๓๙๖. ไม่พร้อม หรือ..ไม่พอ..กันแน่


ถ้าเป็นโรงเรียนประชารัฐ..และกล้าพอก็อาจไปขอพึ่งพาจากภาคเอกชนในชุมชน สังคม แต่มันก็ยากครับ วิธีการที่ดีและง่ายที่สุด..คือเรียกเก็บ..จากผู้ปกครอง ลองคิดดูนะครับ กว่าจะจบ ป.๖ ผู้ ปกครองต้องยอมจ่ายเท่าไหร่..และก็คงช้ำใจกับ...นโยบายเรียนฟรี

ผมมักจะตั้งคำถามอยู่เสมอ..ว่าการศึกษาบ้านเรา มันไม่พร้อมหรือไม่พอกันแน่..ใครทราบช่วยบอกที อย่างเช่น ข่าวที่เกิดขึ้นวันนี้..นักเรียนหญิงชั้น ม.๑ ร่ำไห้ในชั้นเรียน..หลังจากที่สอบเรียนต่อได้ แต่ทำท่าจะไม่ได้เรียน เพราะหลักฐานใม่ครบ..เพราะ.....

กลับไปขอ ปพ.๑ ที่แสดงผลการเรียนว่าจบ ป.๖ ที่โรงเรียนเดิม..ที่เรียนจบมา ซึ่งเป็นโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด..เพื่อนำมาให้กับครูโรงเรียนมัธยม..

ปรากฏว่า โรงเรียนไม่ออกให้..นักเรียนและผู้ปกครองบอกว่า..เนื่องจาก..ไม่ได้เสียค่าเทอมให้โรงเรียน..ผู้สื่อข่าวที่สัมภาษณ์ก็ใช้คำนี้..(ค่าเทอม) ผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือก็คิดว่าเป็นค่าเทอมจริงๆ

แท้จริง..จะด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ คงไม่ใช่ค่าเทอมอย่างแน่นอน..เนื่องจากโรงเรียนของรัฐ สังกัด สพฐ. ไม่ว่าจะเป็นอนุบาลจังหวัดหรืออำเภอก็ตาม..อยู่ภายใต้นโยบายเรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย(เรียนฟรี)มานานแล้ว

ไม่ต้องเสียค่าเทอม..ไม่ต้องเสียค่าเสื้อผ้า ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียนและไม่เสียค่าใช้จ่ายในการไปทัศนศึกษา หรือเดินทางไปเรียนรู้ยังแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน...

แต่โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดบางแห่ง มิได้ดำเนินการตามปกติทั่วไป เพียงเพื่อให้ได้ลูกค้า(นักเรียนและผู้ปกครอง)มากขึ้น จึงสร้างสิ่งที่เรียกว่าความพร้อมให้เกิดขึ้น และต้องใช้เงิน..เพราะคิดว่า..ลูกคนมีเงินในจังหวัด พ่อค้า คหบดี ลูกข้าราชการ ลูกนักการเมือง รวมทั้ง ลูกแม่ค้า หาเช้ากินค่ำ ถ้าอยากเรียน...อย่างไรก็ต้องยอมจ่าย..

เป็นค่าครูต่างชาติสอนภาษาอังกฤษ ค่าเรียนพิเศษ(ติว) ค่าห้องคอมพิวเตอร์ ค่าห้องปฏิบัติการฯและอื่นๆอีกมากมาย..

แล้วยิ่ง..นโยบาย..ที่ปรับเปลี่ยนบ่อย ต้นสังกัดมอบหมายสั่งการมา จึงทำให้โรงเรียนต้องทันสมัย อลังการงานสร้างอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนต้นแบบ โน่น นี่ นั่น โรงเรียนสองภาษา โรงเรียนคุณภาพ....โรงเรียนแกนนำ BBL ฯลฯ

ยิ่งไปกว่านั้น..โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดบางแห่ง..คุณภาพ..ผลสัมฤทธิ์..ไม่ได้ดีไปกว่าโรงเรียนชานเมือง ที่อยู่ในอำเภอเมืองด้วยกัน (เขต ๑) เสมอไป..ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม ทักษะการอ่าน..ผลคะแนน NT และ O-NET...อาจเป็นเพราะจำนวนเด็กมาก จึงควบคุมค่าเฉลี่ยค่อนข้างยาก..

เมื่อเป็นที่รู้กันในหมู่ผู้ปกครอง..อนุบาลจังหวัดก็ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อเรียกศรัทธา ..ด้วยการสร้างความทันสมัยและเสริมทัพบุคลากรเข้าไป..ซึ่งก็ต้องใช้เงิน

ถ้าเป็นโรงเรียนประชารัฐ..และกล้าพอก็อาจไปขอพึ่งพาจากภาคเอกชนในชุมชน สังคม แต่มันก็ยากครับ วิธีการที่ดีและง่ายที่สุด..คือเรียกเก็บ..จากผู้ปกครอง ลองคิดดูนะครับ กว่าจะจบ ป.๖ ผู้
ปกครองต้องยอมจ่ายเท่าไหร่..และก็คงช้ำใจกับ...นโยบายเรียนฟรี

ผมคิดว่า..การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน..ไม่ว่าจะในระดับใด จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน มีความแตกต่างกันก็จริง..ถ้าจะสรรหามาเพื่อให้พร้อม น่าจะเป็นการสร้างความทุกข์ ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งสิ้น..ควรจะกลับมามองคำว่า..พอ..ได้แล้ว เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ทำงานการศึกษา ได้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษา...อย่างแท้จริงและมีความสุข..มากกว่า..ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำอย่างทุกวันนี้..

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๙


หมายเลขบันทึก: 606857เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2016 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2016 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นโยบายการศึกษาเมืองไทย

เกือบจะไม่มีการปรับหรือเปลี่ยนนัก

แต่เท่าที่เห็น " เพิ่มเติม " เป็นส่วนใหญ่

ของเก่าให้มา..ครูยังรู้กันไม่ทั่วโรงเรียนเลย

ของใหม่ก็ไล่หลังมาติด ๆ ....นั่นแล.....


บางเรื่อง บางอย่างเราสามารถลองผิดลองถูกได้ค่ะ แต่เรื่องการศึกษาเพื่อสร้างคนให้มีคุณภาพ ไปพัฒนาประเทศต่อไปนั้น ควรจะมีเอกภาพมากกว่านี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท