้นอยู่บ้านที่ค่ะ และตอนนี้กำลังหัดเดินแล้วค่ะ กว่าจะให้หายขาดก็ต้องใช้เวลาคู่กับกำลังใจนะค่ะ


นายแพทย์ท่านหนึ่งเคยเล่าประสบการณ์จากการสังเกตคนไข้ที่มีอาการป่วยแบบเดียวกัน การรักษาแบบเดียวกัน แต่ปรากฏว่า คนไข้ที่มีคนรักคอยดูแลอยู่ตลอดเวลาจะมีอัตราการหายป่วยเร็วกว่าคนไข้ที่ไม่มีคนรักมาคอยดูแล


รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมแสดงความรักและปรารถนาดีต่อกัน เริ่มตั้งแต่ตอนที่เราไม่เจ็บไข้ได้ป่วย เพราะจะเป็นยาชั้นเลิศที่ทำให้คนได้รับมีความสุข ส่วนคนที่กำลังเจ็บป่วยจำเป็นต้องแสดงออกทั้งการพูดและการกระทำไปพร้อมๆ กัน เริ่มตั้งแต่แสดงออกให้เห็นถึงความเอื้ออาทรทางแววตา การกอด การสัมผัสซึ่งเป็นอวัจนภาษาที่ดีในการเพิ่ม ภูมิต้านทานได้ การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะ นุ่มนวล ก็ทำให้ ผู้ฟังรู้สึกว่าได้รับความรักได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ถูกรักอบอุ่นใจ สงบลง ระบบภูมิต้านทานร่างกายมีการฟื้นตัว ได้ดีขึ้น ส่งผลให้การตอบสนองต่อการรักษาดีขึ้นด้วย

เคล็ด (ไม่) ลับ นายแพทย์ท่านหนึ่งเคยเล่าประสบการณ์จากการสังเกตคนไข้ที่มีอาการป่วยแบบเดียวกัน การรักษาแบบเดียวกัน แต่ปรากฏว่า คนไข้ที่มีคนรักคอยดูแลอยู่ตลอดเวลาจะมีอัตราการหายป่วยเร็วกว่าคนไข้ที่ไม่มีคนรักมาคอยดูแล


รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมแสดงความรักและปรารถนาดีต่อกัน เริ่มตั้งแต่ตอนที่เราไม่เจ็บไข้ได้ป่วย เพราะจะเป็นยาชั้นเลิศที่ทำให้คนได้รับมีความสุข ส่วนคนที่กำลังเจ็บป่วยจำเป็นต้องแสดงออกทั้งการพูดและการกระทำไปพร้อมๆ กัน เริ่มตั้งแต่แสดงออกให้เห็นถึงความเอื้ออาทรทางแววตา การกอด การสัมผัสซึ่งเป็นอวัจนภาษาที่ดีในการเพิ่ม ภูมิต้านทานได้ การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะ นุ่มนวล ก็ทำให้ ผู้ฟังรู้สึกว่าได้รับความรักได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ถูกรักอบอุ่นใจ สงบลง ระบบภูมิต้านทานร่างกายมีการฟื้นตัว ได้ดีขึ้น ส่งผลให้การตอบสนองต่อการรักษาดีขึ้นด้วย

เคล็ด (ไม่) ลับ ใช้ความรักบำบัดโรค

"โรค" ในที่นี้ อาจจะไม่ใช่โรคเมื่อตอนที่คนรักเจ็บป่วยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นโรคทางใจที่ทำให้ คนรักซึมเศร้าเหงาหงอย หรือแปลกไปกว่าปกติ จำเป็นที่จะเติมความรักลงไปได้เช่นกัน

1. ให้กำลังใจ การให้กำลังใจอาจแสดงออกได้หลายวิธี ทั้งจากการพูดจาและการกระทำ (อย่างจริงใจ) โดยเฉพาะเมื่อคนที่เรารักกลายเป็นคนป่วย (คนป่วยส่วนใหญ่มักต้องการให้คนเอาใจ และขี้ใจน้อยได้ง่ายกว่าปกติ) จำเป็นต้องเพิ่มความเอาใจใส่ยกกำลังสอง เช่น ปลอบโยนเกี่ยวกับโรคที่เป็นว่าจะต้องหาย ต้องอยู่กับเราไปนานๆ การที่เราพูดแบบนี้ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และทำให้อยากมีชีวิตอยู่ต่อ ทำให้มีกำลังใจในการต่อกรกับโรคร้าย

2. ไม่โดดเดี่ยว อย่าแสดงกิริยาอาการว่าเบื่อคนที่เรารัก โดยเฉพาะตอนที่ป่วยแล้วอ้างเหตุผลต่างๆ นานา ว่า ไม่มีเวลามาเยี่ยม ติดธุระต่างๆ หรือถกเถียงกันเรื่องการเฝ้าไข้ ต้องคอยเอาใจใส่ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด อย่าทำให้ผู้ป่วยรู้สึกโดดเดี่ยว เพราะจะทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล ซึ่งมีผลต่อสุขภาพต่อผู้ป่วย ทั้งทางตรงและทางอ้อม

3. ห่วงใย-สัมผัส พลังความรักความห่วงใยสามารถถ่ายทอดผ่านการสัมผัส การโอบกอด หรือการจับมือผู้ป่วยเพื่อให้เขารู้สึกดี รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย แน่นอนว่า จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดีเยี่ยมอีกวิธีหนึ่ง

"โรค" ในที่นี้ อาจจะไม่ใช่โรคเมื่อตอนที่คนรักเจ็บป่วยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นโรคทางใจที่ทำให้ คนรักซึมเศร้าเหงาหงอย หรือแปลกไปกว่าปกติ จำเป็นที่จะเติมความรักลงไปได้เช่นกัน

1. ให้กำลังใจ การให้กำลังใจอาจแสดงออกได้หลายวิธี ทั้งจากการพูดจาและการกระทำ (อย่างจริงใจ) โดยเฉพาะเมื่อคนที่เรารักกลายเป็นคนป่วย (คนป่วยส่วนใหญ่มักต้องการให้คนเอาใจ และขี้ใจน้อยได้ง่ายกว่าปกติ) จำเป็นต้องเพิ่มความเอาใจใส่ยกกำลังสอง เช่น ปลอบโยนเกี่ยวกับโรคที่เป็นว่าจะต้องหาย ต้องอยู่กับเราไปนานๆ การที่เราพูดแบบนี้ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และทำให้อยากมีชีวิตอยู่ต่อ ทำให้มีกำลังใจในการต่อกรกับโรคร้าย

2. ไม่โดดเดี่ยว อย่าแสดงกิริยาอาการว่าเบื่อคนที่เรารัก โดยเฉพาะตอนที่ป่วยแล้วอ้างเหตุผลต่างๆ นานา ว่า ไม่มีเวลามาเยี่ยม ติดธุระต่างๆ หรือถกเถียงกันเรื่องการเฝ้าไข้ ต้องคอยเอาใจใส่ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด อย่าทำให้ผู้ป่วยรู้สึกโดดเดี่ยว เพราะจะทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล ซึ่งมีผลต่อสุขภาพต่อผู้ป่วย ทั้งทางตรงและทางอ้อม

3. ห่วงใย-สัมผัส พลังความรักความห่วงใยสามารถถ่ายทอดผ่านการสัมผัส การโอบกอด หรือการจับมือผู้ป่วยเพื่อให้เขารู้สึกดี รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย แน่นอนว่า จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดีเยี่ยมอีกวิธีหนึ่ง





http://pariyakron.blogspot.com/2009/10/1.html

หมายเลขบันทึก: 608464เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2016 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณที่นำสาระดีๆ มาฝากเหมือนบันทึกอื่นๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท