Fah Ladda
นางสาว ลัดดาวัลย์ จันตะคุต

วันที่ 3 “ 4 คาบ 4 กิจกรรม” (18 พฤษภาคม 2559)




“กับการได้สอนครั้งแรก...
กับบทบาทหน้ากระดาน
กับการไม่ได้ตั้งตัว”

เช้านี้กับวิชาคณิตศาสตร์ เนื่องจากคุณครูติดประชุม ก็เลยให้หนูสอนแทน เป็นอะไรที่ตื่นเต้นมาก กับการสอน จำนวนนับที่มากกว่า 100,000 นักเรียนชั้น ป.4 ซึ่งการสอนคณิตศาสตร์สำหรับหนู เป็นการสอนที่คิดกิจกรรมยากมาก เป็นเรื่องของตัวเลข การคิดคำนวณ แตกต่างจากวิชาอื่นที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง อย่างเช่น วิทยาศาสตร์เด็กก็ได้ทดลอง ได้สำรวจ วิชาภาษาไทย ท่องบทอาขยาน เล่านิทาน แต่แน่นอน “เราอย่าสร้างกรอบในการดำเนินชีวิต” ที่เรียนมา อาจารย์บอกว่า ทุกวิชาสอนแบบกิจกรรมได้ “โอเคค่ะ...ได้ก็ได้” วันนี้มีกิจกรรมดี ๆ มานำเสนอเกี่ยวกับการสอนจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 ยังไม่รู้ว่าตั้งชื่อว่าอะไรดี แฮ่ ๆ (ขอใช้ชื่อชั่วคราวว่า “จำนวนสปริง” ใครมีความคิดดี ๆ บอกหนูด้วยนะคะ) อาจจะไม่ใช่วิธีการสอนที่น่าสนใจ แต่หนูคิดว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่น่านำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ขั้นที่ 1....เริ่มต้นที่ครูต้องทำตางรางแบบนี้เพื่อแจกให้เด็ก (อย่าลืมแจ้งให้เด็กทราบล่วงหน้านะคะว่าเตรียมกาวและกรรไกรมาด้วย)

ขั้นที่ 2......ให้เด็กตัดกระดาษตามจำนวนที่ครูต้องการ (คาบนี้ คน 2 ก่อนเน๊อะลูก กลัวเวลาไม่ทัน)

ขั้นที่ 3....สอนนักเรียนพับกระดาษ (เหมือนจะง่าย..แต่เกือบได้เดินสอนทีละคน) งานนี้เข้าใจแล้วค่ะ ความแตกต่างระหว่างบุคคล เราก็ว่าเราอธิบายชัดแล้วนะ

ขั้นที่ 4 ให้นักเรียนเขียนตัวเลข ตามความชอบของตนเอง

ขั้นที่ 5 จากนั้นนำไปติดลงในสมุดเฉพาะข้างซ้าย เพื่อให้สามารถดึงออกมาดูได้ว่าตัวเลขนั้น อยู่ในหลักใด และให้เขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือ

เทคนิคการสร้างความจำโดยการใช้สี......จากคณิตศาสตร์ ป.4/4 คาบที่ 1 สู่ วิทยาศาสตร์ ป.5/5 ในคาบที่ 2 ต้องสตรองมากค่ะงานนี้....คุณครูพี่เลี้ยงได้ให้เทคนิคหนึ่ง ซึ่งเป็นพื้นฐานทั่ว ๆ ไป แต่พอนำมาใช้สามารถควบคุมชั้นเรียนให้เงียบได้ สุ่มชื่อตอบคำถามทีละคน และให้นักเรียนระบายสีตามข้อความที่ครูอ่าน (หลายคนชอบบอกว่า...เทคนิคที่เราจะนำไปสอน ก็มาจากการฝึกประสบการณ์ตรงนี้) เก็บเกี่ยวให้มากที่สุด

พัก 1 คาบ และในคาบที่ 4 กับวิชาคณิตศาสตร์ ป.4/2 ทบทวนเรื่องจำนวนให้นักเรียน นี่เป็นกิจกรรมที่ครูใช้สอน มีขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 แจกกระดาษให้นักเรียนตัดตาราง

ขั้นที่ 2 ให้นำตารางติดลงสมุด จากนั้นตัดตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และ ตัวหนังสือ เพื่อนำมาติดลงในตาราง ดูง่าย ๆ เหมาะแก่การทบทวน และเด็กก็ได้ลงมือปฏิบัติกันทุกคน

ช่วงพักกลางวันวันนี้...ทำให้เราได้คุยกันมากขึ้น ตอนนี้พวกเราได้เพื่อนใหม่จาก มช. คุยกันถูกคอมากจ้า ได้ข่าวว่ากริ่งหมดเวลาพักออกไป 15 นาที แต่เพื่อนยังดูเก็บกด คุยกันวนไปค่ะ 5555 สู้ ๆ นะทีมดารา

คาบที่ 6 วิทยาศาสตร์ ป.4/1 กิจกรรมฐานการเรียนรู้เหมือนกับเมื่อวาน ต่างกันที่ เราเป็นคนสอน ตื่นเต้นมากค่ะงานนี้ กดดันไปอีกกับการที่ครูพี่เลี้ยงนั่งดู (ขอบคุณประสบการณ์ดี ๆ ในวันนี้ค่ะ)

ไม่มีกิจกรรมที่ดีที่สุด ....

บางกิจกรรมไม่สามารถใช้ได้กับเด็กทุกคน

ค่อย ๆ เรียนรู้ ....เดี๋ยวคงจะเกิดการเรียนรู้นะลัดดา

หมายเลขบันทึก: 606784เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2016 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สนุกสนาน

แสดงว่านักเรียนชอบมาก

ครั้งต่อไปเตรียมอุปกรณ์ให้ดีนะครับ

ขจิต ฝอยทอง ค่ะครู

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านบันทึกของหนูค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท