จิตเชื่อมั่น ปันคุณค่า พาสื่อใจ


ขอบพระคุณกรณีศึกษาที่เปิดใจ มีสติสัมปชัญญะในปัจจุบันขณะ และสื่อสารภาษากายพูดชัดเจน ทำให้ผมรู้สึกประสบความสำเร็จในการเป็นโค้ชสร้างความแข็งแกร่งในจิตใต้สำนึกใน 1 ชม.ครึ่งกับการบูรณการหลายกระบวนการเรียนรู้

กระบวนการเรียนรู้สำหรับเคสนี้เริ่มเวลา 16.00 น. ด้วยการตั้งเป้าหมายว่า "เคสตั้งใจจะหาคำพูดชวนคุณพ่อไปพบจิตแพทย์โดยไม่ให้คุณพ่อรู้สึกแย่"

เครื่องมือที่ 1: Neuro Linguistic Enneagram (Hornevian, Harmonic, & Triads Groups)

  • เคสมีบุคลิกภาพแบบ 6 เมือวิเคราะห์การตอบคำถามที่เชื่อมโยงกันระหว่างจริตต่อการเข้างานสังคม-การแก้ปัญหา-การแสดงฐานอารมณ์ Compliant Type 1, 2, หรือ 6; Passionate Type 4, 6, หรือ 8; & Thinking Type 5, 6, หรือ 7
  • ขณะที่เคสย้อนวิเคราะห์คุณพ่อมีบุคลิกภาพแบบ 4 เมือวิเคราะห์การตอบคำถามที่เชื่อมโยงกันระหว่างจริตต่อการเข้างานสังคม-การแก้ปัญหา-การแสดงฐานอารมณ์ Withdraw Type 4, 5, หรือ 9; Passionate Type 4, 6, หรือ 8; & Fear Type 2, 3, หรือ 4
  • ผมโค้ชให้เห็นแนวทางการสื่อสารที่ควรเน้นการเปิดเผยความรู้สึกระหว่างบุคลิกภาพลักษณ์ 6 (ต้องไว้ใจ) กับ 4 (หาเหตุผล) ซึ่งอธิบายได้ชัดเจนพร้อมควรสื่อสารด้วยภาษากายที่ Match กันให้ได้เพื่อทำเป้าหมายให้เคสทำได้จริง ในแผนภาพข้างล่างนี้

เครื่องมือที่สอง: SOAR Elicitation Questions เชื่อมกับความไว้ใจของเคสที่เด่นคือ "กล้าตัดสินใจในนาทีฉุกเฉิน ถ้ามีเวลาคิดจะฟุ้ง ถ้าพ่อทะเลาะกับแม่ จะปล่อยให้พ่ออยู่กับตนเอง และพาแม่หนีไปอยู่ในที่ปลอดภัย มีความมั่นใจในการแก้ปัญหานี้ 4/10" มีความตึงเครียดบริเวณศรีษะและดวงตา พร้อม Break State ด้วย NLP Tapping (Open, Clear, Flow โดยไม่ได้ท่องคำพูดใดๆ) และ Brain Gym หมุนคอและดวงตา 360 องศา ความตึงลดลงจาก 6/10 มา 2/10

เมื่อเคสนึกถึงและสวมร่าง (Perceptual Positions) วัยเด็กประถมที่ไว้ใจเพราะรักคุณพ่อที่อุ้ม ยิ้ม กอด เดินเล่น ไม่พูดอะไร เมื่อมองกลับมาในร่างเคส ณ ปัจจุบันก็พูดว่า "อยากให้พ่อเหมือนเดิม ใจดี ยิ้มแย้ม ไม่อยากให้เค้าเปลี่ยนไป ไม่อยากให้อารมณ์รุนแรง" เคสเริ่มตึงบ่า จึง Break State ด้วย Brain Gym Thymus & Shoulder Movements ก็เบาขึ้น บ่งชี้การลดใช้ฐานหัวคิดมาเพิ่มใช้ฐานหัวใจ จากนั้นผสมผสานกับเครื่องมือ Reimprinting เน้นเหตุการณ์ที่เกิดจุดขัดแย้งคุณพ่อทะเลาะกับคุณแม่ ให้มีบุคคลที่น่าจะคลี่คลายปัญหาได้แต่ไม่ได้อยู่จริงคือ คุณยาย [เคสคิดถึง ร้องไห้ และสวมร่างได้อย่างผูกพัน] แนะนำว่า "ทุกคนเป็นพี่น้องกัน ถ้าเค้าทำผิดต้องให้อภัย ใจเย็น ให้อดทน ปล่อยวาง อย่าคิดเยอะ อยากให้ไปหาหมอ เผื่อจะดีขึ้น อยากให้ลองดู

ต่อด้วยการสวมร่างคุณแม่ แนะนำว่า "ทำไมไม่รู้จักปล่อย เรื่องมันผ่านไปแล้ว ทำไมไม่มีเหตุผล อยากให้ไปเจอคุณหมอ อยากช่วยพ่อ ต้องหาทางออกให้่พ่อไปหาหมอให้ได้ เผื่อจะรักษาความเครียด ไม่ชวนเองเพราะพ่อไม่ฟังแม่" ตามด้วยการสวมร่างคุณพ่อ ก็พูดว่า "ทำไมต้องไปหาหมอ ไม่ได้บ้า [ผมปรับสื่อสารแบบ Motivational Interviewing ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิต] ...ไม่อยากเครียดตลอดชีวิต ไม่ไป ไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่ต้องมายุ่ง...อยากถามหมอว่าให้นอนหลับคลายเครียดอย่างไร" จากนั้นก็บูรณาการให้เคสตอบคิดแก้ปัญหานี้โดยจะพูดกับคุณพ่อว่า "ป๊าไปหาหมอเถอะ คุณหมอช่วยให้สบายใจ คลายเครียด นอนหลับด้วย ถ้่าเป็นอย่างนี้ทุกคนกังวล ป๊าก็ไมาสบายใจ ไปหาหมอ จะได้ดีช่วยให้ดีขึ้น"

เครื่องมือที่สาม: Belief Assessment โดยดึงความมีสุขภาพดีของลักษณ์ 6 คือ เชื่อมั่นในการพาพ่อไปหาหมอด้วยการตัดสินใจดี 8/10 (เดินไป) 10/10 (ถอยกลับ) เชื่อมั่นในการพาพ่อไปหาหมอด้วยความห่วงใย 7/10 (เดินไป) 9/10 (ถอยกลับ) เชื่อมั่นในการพาพ่อไปหาหมอด้วยภาษากาย 6/10 (เดินไป) 7/10 (ถอยกลับ) และเชื่อมั่นในการพาพ่อไปหาหมอด้วยความดีงามไว้ใจ 9/10 (เดินไป) 10/10 (ถอยหลับ)

เครื่องมือที่สี่: Eye Access Interrupt Technique & Quantum Identity Integration โดยเน้นการมองแบบอ่อนโยน การรับรู้สึกสื่อสารพลังงานความเมตตา รวม 5 นาที ก็ดูเคสเปิดใจมากขึ้น

เครื่องมือที่ห้า: Belief Installation Procedure ก็พบว่าเคสสามารถระลึกถึงภาษากายที่ไว้ใจในการสื่อสารกับเพื่อนแบบเป็นตัวของเราเอง ไม่เกร็ง พูดในสิ่งที่อยากพูด ไม่คิดเยอะ; การสื่อสารกับน้อง เราไว้ใจเค้า เค้าไว้ใจเรา [น้ำตาซึม]; การสื่อสารกับแม่ ห่วงใยเรา ดูแลเรา [น้ำตาซึม] สุดท้ายก็บูรณาการสิ่งที่ดีงามในตัวเองว่า "อยากขอให้พ่อไปหาหมอ แสดงความห่วงใยให้พ่อรู้สึกไว้ใจเรา ให้เหตุผลว่าหมอช่วยให้ดีขึ้น ให้หายเครียด ผ่อนคลาย นอนหลับดีขึ้น" สุดท้ายก็ประเมินซ้ำในเครื่องมือที่สามก็พบว่าทุกหัวข้อ 10/10 ส่วนข้อที่เชื่อมั่นในการพาพ่อไปหาหมอด้วยภาษากาย จาก 7/10 ก็ดีขึ้นเป็น 9/10

กระบวนการเรียนรู้สำหรับเคสนี้เริ่มเวลา 17.30 น. ด้วยการได้รับคำตอบตรงตามเป้าหมายว่า "เคสตั้งใจจะหาคำพูดชวนคุณพ่อไปพบจิตแพทย์โดยไม่ให้คุณพ่อรู้สึกแย่ คือ "อยากขอให้พ่อไปหาหมอ พร้อมแสดงความห่วงใยให้พ่อรู้สึกไว้ใจเรา ให้เหตุผลว่าหมอช่วยให้หายเครียดนอนหลับดีขึ้น จะปรึกษาอาอีกท่านที่เข้าหาคุณพ่อได้ดีมาร่วมชักชวนด้วย" ... ก่อนอื่นจะต้องนัดปรึกษาจิตแพทย์ และตั้งใจดำเนินการให้สำเร็จใน 21 วัน


หมายเลขบันทึก: 606038เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2016 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบความหมายของ Quote แต่ละอันมากค่ะ อ่านแล้วได้พลัง

ยินดีและขอบพระคุณมากครับอ.แอนและคุณยายธีครับผม

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋และดร.เมธา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท