"งานบริการวิสัญญี รพ.ศรีนครินทร์ มข.ขอนแก่น"


การจะหาโอกาสพัฒนางานที่ตนทำประจำอยู่ทุกวันให้ดีขึ้น คงหนีไม่พ้นการต้องทบทวนและวิเคราะห์ตนเองเพื่อหาจุดอ่อน แล้วจัดการกำจัดจุดอ่อน

           การหาโอกาสพัฒนางานที่ตนทำประจำอยู่ทุกวันให้ดีขึ้น คงหนีไม่พ้นการต้องหมั่นทบทวนและวิเคราะห์ตนเองเพื่อหาจุดอ่อน แล้วจัดการกำจัดจุดอ่อน

          งานบริการวิสัญญี รพ.ศรีนครินทร์ มข.ขอนแก่นก็เช่นเดียวกัน ทีมพัฒนาคุณภาพได้ช่วยกันวิเคราะห์ตนเองแล้วนำมาหาโอกาสพัฒนา ซึ่งผู้เขียนคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับทีมวิสัญญีอื่นๆบ้างจึงนำมาเสนอ ดังนี้

กระบวนการหลักงาน บริการวิสัญญี รพ.ศรีนครินทร์

1. การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วย

กระบวนการที่ 1. การดูแลและประเมินก่อนการระงับความรู้สึก เพื่อประเมินความพร้อมและปัญหาของผู้ป่วยอย่างครบถ้วน

  • 1.1 ตรวจสอบตารางผ่าตัด
  • 1.2 ตรวจเยี่ยมและประเมินผู้ป่วย(Pre-op visit)โดย

 - เยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด elective ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน

 - ซักประวัติความเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน

- การตรวจร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะการประเมินทางเดินหายใจ

  • 1.3 การให้ข้อมูล (informed consent)

2. เตรียมความพร้อมของเครื่องมือ,อุปกรณ์

กระบวนการที่ 2. การวางแผนการดูแลเพื่อการวางแผนการให้บริการวิสัญญีให้เหมาะสมสำหรับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย

  • 2.1 เตรียมรถยา
  • 2.2 เตรียมอุปกรณ์ดมยาสลบอื่น ๆ
  • 2.3 ตรวจสอบ Anesthetic Machine
  • 2.4 ตรวจสอบเครื่องมือเฝ้าระวังต่าง ๆ

3. การระงับความรู้สึก

กระบวนการที่ 3. การติดตามประเมินสภาวะผู้ป่วยระหว่างระงับความรู้สึก เพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นและดูการตอบสนองต่อการระงับความรู้สึกอย่างเหมาะสมกับประเภทของการระงับความรู้สึกและผู้ป่วยแต่ละราย

  • 3.1 General Anesthesia (GA)
  • 3.2 MAC
  • 3.3 Regional Anesthesia (RA)
  • 3.4 Combine GA and RA

4. ดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น (PACU)

กระบวนการที่ 4. การดูแลระยะพักฟื้นก่อนส่งตัวกลับหอผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความต่อเนื่องในการดูแล โดยมีแนวทางปฏิบัติในห้องพักฟื้นที่ประกอบด้วยการดูแลรักษาในระยะหลังผ่าตัดภายใต้มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น

  • 4.1 ประเมินสภาพแรกรับ
  • 4.2 พิจารณาให้ O2
  • 4.3 ประเมิน PARS
  • 4.4 บันทึกอาการ
  • 4.5 ประเมินความปวดหลังผ่าตัดทุกราย ตลอดจนดูแลระงับปวดที่เหมาะสมในแต่ละราย
  • 4.6 ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหลังผ่าตัดตลอดจนป้องกันและแก้ไขเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนออกจากห้องพักฟื้น

5. นำส่งผู้ป่วยที่หอผู้ป่วย

กระบวนการที่ 5. การให้ข้อมูลเพิ่มเติม/ซ้ำ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดกับผู้ป่วย และให้ทราบการดูแลตนเอง / ให้ญาติทราบข้อมูลการดูแลผู้ป่วย กรณี Admitted case

  • 5.1 นำผู้ป่วยที่ไม่มีปัญหาไปห้องรับ-ส่ง ผ่าตัด
  • 5.2 กรณีผู้ป่วยมีปัญหาให้วิสัญญีพยาบาลหรือ พชท/พจบ นำส่งผู้ป่วย
  • 5.3 ติดเครื่องเฝ้าระวังกรณีผู้ป่วยหนัก
  • 5.4 เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อเปลี่ยนเตียง กรณีจำหน่ายผู้ป่วยนอกกลับบ้าน
  • 5.5 ปฏิบัติตามแนวทางการจำหน่ายผู้ป่วยนอก(PADS)

 6. ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยหลัง ผ่าตัด 24 ชม.

กระบวนการที่ 6. การดูแลต่อเนื่อง / การวางแผนจำหน่าย เพื่อการป้องกันความเสี่ยงหรืออันตรายระหว่างการเคลื่อนย้าย และขาดความต่อเนื่องในการดูแล

กระบวนการที่ 7. การติดตามเยี่ยมภายใน 24 ชม.หลังผ่าตัด เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นและรับเสียงสะท้อนจากผู้ป่วย โดย

  • 7.1 ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยหลังการระงับความรู้สึก ภายใน 24 ชม.ทุกราย(ยกเว้น OPD case)
  • 7.2 บันทึกผลการตรวจเยี่ยม - ถ้าพบภาวะแทรกซ้อนประสานงานดำเนินการต่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่อง
  • 7.3 มีการให้บริการ Acute Pain Service ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดบางราย

 

     หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงเกิดประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ ในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยทางวิสัญญี เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 60747เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • แวะมาอ่านและให้กำลังใจครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • ขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

 

  • ชื่นชมพี่ติ๋วมากค่ะ ที่อุทิศทั้งแรงกายและแรงใจสำหรับงานพัฒนาคุณภาพ
  • สักวัน.........คงได้ร่วมงานกันกันแบบร่วมหัวจมท้ายอีกนะคะ
  • ตื้นตันใจมากจนคุยไม่ออกเลยค่ะ

 

คุณ พุ่มพวงคะ

  • ที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้..เพราะคุณพุ่มพวงเองก็มีส่วนเป็นอย่างมาก..ที่ทำคุณภาพมาด้วยกัน..พากันเดิน..ล้มลุกคลุกคลานมาด้วยกัน...พี่ไม่เคยลืมความลำบากที่ทำมาด้วยกัน..
  • ไม่นานนี้..ฟ้าคงจะใส..คอยวันนั้นสำหรับพวกเราค่ะ(หมดพายุฝนแล้ว..หนาวมาถึง..เราจะได้กอดกัน)
  • ได้ฟังในวิทยุ  เขาบอกว่า......ล้มลุกคลุกคลานไปข้างหน้า  ดีกว่าเต๊ะท่าอยู่กับที่
  • ฟังดูเข้าท่า  เราจะฟันฝ่าต่อไปเนาะพี่เนาะ

 

แน่นอนค่ะ..พุ่มพวง..

  • ดูภายนอกเหมือนเราจะหยุด...แต่พี่เชื่อว่าพวกเราเป็นคนคุณภาพอยู่แล้ว..
  • อุปสรรคใดๆก็หยุดเราไม่ได้..อย่างเก่งก็ทำให้เราเดินช้าลงหน่อยก็เท่านั้นเอง...เนาะน้องเนาะ

คุณพุ่มพวง..คนคิดสร้างสรรค์...

  • ตื่น(จากฝัน)หรือยังคะ
  • มาคุยกันเถอะ
พุ่มพวง กิ่งสังวาล
-ตื่นจากฝันตั้งนานแล้วค่ะ เพราะต้องต้มมาม่าให้เฮียค่ะ ฮิ ฮิ...พี่ติ๋วเตยตัมรึเปล่า...... -มีเรื่องพาดพิง ถึงคนเก่งอย่างพี่ติ๋ว ในเรื่อง wrap ค่ะ
  • เฮียพี่..ไม่นิยมมาม่ากลางดึกซักเท่าไหร่ค่ะ...เชิญน้องพุ่มตามสบายค่ะ...จะเพื่อพี่ซักชามก็ดีค่ะ
  • ใครพาด - พิง ถึงหนอ..ต้องคามไปดูซักหน่อย...

 

ศิษย์เก่า พี่ติ๋ว

ชื่นชมอาจารย์และพี่ๆทุกท่านมากคะ และเป็นกำลังใจให้เสมอ อยากกลับไปเป็นน้องๆนักเรียนของภาควิชาอีกครั้ง คิดถึงมาก.... !!! เมื่อไหร่จะมีการอบรมฟื้นฟูวิชาการของภาควิชาอีก รบกวนส่งข่าวด่วนนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณ"ศิษย์เก่า พี่ติ๋ว"

  • แวะมาให้กำลังใจกันแบบนี้...รักตายเลย....
  • ดีใจค่ะที่น้องๆไม่ลืมพี่ๆ.....
  • การจัดอบรมฟื้นฟูวิชาการของภาคฯจะจัดในเดือนมีนาคม 2552 ค่ะ....อยู่ระหว่างเตรียมการเรื่อง Themeงานค่ะ....เตรียมตัวเตรียมใจมาพบเพื่อนได้เลยนะคะ....
  • แล้วพบกันค่ะ

พยาบาลที่มีประสบการณ์น้อยแต่อายุงานมากแล้วแต่ถูกย้ายมาอยู่RR ต้องไปอบรมการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหรือไม่

โดยกติกาไม่มีปรากฎนะคะ...

ที่สำคัญอยู่ที่ว่าโรงพยาบาลที่เราอยู่นั้นกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดเป็นประเภทใด หากเป็นการผ่าตัดง่ายๆเช่น Appendectomy หรือ Excisionง่ายๆ คงไม่จำเป็นต้องอบรมแต่หากเป็นการผ่าตัดที่ผู้ป่วยต้องอยู่ในภาวะวิกฤติก็จำเป็นต้องเรียนรู้หรือได้รับการอบรมเพิ่มเติมค่ะแต่จะถึงขนาดต้องเข้าคอร์สหรือไม่นั้น คงต้องพิจารณาตามบริบทของรพ.ของตนดังกล่าวมาแล้วค่ะ

โชคดีนะคะ

อรนุช คลังบุญครอง รพ.กาฬสินธุ์

- ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

- ไม่ทราบว่าพี่ติ๋วอ่านข้อมูลงานวิจัยที่อ้อยส่งให้พี่แล้วหรือยังค่ะ มีข้อแนะนำให้น้องหรือเปล่า คะ

- ยินดีกับAPN ที่พี่ได้รับนะคะ

อ้อยส่งเมื่อไหร่คะ...นานหรือยัง?

ถ้าเรื่องของอ้อยเป็นเรื่องเดียวกับที่ให้คุณลักษณาวดีช่วยดูด้วยอีกคน และนานเป็นเดือนๆแล้วละก้อ... ถ้าจำไม่ผิด...รู้สึกว่ามันได้ข้อสรุปไปนานแล้วนี่นา

...ช่วยตอบพี่ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท