กิจกรรมบนฐานปัญญา ๓ : การจัดการความรู้ในกิจกรรม


ในการทำกิจกรรมที่นำไปสู่ปัญญาทั้งฐานกาย ฐานใจ เเละฐานคิดนั้น ต้องมีกระบวนการสะท้อนผลการเรียนรู้(Reflection process) ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมได้ทบทวนจากภายในตนเองสู่ภายนอก เเละยังเป็นการสร้างรูปแบบชุดความรู้ให้ภายนอกได้เรียนรู้จนอาจเป็นเเนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งความรู้ที่จะจัดการในกิจกรรมนั้น เป็นความรู้ที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง(Tacit knowledge) ให้ออกมาเป็นความรู้รูปธรรมที่สามารถให้ผู้อื่นเรียนรู้ได้(Explicit knowledge) ด้วยกระบวนการระดมสมอง(Brain storming) หรือ การตระหนักรู้จากด้านใน(Self awareness) ใช้บรรยากาศแบบชค่อยเป็นค่อยไป ให้ผู้เข้าร่วมเปิดใจรับพร้อมที่จะถอดบทเรียนโดยสมองอยู่ในโหมดปกติ กายสบายไม่ร้อนไม่หนาว โดยหลักคิดการจัดการความรู้(Knowledge management)มีความสำคัญต่อผู้นำการจัดการความรู้เป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้นการจัดการความรู้ในกิจกรรม ในที่นี้ หมายถึง การถอดบทเรียนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเเละการจัดการชุดความรู้ จากข้อมูลที่ยังไม่จัดระบบให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น

๑.หลักคิดการจัดการความรู้ในกิจกรรม
๑.๑) หลักคิดการถอดบทเรียนในกิจกรรม(การถอดบทเรียนในกิจกรรม คือ การถอดความรู้จากประสบการณ์ตรงเเละความรู้เชืงทฤษฎีให้ออกมาจากภายในของผู้เข้ร่วมกิจกรรม) โดยมองได้ดังนี้

  • การกำหนดเป้าหมายในการถอดบทเรียนต้องชัดเจน เครื่องมือหนึ่งมีเป้าหมายเดียว หรือ หลายเป้าเเต่ต้องชัดเจน ไม่สับสน
  • คำถามการถอดบทเรียนต้องเป็นคำถามที่ ๑) ใช้คำง่ายเข้าใจง่าย ๒) คำถามเดียวต่อเป้าหมายเดียว ๓) เรียงจากง่ายไปยาก ๔) ไม่กำกวมเเต่ชัดเจนถามตรงๆ
  • เครื่องมือการถอบทเรียนควรเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมกับบุคคล(ใช้ความเงียบ)เเละกลุ่ม(ใช้การแลกเปลี่ยนพูดคุย) โจทย์ไม่ง่ายเเละไม่ยากจนเกินไปเน้นการให้เหตุผล การเชื่อมโยงเชิงอัตนัย โดยอาจใช้ วิธีการเขียนเล่าเรื่อง การทำแผนผังความคิด การวาดภาพ การใช้ผังก้างปลา เเละการใช้แผนผังต้นไม้ เป็นต้น
  • เนื้อหาการถอดบทเรียน เน้นถอด ๒ ส่วน ได้แก่ ๑) เน้นให้ถอดความรู้จากการปฏิบัติหรือประสบการณ์ตรงของบุคคล การจัดการงาน วิธีการแก้ไขปัญหา หลักคิดการแก้ไขปัญหา ข้อเรียนรู้จากการลงมือทำ ความเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคล เพื่อน ชุมชน เเละสังคม เเละความรู้สึกนึกคิด เเละ ๒) เน้นการประเมินผลของงาน ประเมินเป้าหมาย วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลที่ได้รับ ว่าเกิดผลมากน้อยเพียงใด สามารถเดินไปสู่เป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด(เน้นการประเมินโดยกลุ่มเป็นสำคัญ)
  • การสะท้อนผลการถอดบทเรียนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยวาจา เรียกว่า สุนทรียสนทนา(Dialogue) นอกการเป็นการย้ำเตือนตนเองเเล้วนั้นยังเป็นการสื่อสารความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ร่วมกันเราด้วย

๑.๒) ถอดบทเรียน "ของคนทำงาน" ถอดให้เห็นอะไร (จากเครื่องมือ KUSA) ให้เห็นดังนี้

  • Knowledge ความรู้จากการปฏิบัติ หลังลงมือทำจริงจากกิจกรรม
  • Use การนำไปใช้เเละประยุกต์ใช้กับตน คน เเละงานในอนาคต
  • Skills ทักษะจากการกฏิบัติลงมือทำงาน ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ทักษะการแก้ไขปัญหา-การทำงาน เเละทักษะการสื่อสาร เป็นต้น
  • Attitude ทัศนคติ ความคิด ความรู้สึก-ความสุข ที่เปลี่ยนแปลงไป หลังจากการทำกิจกรรม

๑.๓) ถอดบทเรียน "ของงานที่ทำ" ถอดให้เห็นอะไร (จากเครื่องมือ ภาพเล่าเรื่อง) ให้เห็นดังนี้

  • เริมเข้ามาทำงานนี้ได้อย่างไร เพราะอะไร
  • สภาพปัญหาคืออะไร เป็นอย่างไร เกี่ยวข้องกับใคร ที่ไหน เกิดผลกระทบอย่างไร
  • เกิดปัญหาอะไรบ้าง แก้ไขด้วยวิธีการอะไรอย่างไร มีหลักคิดในการแก้ไขปัญหาอย่างไร ใช้หลักคุณธรรมอะไร-ความรู้อะไรในการแก้ไขปัญหา
  • ผลของงานเกิดผลที่ขึ้นขึ้น(Out put) ผลที่ตามา(Out come) เเละผลกระทบ(Impact) เกิดขึ้นอย่างไรต่อเป้าหมายในการพัฒนา เกิดผลอย่างไรต่อพื้นที่ทำงาน คนทำงาน เเละองค์กรภายนอก
  • จะพัฒนางานต่ออย่างไร ให้เสริมจุดด้อย เป็นจุดเด่น สร้างโอกาส เสริมต้นทุนอะไรบ้าง

๑.๔) หลักคิดการจัดการความรู้ (การจัดการชุดความรู้มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความสำคัญต่อคนทำงานในการเก็บข้อมูลขอการลงพัฒนากิจกรรม) โดยมองได้ดังนี้

  • กำหนดดป้าหมายการจัดการความรู้นั้นอย่างชัดเจน จับต้องได้เป็นรูปธรรม
  • ชุดข้อมูลเรียงลำดับดังนี้ Data(ข้อท็จจริง) -> Information(ข้อมูลที่ประมวลผลเเล้ว) -> Knowledge(สาระ หลักการ,ประสบการณ์) -> Wisdom(ปัญญา ความรู้ลึก รู้จริง) ฉะนั้นการจัดการความรู้จึงต้องเริ่มจากข้อมูลที่จริง โดยในกิจกรรมอาจเป็นข้อถอดบทเรียนของผู้เข้าร่วม เเล้วเรานำมาประมวลผล ให้เป็นความรู้ผ่านการตีความเเละสังเคราะห์ให้เกิดความรู้เเละความเข้าใจผลที่เกิดขึ้นต่อผู้ถอดบทเรียนเเละต่อตนเอง ซึ่งกระบวนการอาจใช้การวิเคราะห์-สังเคราะห์ร่วมกันให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลที่เข้าร่วมเเละตนเอง
  • การคิดบวก คิดไปในเเนวทางสร้างสรรค์ ไม่ตัดสิน เเต่ให้มองเเละฟังอย่างเข้าใจความรู้เเละเข้าใจความเข้าใจ
  • การพิจารณามุมมองบทเรียนในหลายมิติ เช่น มิติตรรกศาสตร์ มิติสังคม มิติวัฒนธรรม เป็นต้นเเละข้อมูลควรเป็นข้อมูล คือ ไม่ควรเติมเเต่ง
  • การจัดการความรู้โดยเฉพาะการถอดบทเรียนของผู้อื่น สำคัญที่สุด คือ ทักษะการฟังอย่างเข้าใจ (Dialogue) โดย ต้องมีความใส่ใจ จดจ่อ,ตั้งมั่น สนใจ-ถามกลับ มีอารมณ์ร่วมตาม ถาม-ทวน เเละเติมเต็มซึ่งกันเเละกัน
  • สำคัญ คือ ต้องเข้าใจความเป็นตัวตนของผู้ที่ถอดบทเรียนโดยเน้นถอดที่ประสบการณ์ตรง(Tacit knowledge) เป็นหลักสำคัญ
  • ปรับของคิดของตนเอง(ผู้ถอดบทเรียนผู้อื่น) โดย "ทำจิตให้ว่าง" พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ

๒.ขั้นตอนการจัดการความรู้(ถอดบทเรียน)ในกิจกรรม ๕ ขั้นตอน

๒.๑) การกำหนดเป้าหมายการจัดการความรู้ที่ชัดเจน กระบวนการเเจ่มเเจ้ง

  • วางแผนจะจัดเพื่ออะไร ให้ใคร ทำอย่างไร ที่ไหน เวลาใด จะเกิดผลอย่างไร
  • วางแผนการดำเนินกระบวนการ จะดำเนินอย่างไร

๒.๒) ใช้คำถามนำโดยเป็นคำถามที่ชัดเจน ไม่กำกวม เรียงจากยากไปง่าย นำไปสู่การตอบที่เน้นให้เหตุผลเชิงอัตนัย

  • ตั้งจุดหมายในการถามเพื่อกระตุ้นการคิดเเละการเรียนรู้เพื่อหาคำตอบ
  • ใช้คำง่ายเข้าใจง่าย
  • คำถามเดียวต่อเป้าหมายเดียว เเละไม่กำกวมเเต่ชัดเจนถามตรงๆ
  • เรียงจากง่ายไปยาก
  • หลังจากถามเเล้วให้เวลาทุกๆคนได้ร่วมกันระดมสมองหรือใคร่ครวญคิด

๒.๓) ใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ ที่สามารถกระตุ้นความคิด การประเมินกิจกรรมหรือประเมินตนเอง (บางเครื่องมือคือคำถามเเละบางคำถามคือเครื่องมือ) เเละคำถามกับเครื่องมือจะมาคู่กัน

  • เเนะนำการใช้เครื่องมือ อธิบายเชื่อมโยงให้ทุกๆคนเข้าใจ ใช้คำถามนำเข้าสู่เครื่องมือ
  • เครื่องมือกระดาษ เช่น การเขียนเรื่องเล่า การทำแผนผังความคิด แผนผังต้นไม้ แผนผังก้างปลา การวาดภาพ ผังไข่ดาว กราฟ หรือเครื่องมืออื่นๆ เช่น วิธีการทางศิลปะที่สร้างสรรค์
  • การแลกเปลี่ยนความคิดกันระหว่างดำเนินกระบวนการ

๒.๔) ดำเนินการจัดการความรู้โดยกระบวนการระดมสมอง(กลุ่ม)เเละการใคร่ครวญด้วยตนเอง(บุคคล)

  • กระบวนการกลุ่มใช้การแลกเปลี่ยนเป็นหลัก ส่วนกระบวนการเดี่ยวใช้ความเงียบในการใคร่ครวญเป็นหลัก
  • บรรยากาศในการจัดการความรู้ต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบร้อน

๒.๕) แลกเรียนเรียนรู้สู่การผนวกรวมความรู้จากประสบการณ์ด้วยกระบวนการสุนทรียสนทนา โดยจุดหมายสูงสุด คือ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ร่วมกันจนสกัดเป็นความรู้ที่ลึกอย่างเป็นหลักการ

  • นำประเด็นที่ได้จากการสนทนามาเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันเเละกัน
  • เเลกเปลี่ยนเรียนรู้ เน้นไปที่ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานจริงของเเต่ละคน
  • ขหมวดบทเรียนเเต่เเต่ละคนเป็นด้านๆ พร้อมข้อสังเกตต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจเเละสื่อสารได้ชัดเจน
  • การสกัดความรู้ที่ตึกผลึกจากการลงมือทำ ให้บุคคลหรือองค์กรอื่นสามารถนำไปใช้ได้จริง

๓.แนวทางการจัดการความรู้ในกิจกรรม
กิจกรรมเป็นการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง เเต่เป็นการเรียนรู้แบบปฏิบัติ การถอดบทเรียนต้องเน้นการถอดความรู้จากประสบการณ์ตรงเป็นหลัก ซึ่งแนวทางการจัดการความรู้ในกิจกรรมในที่นี้ หมายถึง ตัวอย่างเครื่องมือที่นิยมใช้ในการจัดการความรู้ในกิจกรรม เเละข้อควรคิดในการจัดการความรู้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
๓.๑ ตัวอย่างเครื่องมือที่นิยมใช้ในการจัดการความรู้ในกิจกรรม
๑) การใช้การเขียนเรื่องเล่าถอดบทเรียน มีเทคนิคการปรับใช้ดังนี้

  • การตั้งคำถามให้ตั้งคำถามชัดเจนนำไปสู่ความรู้แหง่คุณค่าเเท้ ได้แก่ วันนี้ได้ทำอะไรมาบ้าง ทำเเล้วมีความรู้สึกอย่างไร ประทับใจอะไรบ้าง เกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง แก้ไขอย่างไร ด้วยวิธีการอะไรหรือหลักคิดอะไร สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้มีเรื่องอะไรบ้าง เรื่องเหล่านั้นเป็นอย่างไร สอนเราว่าอย่างไร เกิดทักษะอะไรบ้าง "เป็นคำถามมาตรฐานที่ใช้ทุกเครื่องมือ"
  • การเขียนให้เขียนย่อหน้าละประเด็น โดยมีหลักการ คือ ทุกย่อหน้ามีหัวข้อเดียว(Topic) บรรทัดเเรกให้เขียนประเด็น(Main Idea) ต่อมาจากประเด็นให้เขียนเหตุเเละผลอธิบายว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น(Supporting) ตามมาเขียนต่อไปอีกว่าเรื่องราวเหล่านั้นเป็นอย่างไร,มีตัวอย่างหรือองค์ประกอบใดๆในประเด็นนั้นบ้าง(Evidence) โดยในเเต่ละย่อหน้าควรมี ๕-๘ บรรทัด จะพอดี ซึ่งอาจเเบ่งเป็น ๓ ส่วนได้แก่ ส่วนคำนำ ส่วนเนื้อหา เเละส่วนสรุป เป็นต้น
  • การเขียนหากอยู่ในกระบวนการให้ใช้ความเงียบ หรือ เสียงกระตุ้นการเรียนรู้เบาๆ ให้คลื่นสมองอยู่ในโหมดผ่อนคลายมากขึ้นซึ่งช่วยให้คิดออกเเละเขียนออกมาได้

๒) การใช้แผนผังความคิดถอดบทเรียน มีเทคนิคการปรับใช้ดังนี้

  • การใช้แผนผังความคิดเเนะนำให้ใช้แบบรากไม้ เพราะง่ายเเละสามารถเชื่อมโยงไปสู่กันเเละกันได้เป็นอย่างดี
  • กำหนดองค์ประกอบของแผนผัง ได้แก่ หัวข้อ(แก่นแกน) รากแก้ว(กิ่งแก้ว) เเละรากฝอย(กิ่งก้อย) ประเด็นเดียวกันให้มาอยู่ด้วยกัน เมื่อมีประเด็นใหม่ก็ให้เขียนกิ่งแก้วใหม่ สามารถเชื่อมโยงระหว่างกิ่งก้อยเเละรากอื่นๆได้เเบบองค์รวม
  • เปลี่ยนจากตัวอักษรมากๆมาเป็นตัวอักษรน้อยๆเเต่อ่านเเล้วเข้าใจเลยเเบบสรุป(Log line)
  • เพิ่มรูปภาพ ใช้ภาพในการสื่อความหมายเเทนตัวอักษรเพราะ "ภาพเดียวสื่อได้เป็นล้านคำ"
  • ใช้สีเพื่อความน่าอ่านน่าสนใจ เเละเพื่อความสามารถในการจดจำ

๒) การใช้เครื่องมือในลักษณะการเทียบเคียงเพื่อถอดบทเรียน เช่น แผนผังต้นไม้ ผังก้างปลา ผังไข่ดาว เป็นต้น มีเทคนิคการปรับใช้ดังนี้

  • เทียบเคียงให้เห็นผลของงานเเละผลของคน "งานได้ผลคนเป็นสุข"
  • การใช้คำถาม เป็นคำถามที่ง่ายมองเห็นภาพชัดเจน ทั้งรูปธรรมเเละนามธรรม โดยเน้นสื่อด้วยภาพเพิ่มด้วยอักษร เป็นหลักคำคัญ
  • เป็นเครื่องมือง่ายๆไม่ซับซ้อน ถ้ามีหลายประเด็นให้แยกชิ้น ส่วนมีประเด็นร่วมให้รวมเป็นชิ้นเดียว เป็นต้น
  • ต้องช่วยให้เห็นถึงมิติความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงระหว่างคนทำงานกับชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมาย คนทำงานกับคนทำงาน เเละคนทำงานกับเครือข่ายที่คอยหนุนเสริมกิจกรรม เป็นต้น

๓.๒ ข้อควรคำนึงในการจัดการความรู้

  • บรรยากาศในการจัดการความรู้ต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบร้อน "ไปทีละก้าวเเต่มั่นคง"
  • ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย คำถามเข้าใจง่าย
  • ใช้วิธีการทางศิลปะเข้าช่วย จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สมองอยู่ในโหมดปกติ คลื่นสมองอยู่ในโหมดผ่อนคลายขึ้นจากคลื่อนเบต้าปกติ
  • มองงานตามสภาพความเป็นจริง เเต่ให้คิดบวก ทำใจให้ว่าง เป็นต้น

# อย่างไรก็ดี จุดหมายสูงสุดที่คาดหวัง คือ บุคคลมีทักษะการจัดการความรู้ของตนเองด้วยตนเอง โดยวิธีการของตนเอง ที่ตนเองถนัด เช่น ชอบเขียนให้เขียน ชอบวาดให้วาด หรือ ชอบสร้างสื่ออื่นๆให้สร้างสื่อ ฯ นอกจากเป็นการฝึกตนเองเเล้วยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมให้ได้เรียนรู้ร่วมกันในมิติสังคมอีกด้วย





ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท