คุณค่าความเครียด...ปลุกจิตปราณีต


ขอบพระคุณกรณีศึกษาที่เปิดใจและยอมรับ "ภาวะซึมเศร้า" สู่ "ภาวะพยายามชนะทุกปัญหา" และยินดีที่กรณีศึกษาอนุญาตให้เป็นบทเรียนสร้างแรงบันดาลใจให้กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับผม

กรณีศึกษาน้ำตาไหล สีหน้าเศร้า เล่าให้ฟังว่า "รู้ตัวผลกระทบจากความเครียดสะสมตั้งแต่ก.พ. 59 จนได้รับการวินิจฉัยและได้รับยาต้านโรคซึมเศร้าเดือนมี.ค.จนได้รับการปรับระดับยาคงที่แต่ส่งผลให้คิดเขียนช้าลงตั้งแต่เม.ย. เป็นต้นมา...รู้สึกไม่เคยให้อภัยตัวเอง รู้สึกผิดที่ทำให้พ่อแม่ต้องมาดูแลความเจ็บป่วยของตนเอง"

แบบฝึกหัดหนึ่ง - กิจกรรมบำบัด: Therapeutic Use of Self Assessment, Progressive Muscle Relaxation with Deep & Long Breathing

คะแนนความจดจ่อรับรู้สึกนิ่งในตนเอง ก่อนทำ 4/10 หลังทำ 5/10 ยังคงมีความตึงบริเวณคิ้วด้วยความรู้สึกกลัวและเศร้า

แบบฝึกหัดสอง - การสั่งจิตใต้สำนึก: Neuro-Linguistic Programming (NLP) with Emotional Freedom Tapping (EFT)

เน้นเคาะอารมณ์เปิดใจ เคลียร์ใจ และคลายใจ เน้นบริเวณใบหน้า รอบดวงตา และกลางหน้าอก พร้อมพูดว่า "แม้ว่าเราจะกล้ว แม้ว่าเราจะเศร้า เราจะรักตัวเองให้มากๆ"

คะแนนความจดจ่อรับรู้สึกนิ่งในตนเองเท่าเดิม 5/10 คะแนนความกลัว ก่อนทำ 5-6/10 หลังทำ 4-5/10 คะแนนความเศร้า ก่อนทำ 7-8/10 หลังทำ 7-8/10

แบบฝึกหัดสาม - กิจกรรมบำบัดกับกระบวนการละคร: ฺSensorimotor integration & Let Body's Talk ศึกษาเพิ่มเติมการจัดการความเศร้า และการจัดการโรคซึมเศร้า [Acknowledgement of Citation at YOUTUBE.COM]

คะแนนความจดจ่อรับรู้สึกนิ่งในตนเองเท่าเดิม 5-6/10 คะแนนความกลัวลดลง 3-4/10 คะแนนความเศร้าลดลง 5-6/10

แบบฝึกหัดสี่ - การสั่งจิตใต้สำนึก: NLP Reimprinting, Chunk Size, State Management, Anchoring, & Logical Levels of Change

ฐานเวลาปัจจุบัน "ท้อแท้ อยากนอน ลำบากมากที่จะปลุกตัวเองให้ตื่นมาพร้อมต่อการทำงาน ยอมรับว่ามีความคิดช้าเป็นธรรมดาจากโรคซึมเศร้าและยา 5-6/10 มีความกลัว 4/10 ว่าจะเจอเคสยากในห้องตรวจ ถ้ามีเคสยากจะทำยังงัย และจริงๆ พี่เอ็นดูถามได้แต่กลัวเกรงพี่เหนื่อยรำคาญ

ฐานถอยหลังกลับไปในอดีตที่มีความกลัวสุดๆ

เหตุการณ์แรก "ภาพขาวดำ เห็นตัวเองต้นเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา ในห้องพัก Intern ไม่รู้ว่าอจ.จะให้เราลาออกหรือไม่ หลังจากทราบว่าเราป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กลัวสับสนกับอนาคตร้องไห้ตลอด ไม่มีสมาธิขณะ Round Ward ดูคนไข้" เมื่อนึกถึงและปรับจิตใต้สำนึกให้รับฟังอย่างจดจ่อปล่อยวาง โดยให้คุณแม่อยู่ในเหตุการณ์อดีตทางซ้ายมือ [ผมปรับกระบวนการให้คุณแม่เข้ามาอยู่ด้วยโดยตรงแล้วปรับภาวะอารมณ์ของคุณแม่สัก 5 นาที ด้วย Silent Talking Telepathy ก่อนที่จะพูดออกมาแบบใช้ Empathy Expression Skills ว่า "ไม่ต้องกลัว จบจากรร.แพทย์ที่มีชื่อเสียง เราทำดีที่สุดแล้ว คนไข้ถ้าไม่หาย ก็มีอายุขัยตามธรรมชาติ มีเคสยากก็ Consult รุ่นพี่หมอได้" จากนั้นให้กรณีศึกษาปรับสภาวะอารมณ์ให้นิ่ง ทบทวนคำพูดของคุณแม่ กำมือขวาขึ้น แล้วพูดด้วยประโยคที่สร้างกำลังใจให้ตนเองสามรอบ "เราทำดีที่สุดแล้ว"

คะแนนความกลัวลดลง 3/10 คะแนนความเศร้าลดลง 4-5/10

จากนั้นก็ให้กรณีศึกษาสวมร่างเป็นอจ.ผู้ที่จริงใจและสอนกรณีศึกษาตั้งแต่ ป.6 และพูดให้บทเรียนว่า "ต้องรู้จักปล่อยวาง ใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้น เป็นไปตามธรรมชาติ เค้าเป็นคนคิดมาก มีอะไรก็ปรึกษาพี่ อาการซึมเศร้าจะดีขึ้น อย่ากดดันตัวเอง ปล่อยวางบ้าง ถ้าแก้ไขระบบสุขภาพได้ ก็คงแก้ไขไปได้นานแล้ว จงปรับตัวกับระบบต่างๆ ถ้าใครใช้ชีวิตมีสุข ใช้ชีวิตอยู่กับซึมเศร้าให้ได้ ปรับตัวปรับทัศนคติ"

จากนั้นให้กรณีศึกษาเดินถอยหลังไปถึงอีกเหตุการณ์ที่เศร้าที่สุด และให้แยกร่างออกมาเป็นตัวเองในปัจจุบันพูดให้บทเรียนตัวเองในอดีตสมัย Intern 40 ชม. ไม่ได้นอน ว่า "ร่างกายบอกว่าพักเถอะ ทำตัวให้พร้อมรับมือ [หายใจยาวๆ] ตรวจคนไข้สบายใจ บอกคนไข้เท่าที่ทำได้ ไม่กดดันตัวเอง ไม่ต้องโทษตัวเอง ใช้ประสบการณ์ เราต้องดูแลใจตัวเอง ไม่ต้องกลัว ค่อยๆทำไป จำไม่ได้ก็ต้องหาเวลาวิ่งผ่อนคลาย"

แล้วย้อนเดินถอยหลังไปสมัยเป็นนศ.แพทย์ปี 3 พูดว่า "ขณะสอบขึ้น Ward ร้องไห้เงียบๆคนเดียว สมาธิไม่ดี อ่านหนังสือมากกว่าเพื่อน เสียใจเพราะไม่ค่อยมีอะไรในหัว กลัวจะสอบตก แต่ก็สอบผ่าน พยายามอ่านอย่างกดดัน รู้สึกดีใจ เหนื่อย พยายามกดดันตัวเองจนสำเร็จ กดดันตัวเองตั้งแต่เด็ก ป. 6 เพราะสมาธิสั้น วิตกกังวล จบหมอมาได้ กดดันตัวเอง เครียดสะสม ทุกปัญหา เอาชนะได้ด้วยความพยายาม ทำทุกอย่างให้ดีที่สุด"

คะแนนความจดจ่อรับรู้สึกนิ่งในตนเองสูงขึ้น 7/10 คะแนนความกลัวคงที่ 3-4/10 คะแนนความเศร้าลดลง 4-5/10

จากนั้นให้กรณีศึกษาเดินกลับมาในฐานปัจจุบัน [มีสีหน้าสดใสขึ้น ยิ้มมากขึ้น และสามารถปรับท่าทางการยืนโดยลดการเอียงศรีษะไปทางขวา แล้วสามารถผ่อนคลายดวงตาจนกระพริบถี่น้อยลง หายใจช่วงอกลึกไปสู่ท้อง รู้จักหายใจเป่าลมทางปากยาวขึ้น กล้ามเนื้อคอ-บ่า-ไหล่ผ่อนคลายขึ้น เคสปรับท่าทางด้วยตนเองได้ดีขึ้น]

ต่อด้วยการก้าวไปในฐานอนาคตด้วยการเดินไปกลับปรับฐานคิดสู่ฐานใจและจิตวิญญาณ ส่งผลให้กรณีศึกษาค้นพบพลังงานความเข้มแข็งของกาย-จิตสังคมที่พร้อมต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต พลังงานความสนุกสนานที่กำลังจะเติมเต็มหัวใจให้รู้จักยิ้ม ชื่นชม และดูแลตนเองอย่างผ่อนคลายและปล่อยวาง และพลังงานความเมตตาที่เต็มเปี่ยมด้วยอุดมการณ์การทำความดี การสร้างคุณค่าแห่งชีวิต และการใช้ชีวิตอย่างมีความหมายบนโลกใบนี้ ลองติดตามอ่านดูคำพูดที่มีพลังงานข้างต้น ตามลำดับด้วยความรู้สึกที่ผมเองก็ประทับใจมากครับ

ก้าวแรกสิ่งแวดล้อม: ภาพวันพรุ่งนี้ เราอยู่กับรุ่นพี่ ตรวจคนไข้ ยิ้มแย้มดี สีหน้าสุขใจมาก

ก้าวสองพฤติกรรม: ทบทวนความรู้ในการตรวจคนไข้ว่ามาด้วยอาการอะไร อยู่ในกลุ่มภาวะโรคใด และมีอะไรที่ไม่ตรงไปตรงมา

ก้าวสามศักยภาพ: มั่นใจที่จบหมอ 6 ปี ไม่เคยสอบตก เป็นหมอตรวจคนไข้ด้วยความใส่ใจ ทำให้เต็มที่ ถ้าไม่รู้ก็ส่งต่อคนที่รู้มากกว่า จริงใจดูแลความรู้สึกตัวเองแล้วบอกคนไข้ที่คุกคามเรามากเกินไปว่า "เราทำดีที่สุดแล้ว"

ก้าวสี่คุณค่าแห่งตน: จับเสียงหัวใจ เราเกิดมาดูแลตนเอง สร้างความดีไม่มากก็น้อย คุณค่าของเราคืออดทนพยายาม

ก้าวห้ารู้จักตนเอง: เราเกิดมาเพื่อใช้วิชาชีพหมอที่ดี ใช้ใจดูแลตัวเองคุณพ่อคุณแม่ มีพลังกำลังใจต่อสู้กับโรค จะฟื้นโรค เราต้องตื่นมานะ ไปทำให้ตัวเองมีคุณค่า

ก้าวหกจิตวิญญาณ: เราจะทำความดีเพื่อตนเองและผู้อื่น

ก้าวกลับมารู้จักตนเอง: อยากรักษาคนไข้ด้วยอุดมการณ์สูงจนคิดมาก กดดันตัวเองจนเจ็บปวดมากเกินไป ตอนนี้เรียนรู้ให้ดูแลตนเอง

ก้าวกลับมาเห็นคุณค่าแห่งตน: ยอมรับรักตัวเรา ภูมิใจจบหมอได้ มองเห็นอดทนพยายาม มีแค่นี้ดีกว่า มีคุณค่ามากขึ้น

ก้าวกลับมาเห็นศักยภาพ: เราจะทำความดีเพื่อตนเองและผู้อื่น ความเชื่อเกิดมาสร้างความดีให้แผ่นดิน ไม่ทำให้คนอื่นเครียด

ก้าวกลับมาเห็นพฤติกรรม: คุณค่าของเรา ทุกความพยายามจะทำให้เราสำเร็จด้วยหยาดเหงื่อและความยากลำบาก ทุ่มเทกับคนไข้ ดูแลตนเอง อย่าทำลายตัวเอง ไม่ต้องคาดหวังสูง ปรับตัวอยู่กับโรคซึมเศร้าให้ได้

ก้าวกลับมาเห็นสิ่งแวดล้อม: ใช้ความอดทนพยายามปรับตัวเข้ากับระบบสถานการณ์ที่ไม่พร้อม ถามรุ่นพี่ได้เสมอถ้าเคสยาก

คะแนนความจดจ่อรับรู้สึกนิ่งในตนเองสูงขึ้น 7/10 คะแนนความกลัวลดลง 3/10 คะแนนความเศร้าลดลง 3-4/10

หมายเลขบันทึก: 608117เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2016 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2016 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท