ผลประโยชน์ที่ซุกซ่อนในการอ่านออกเสียง ไม่เว้นแม้แต่เด็กโต (The hidden benefits of reading aloud — even for older kids)


นักวิชการที่ชื่อ Jim Trelease อธิบายทำไมการอ่านออกเสียงดังๆจึงสำคัญต่อเด็ก การอ่านออกเสียงดังๆ ทำได้ไม่จำกัดอายุ และเป็นกระสุนอันมหัศจรรย์สำหรับการเป็นผู้อ่านตลอดชีพ

Jim Trelease เป็นผู้แต่งหนังสือที่สมควรได้รับการยกย่อง ที่ชื่อว่า คู่มือการอ่านออกเสียงดังๆ (Read-Aloud Handbook) ซึ่งพ่อแม่จำนวนมากตั้งชื่อให้ว่าเป็น ไบเบิลของการอ่านออกเสียงดังๆ หนังสือบรรจุด้วยข้อมูลจำนวนมาก ตั้งแต่อะไรที่ทำให้เด็กๆรักการอ่าน เคล็ดลับอะไรที่ทำให้เด็กๆไม่ไปยุ่งกับเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ แต่หันกลับมาหาหนังสือแทน ชื่อเป็นร้อยชื่อของการอ่านออกเสียงดังๆ คู่มือนี้พิมพ์เป็นครั้งที่ 7 ในฤดูใบไม้ผลิ ปี 2013 ด้วยอายุ 71 ปี เขาบอกว่าครั้งน่าจะเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว พวกเราไปพบ Trelease ที่บ้านใน Connecticut เมื่อไม่นานมานี้ และได้ขอร้องเขาให้ช่วยอธิบายว่าทำไมการอ่านออกเสียงดังๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กๆในทุกวัย

คุณจะช่วยอธิบายถึงความเชื่อมโยงระหว่างการอ่านออกเสียงดังๆ กับความสำเร็จในโรงเรียน

มีงานวิจัยและปรากฏในวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็คือ เด็กที่มาโรงเรียนพร้อมกับเรียนรู้ศัพท์มาก จะดีกว่าเด็กที่เรียนรู้ศัพท์น้อย หรือมีความรู้กับศัพท์ในระดับต่ำ

ทำไมจึงเกิดสิ่งนี้ขึ้น? ถ้าเธอคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในปีแรกๆของการเรียน การสอนเกือบทั้งหมดจะเป็นการสอนทางปาก (Oral) ในระดับอนุบาลจนถึงประมาณเกรดที่ 2 และ 3 เด็กๆยังไม่เคยอ่าน หรือเพิ่งเริ่มอ่าน ดังนั้นการสอนของครูทั้งหมดก็คือการพูดให้เด็กๆฟัง สิ่งนี้ไม่จริงเฉพาะการอ่าน แต่เป็นทุกวิชาซึ่งก็คือครูไม่เคยบอกเด็กๆให้เปิดหนังสือ และอ่านบทที่ 3 การสอนคือทางปาก และเด็กๆที่มีคำศัพท์อยู่มากมายจะมีข้อได้เปรียบ เพราะเข้าใจสิ่งที่ครูพูด เด็กๆที่มีคำศัพท์น้อย จะไม่เข้าใจสิ่งที่ครูกำลังพูดอยู่ และพวกเขายิ่งอยู่นานจะอยู่ข้างหลัง

แล้วเด็กๆจะพัฒนาคำศัพท์ที่มีอยู่จำนวนมาก ก่อนโรงเรียนจะขึ้นได้อย่างไร? นักเรียนที่พูดเก่งๆและอ่านหนังสือมากๆก็คนที่จะรู้คำศัพท์จำนวนมาก หากคุณคิดให้ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณไม่สามารถจะเอาสักคำหลุดจากปากเด็ก หากเด็กๆไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน เช่นคำว่า สลับซับซ้อน (complicated) เด็กๆ ถ้าไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน ก็อย่าหวังให้พูดออกมา และการให้จำได้ เด็กๆก็ต้องได้ยินคำนี้หลายๆครั้ง การให้เด็กๆได้ยินคำนั้นหลายๆครั้ง พ่อแม่จำเป็นต้องคุยให้เด็กๆฟัง และให้เจอคำนั้นบ่อยๆเป็นเวลาหลายที เริ่มตั้งแต่ตอนเขายังเด็กๆอยู่ เพราะพวกเขากำลังเรียนคำพวกนี้อยู่

การอ่านออกเสียงดังๆ: โฆษณาสำหรับหนังสือ

ดังนั้นพ่อแม่จำเป็นต้องพูดคุยกับลูก แต่การอ่านออกเสียงดังๆก็มีความจำเป็นด้วยเช่นกัน เพราะเป็นที่ที่ให้เด็กๆมีโอกาสได้ยินเสียงให้มากๆ ในบทสนทนานั้น เรามีแนวโน้มที่จะใช้มือไม้เป็นสัญญาณ (verbal shorthand) ไม่ใช่ประโยคแบบเต็ม แต่ภาษาในหนังสือจะมีความรุ่มรวย และหนังสือจะมีประโยคแบบเต็มมากกว่าใช้มือไม้เป็นสัญญาณ ในหนังสือ, หนังสือพิมพ์, นิตยสาร จะมีภาษาที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นมากขึ้น เด็กที่ได้ยินภาษาที่มีความสลับซับซ้อนมากเด่าใด จะมีข้อได้เปรียบเป็นอย่างมากกว่านักเรียนที่ไม่เคยได้ยินข้อความที่ซับซ้อนนั้น

การอ่านออกเสียงดังๆ จะเพิ่มสมาธิ (attention span)ให้แก่พวกเด็กๆด้วย ในที่สุดการอ่านออกเสียงดังๆก็เป็นการค้าขายเพื่อการอ่านนั้นด้วย เมื่อเธออ่านออกเสียงดังๆ เธอกำลังลับการกระตุ้นในการอ่านให้เด็กของคุณอย่างแหลมคม (whet) สัจธรรมก็คือ สิ่งที่ไม่ได้รับการโฆษณาในวัฒนธรรมของเรา ย่อมไม่ได้รับการใส่ใจด้วย และการตระหนักรู้มาก่อนความปรารถนาด้วยเสมอ เด็กที่เคยถูกอ่านออกเสียงดัง มีแนวโน้มว่าจะอ่านได้ด้วยตนเอง เด็กจะทำสิ่งที่พ่อแม่ทำด้วยกันกับเธอ แต่ถ้าเด็กไม่เคยเห็นการหยิบหนังสือขึ้นมาแม้แต่ครั้งเดียว ก็ไม่มีความปรารถนาที่จะอ่านสิ่งนั้นด้วย

ทำไมคุณจึงคิดว่าการอ่านออกเสียงดังๆจึงสำคัญกับเด็กๆที่โตกว่าด้วย?

ผู้คนมักจะกล่าวกับฉันว่า “ลูกฉันเรียนอยู่เกรด 4 แล้ว และเขาก็รู้วิธีการอ่านหนังสือ และทำไมฉันจึงต้องอ่านให้ฟังอีกหละ?” และฉันก็โต้ตอบกลับไปว่า “ ลูกคุณอาจอ่านระดับเกรด 4 แต่เขาฟังในระดับใดกันหละ?

ระดับการอ่านของเด็กจะไม่ตรงกับระดับการฟัง จนกว่าจะถึงเกรด 8 คุณสามารถ และควรจะอ่านหนังสือเกรด 7 ให้กับเด็กเกรด 5 ฟัง พวกเด็กๆต้องตื่นเต้นเกี่ยวกับโครงเรื่อง และความตื่นเต้นอันนี้เป็นแรงบันดาลใจในการอ่านอย่างต่อเนื่อง เด็กเกรด 5 สามารถมีความสุขกับโครงเรื่องที่ซับซ้อนกว่าที่เธอจะอ่านด้วยตนเอง และการอ่านออกเสียงดังๆเป็นเหมือนตัวกระตุ้น (hook) หรือการสร้างบันดาลใจกับเขา

การอ่านออกเสียงดังๆ ทำให้ลูกๆของคุณสามารถต่อสู้ (grapple) กับประเด็นที่ยุ่งยากได้ เช่น คุณสามารถบอกลูกว่า “แม่ไม่อยากจะให้ลูกใช้เวลาอย่างเรื่อยเปื่อยเช่นนี้” นั่นเป็นเหมือนคำบรรยาย (lecture) ที่อาจเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาได้ แต่ถ้าคุณให้อ่านหนังสือเกี่ยวกับเด็กที่เกิดปัญหา โดยการใช้เวลาเรื่อยเปื่อยกับอันธพาล (wrong crowd) แล้วหละก็ ลูกคุณจะมีประสบการณ์แบบนี้โดยตรง นอกจากนี้เธออาจมีมุมมองของเธอเกี่ยวกับประเด็นนี้ และคุณสามารถคุยกับเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยกัน คุณอาจถามคำถามว่า “ลูกคิดว่าเด็กชายทำทางเลือกที่ถูกต้องหรือไม่?” “ลูกคิดว่าเด็กหญิงเป็นเพื่อนของหล่อนหรือไม่” เมื่อคุณพูดเกี่ยวกับหนังสือกับลูก นั่นไม่ใช่คำบรรยาย สิ่งนี้คล้ายๆกับโค้ชที่กำลังดูหนังกับผู้เล่นของเขา วิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องที่ถูกกับเรื่องที่ผิด

หนังสือที่ทำให้ทึ่ง

ครั้งหนึ่งมีบางคนเคยกล่าวไว้ว่า หนังสือทำให้คุณตรวจสอบสถานการณ์ที่ขุ่นมัว โดยไม่ให้สถานการณ์นั้นระเบิดต่อหน้าต่อตาเรา หนังสือทำให้คุณมีการตระหนักรู้ในเรื่องประชาชนที่อยู่นอกเหนือประสบการณ์ของคุณ และพัฒนาความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน (empathy) ตอนฉันกำลังเจริญเติบโต ฉันยังไม่รวย แต่การอ่านหนังสือทำให้ฉันรู้ว่าจะมีเด็กๆอยู่กลุ่มหนึ่งเติบโตมาด้วยการเสียเปรียบหลายประการ ยิ่งใจคุณเปิดมากขึ้นเท่าใด คุณก็ยิ่งเข้าใจและกรุณามากขึ้นเท่านั้น

ข้อได้เปรียบอีกประการหนึ่งของการอ่านออกเสียงดังๆได้แก่ หากคุณไม่ได้เติบโตด้วยการอ่านแล้วหละก็ การอ่านให้ลูกๆของคุณฟัง ย่อมให้โอกาสที่คุณจะเจอเด็กๆที่คุ้นเคย และอ่านหนังสือที่คุณไม่เคยอ่านด้วย ฉันมักจะได้ยินผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อที่กล่าวว่า “ว้าว ฉันไม่เคยอ่าน The Secret Garden ตอนฉันเป็นเด็กเลย ตอนนั้นฉันไม่รู้ว่าได้พลาดอะไรไป”

ฉันก็มีประสบการณ์ด้วยตนเอง ฉันเป็นผู้อ่านที่มักมากตอนเป็นเด็ก ส่วนมากแล้วฉันจะอ่านหนังสือเกี่ยวกับเด็กผู้ชาย เช่น The Call of the Wild และฉันไม่เคยอ่านเรื่องคลาสสิกอย่าง The Secret Garden และ Little Lord Fauntlerory ดังนั้นการที่เด็กๆอ่านเรื่องเหล่านี้ให้ฉันฟังจึงเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่

คุณคิดหรือไม่ว่าพวกครูควรจะอ่านด้วยเสียงอันดังกับเด็กๆ แม้แต่ในโรงเรียนมัธยม?

ใช่แล้ว หากคุณหยุดโฆษณา คุณก็เลิกขาย เด็กๆจำเป็นต้องอ่านที่โรงเรียน แต่นั้นไม่ใช่การโฆษณาเพื่อการอ่าน สื่อสำหรับเด็กๆโดยส่วนใหญ่คือการอ่านในโรงเรียน และไม่มีใครอ่านเพื่อความบันเทิงหรอก และถ้าการอ่านทุกชนิดเป็นการทำงานที่น่าเบื่อแล้วหละก็ กำลังใจในการอ่านของเธอจะลดลง ดังนั้นก่อนเธอจบการศึกษา เธอจะหยุดอ่านไม่ได้เลย ในแง่หนึ่งเธอจะกลายเป็นนักอ่านในเวลาเรียน หากในอีกแง่หนึ่งก็ไม่ใช่การเรียนรู้ชั่วชีวิต แน่นอนว่าเด็กๆต้องมีการอ่านจำนวนมาก และสิ่งนั้นก็น่าเบื่อ แต่เธอคงไม่ต้องการให้เด็กๆลืมหนังสือที่ทำให้พวกเขาหัวเราะ, ร้องไห้, และชูจิตวิญญาณเสียดอกนะ

ครั้งหนึ่งนักเขียนที่ชื่อ Phyllis Theroux เคยกล่าวว่า เด็กๆโรงเรียนมัธยมกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นบทเรียนสำหรับเด็กๆจึงค่อนข้างสำคัญ แต่ในบรรยากาศของการทดสอบ (testing) มีครูเป็นจำนวนน้อยมากๆในการส่งเสริมการอ่านออกเสียงดังๆ และการทำสิ่งดังกล่าวคือการสูญเสีย แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized test) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอันใดกับชีวิตจริง ซึ่งมีความหมายว่าโรงเรียนกำลังหย่าขาดจากความเป็นจริง (reality)

การท้าทายที่ฉันเจออยู่ทุกวันก็ไม่มีอยู่ในแบบทดสอบ เมื่อเธอพบกับวิกฤตในชีวิต หรือคุณเจอกับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ วิธีการที่คุณมีปฏิสัมพันธ์ด้วยก็ขึ้นอยู่กับการเห็นใจ (empathy) และความเมตตา (compassion) เท่านั้น ประสบการณ์ที่เจอกับข้อสอบแบบมีตัวเลือก (multiple-choice test) แน่นอนว่าไม่ได้ช่วยอะไรแต่อย่างใดเลย ดังนั้นครูจึงอยู่แต่ทางเลือก 2 ทาง ก็คือ ทางที่ถูก กับทางที่ถูกบังคับโดยระเบียบ หากประสบการณ์การอ่านของเด็กๆเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ก็ควรบอกให้พวกเขาหยุดการอ่านเสีย แน่นอนว่าครูมีธุระยุ่ง และต้องจัดทำสื่อประเภทต่างๆไว้ให้ครบ แต่หากพวกครูใช้เวลาคนละ 5 นาทีในการอ่านเพื่อความเพลิดเพลินแล้วหละก็ เวลาจำนวน 5 นาทีทำให้เด็กๆจำสิ่งต่างๆได้มากมาย

คุณรู้สึกรบกวนใจหรือไม่ หากเห็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์เหล่านั้นมีผลกับการอ่าน?

หน้าจอเป็นยาเสพติด เธอเพียงแค่กด แล้วความอัศจรรย์ก็บังเกิด แล้วอะไรที่จะดีกว่านั้นเล่า? ดังนั้นมันเป็นการง่ายที่เด็กๆจะถูกกระตุ้นโดยหน้าจอ

พ่อแม่ควรจะสร้างข้อจำกัดให้ลูกๆ เพราะว่าเด็กๆจะไม่รู้ขีดจำกัดของตนเอง ในครอบครัวหลายแห่ง พ่อกำลังเล่นเกม แต่แม่กำลังอยู่ในการช้อปปิ้งออนไลน์ และเด็กๆก็กำลังนั่งอยู่กับหน้าจอ ก่อนที่พ่อแม่จะรู้เรื่อง เด็กๆก็ขาดการอ่านไปหลายปีแล้ว คุณค่าทางสติปัญญาของครอบครัวจะไหลต่ำลงๆ เด็กผู้ชายโดยมากแล้วจะเล่นวิดีโอเกม แต่เด็กผู้หญิงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปในการเล่นเฟซบุ๊ค, การส่งข้อความ (instant messaging), และการพิมพ์ในมือถือ (texting) มากกว่าที่ผู้ชายทำ วัยรุ่นโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 90 นาทีต่อวันในการส่งข้อความ นั่นเป็นค่าเฉลี่ย ซึ่งหมายความว่าเด็กๆจำนวนมากน่าจะทำมากกว่านี้

รุ่นที่ถูกทำให้เขว

พวกเราอยู่ในโลกหรือยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปรไปเร็วมากจนเราตามไม่ทัน ทุกวันนี้โรงเรียนประจำอำเภอกำลังหันไปหาแท็ปเล็ต (electronic tablet) นักเรียนสามารถอ่านสังคมศึกษาได้ในไอแพด (iPad) หรือไม่ก็กด hyperlink เพื่อที่จะชมภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ได้ (the Great Depression)

นั่นเป็นข่าวดี แต่ข่าวไม่ดีก็คือไม่มีหลักฐานที่เราจำสิ่งต่างๆได้ดีโดยการอ่านจากหน้าจอมากกว่าการอ่านในหนังสือ ประเด็นก็คือผู้คนจะอยู่ที่หน้าจออยู่ตลอดเวลา พวกเรากำลังสร้างรุ่นที่ไขว้เขว (distracted generation)ในประวัติศาสตร์ของโลก เทคโนโลยีสามารถย่นพื้นที่, น้ำหนัก, และเวลาได้ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้ทำให้จิตใจของเด็กได้รับความเจริญแต่อย่างใดเลย กล่าวให้ง่ายก็คือ หากผู้คนจะใช้เวลาต่อหน้าจอมากกว่าเวลาที่จะอ่านหนังสือ ดังนั้นพ่อแม่ควรจะแสดงบทบาทที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งทั้งหมดก็อยู่ที่พ่อแม่สร้างขีดจำกัด และยั่วยวนให้เด็กๆอ่านหนังสือมากกว่าการทำอย่างอื่นๆ

แปลและเรียบเรียงจาก

Connie Matthiessen. The hidden benefits of reading aloud — even for older kids. http://www.greatschools.org/gk/articles/read-aloud-to-children/

หมายเลขบันทึก: 608139เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2016 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2016 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วิธีอ่านหนังสือ โดยการออกเสียงดังของเด็ก เป็นวิธีการที่น่าสนใจคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท