​โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นิสิตผู้ช่วยอาจารย์ (Lecturer Assistant : LA) และถอดบทเรียนการขับเคลื่อนคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (2)


กิจกรรมช่วงบ่าย

หลังจากพักรับประทานอาหารกลางวันกันเสร็จ ช่วงบ่ายเราเริ่มกิจกรรมโดยกิจกรรมนั้นมีชื่อว่า
ผ่อนพักตระหนักรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการทางจิตปัญญาที่ผมเชื่อแน่ว่าหลาย ๆ คนคงชอบกิจกรรมนี้แน่นอนเพราะผมก็ตกหลุมรักกิจกรรมนี้อย่างมากมาย กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้ทุกคนได้นอนพักอย่างมีสติ และตระหนักรู้ถึงสภาวะจิตของตนเอง พร้อมทั้งเป็นเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้ในช่วงบ่ายต่อไป

กระบวนการของกิจกรรมนี้ กระบวนกรจะให้ผู้เข้าร่วมนั้งเป็นสองแถว เวลานอนหันหัวเข้าหากัน และนอนในถ้าทางสบายวางตัวให้สบายดีที่สุด กระบวนกรจะเป็นคนนำในการภาวะนา ให้เรามีสติ การรับรู้ของการมีอยู่ของอวัยวะต่างของร่างกาย การให้ร้างกายได้ผ่อนคลาย การส่งผ่านความรู้สึกที่ดีไปยังอวัยวะ
ต่าง ๆ ของร่างกาย กิจกรรมนี้เราจะทำอย่างน้อย 15 – 30 นาที ถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่พอดีมาก ๆ สำหรับการเตรียมความพร้อมของร่างกายและสมอง หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการนี้แล้วเรามีกิจกรรม
สันทนาการกันอีกเพื่อเป็นการกระตุ้นระบบประสาทกันเล็กๆ น้อยๆ เช่น กิจจกรรม 18 ท่าอรหัน
จับอะไรดีนะ ลมเพ ลมพัด “ กิจกรรมคนชนคน ไหล่ชนไหล่ นิ้วชนนิ้ว เข่าชนเขา ” และกิจกรรมเลขอันตราย ซึ่งผมจะขออธิบายการเล่นกิจกรรมนี้ แค่ 2 กิจจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผมมองว่าเป็นกิจกรรมที่เด่นและสอดแทรกประเด็นการเรียนรู้บ้างอย่างด้วย


กิจกรรมคนชนคน ไหล่ชนไหล่ นิ้วชนนิ้ว เข่าชนเขา

การเล่นกิจกรรมนี้จะให้จับคู่กัน กระบวนกรจะมีคำสั่งและข้อกำหนดกฎกติการ คือ คำสั่งที่ต่างกัน ให้ไปทำกับคนใหม่ห้ามซ้ำกัน แล้วคำสั่งเดิมให้กับมาทำกับคู่เดิม เช่น

คำสั่ง

  • คนชนคน ให้หันหลังชนกับคู่ตัวเอง
  • ไหล่ชนไหล ให้เปลี่ยนไปคู่ใหม่
  • นิ้วชนนิ้ว ให้เปลี่ยนคู่ใหม่
  • เข่าชนเข่า ให้เปลี่นคู่ใหม่


แล้วถ้าคำสั่งเป็นคำสั่งเดิมก็กลับไปจับคู่เดิมอีกครั้งหนึ่ง และกระบวรกรก็สามารถใส่คำสั่งเพิมได้อีก คำสั่งยิ่งเยอะยิ่งสนุก

ข้อคิดจากกิจกรรมนี้

  • เป็นฝึกการฟัง เพราะคนยิ่งเยอะเสียงพูดคุย เสียงหัวเราะยิ่งดัง
  • ฝึกสติ
  • ฝึกการจดจำ
  • การสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่
  • ฝึกสติ
  • ฝึกการวางแผน
  • เป็นฝึกการฟัง
  • ฝึกการจดจำ
  • การสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่

กิจกรรมเลขอันตราย

การเล่นกิจกรรมนี้สามารถเล่นได้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ถ้าอยากให้สนุกต้อง 5 – 6 คน จะสนุกมาก ๆ กติกาการเล่นกระบวนกรจะกำหนดตัวเลขอันตรายขึ้นมาตัวหนึ่ง แต่ละคนสามารถนับต่อเลขต่อกันได้ไม่เกินสามหลัก เช่น คนที่หนึ่งนับ 1 2 3 คนที่สองนับ 4 5 คนที่สามนับอาจะนับ 6 แค่ตัวเดียวหรือ 6 7 8 ต่อก็ได้ แต่ไม่เกิน 3 หลัก คนที่หนึ่งก็ นับต่อ จนถึงตัวเลขอันตรายที่กระบวนกรกำหนด และคนที่นับเลขจำนวนที่ตรงกับตัวเลขที่วิทยากรกำหนดให้เป็นตัวเลขอันตรายจะโดนทำโทษ

ข้อคิดจากกิจกรรมนี้

หลังจากที่เราเรากิจกรรมสันทนาการกันจนจบกระบวนการแล้วเราก็เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในรอบบ่าย และกิจกรรมนี้ชื่อกิจกรรม “ไม่มองไม่ยก” เป็นกิจกรรมที่ทางกระบวนกรจะชวนทุกคุยมาพูดกันถึงสภาวะทางจิตใจที่ผนวกกับการทำงานทั้งที่ผ่านมาแล้ว ในปัจจุบันและในอนาคต ว่าส่งผลกับเราเช่นไร


กิจกรรมไม่มองไม่ยก

กิจกรรมนี้กระบวนกรกำหนดให้จับคู่กัน

อุปกรณ์ กระดาษ 1 แผ่น ปากกา หรือ ดินสอก็ได้ 1 ด้าม

กติกา

  • ให้มองหน้าเพื่อนที่คู่กัน แล้ววาดรูปหน้าเพื่อนโดยไม่ให้มองกระดาษ
  • ในการวาดรูป ห้ามยกปากกาจนกว่าจะวาดรูปของเพื่อนจนเสร็จ
  • สลับกันวาดรูปคนละ 1 ครั้ง
  • หากมองกระดาษ หรือยกปากกาให้หยุดวาดรูปทั้นที

กิจกรรมนี้กระบวนกรดึงเข้าสู่กระบวนการถอดบทเรียนในเรื่องของกระบวนการทำงาน ทั้งงานกิจกรรม งานอื่น ๆ ที่ทุกคนเคยทำผ่านมาแล้วและโยงไปถึงงานในอนาคต


ข้อคิดของกิจกรรมนี้

  • การวางแผนการทำงาน เมื่อเราเปรียบเทียบกระบวนการวาดภาพเหมื่อนการทำงานที่เราจะต้องมีแผนงาน ก่อนที่เราจะวาดรูปหน้าเพื่อน เราเกิดกระบวนทางความคิดในด้านการว่างแผน เช่น เราจะเริมวาดจากจุดไหนก่อน แล้วไปยังจุดต่อไปจนจบกระบวนการ ซึ่งเปรียบเสมื่อนกระบวนการทำงานที่เราต้องมีการว่างแผนกันเป็นขั้นเป็นตอน
  • ชีวิต เปรียบเหมื่อนเส้นที่เราวาด เพราะมีจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุด และในบ้างครั้งเส้นที่วาดก็ไม่สมบูรณ์เหมื่อนชีวิตบ้างครั้งบางคราวก็ต้องเจอปัญหาอุปสรรคเป็นต้น
  • ความวิตกกังวล สิ่งนี้เกิดขึ้นกับทุกคน เพราะข้อกำหนดที่กระบวนกำหนดให้นั้นทุกคนไม่เคยทำมาก่อนและรู้สึกกังวนว่าจะทำออกมาไม่ได้ดีตามที่ตัวเองคาดหวังไว้ ซึ่งหากมองไปถึงกระบวนการทำงาน หรือกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ตนเองไม่เคยทำและตั้งเป้าหมายไว้มาก แต่ผลงานที่ทำออกมานั้นไม่เป็นไปตามหมายนั้นเราจะมีกระบวนการที่ยอมรับผลที่เกิดขึ้นอย่างไร หรือมีภูมิคุ้มกันกับเรื่อง ๆ มากน้อยแค่ไหน
  • ความถ้าทาย นี้เป็นอีกความรู้สึกหนึ่งมีเสียงสะท้อน เพราะสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนกับสิ่งที่ถ้าทายความสามารถของเรา ผลที่ได้นั้นเป็นตัววัดสักยภาพของตนเอง

หมายเลขบันทึก: 608132เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2016 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2016 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ใช่เลยครับ .... นี่แหละบันทึกที่เราต้องการ ... ขอนำไปเผยแพร่นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท