ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยหลังปี 2558


1. ความล่าช้าของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โลกที่จะกระทบต่อการส่งออกของไทย โดยเฉพาะการชะลอตวัลงของเศรษฐกจิจนีและเศรษฐกิจ กลุ่มประเทศเกิดใหม่ ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่ราคา สินค้าโภคภัณฑ์ทรุดตัวลง การลดลงของเงินทุน ไหลเข้าในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และแรง กดดันด้านค่าเงิน และความผันผวนของตลาดการ เงินที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวมีแนวโน้ม ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศเศรษฐกิจเกิด ใหม่และประเทศกําลังพัฒนา

2. สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างกว้าง- ขวางทั่วประเทศ จากสภาวะฝนทิ้งช่วงในหลายพื้นที่ ของประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาค เศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำหลักของ 4 เขื่อนใหญ่ที่หล่อเลี้ยงพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มต้นที่ปริมาณ "น้อยกว่าปกติมาก" —

3. ราคาสินค้าเกษตรที่ตกตํ่าต่อเนื่องจาก ความอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจโลก และอุปทานสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังมีอยู่มาก การชะลอ ตัวลงของเศรษฐกิจจีน ซึ่งจะส่งผลให้ราคาส่งออก สินค้าส่งออกเกษตรไทยมีทิศทางที่ไม่สดใสนัก โดย จะกระทบต่อกําลังซื้อของผู้บริโภคในภาคเกษตร

4. การที่สหภาพยุโรปให้ใบเหลืองกับไทย ในกรณีที่ไทยไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้าน การทําประมงผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) โดยถ้าไทยไม่มีการ ดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นรปูธรรมภายในเดือน 6 เดือน (สหภาพยุโรปให้ใบเหลืองสินค้าประมง- ไทยเดือนเมษายน 2558 อย่างไรก็ตาม 6สหภาพยุโรปได้เลื่อนการขึ้นบัญชีดํา หรือการตัดสินใจให้ “ใบแดง” ห้ามนําเข้าสินค้าประมงของไทย จาก เดือนตุลาคมเป็นเดือนธันวาคม ซึ่งนับว่าเป็นผลดี สําหรับภาคการส่งออกของไทยที่ขณะนี้สามารถ ส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งไปสหภาพยุโรปได้ทำให้ ภาพลักษณ์ของไทยดีขึ้น) จะถูกห้ามส่งออกอาหาร ทะเลไปยัง EU ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าสินค้าประมงไทย และความเชื่อมั่นของประเทศคู่ค้าสําคัญอื่น ๆ ของไทยจะก่อให้เกิด ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมงทั้งระบบ —

5. สหรัฐฯ คงอันดับประเทศไทยอยู่ในเทียร์ 3 ในรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons หรือ TIP) ของสหรัฐฯ ปี 2015

6. ความเสี่ยงจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

7. ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนจาก ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และเป็นที่คาดหมายกันว่าหากธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับเพิ่ม อัตราดอกเบี้ย ย่อมจะส่งผลให้เกิดการไหลออก ของเงินทุน และมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าค่าเงิน บาทจะมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น ย่อมจะกระทบต่อการทําธุรกรรมระหว่างประเทศ —

8. หนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงย่อม เป็นปัจจัยบั่นทอนกําลังซื้อของผู้บริโภค และเป็น อุปสรรคต่อการที่ภาครัฐจะดําเนินนโยบายกระตุ้น เศรษฐกิจผ่านภาคการบริโภค —

9. ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทยที่ลดลง เนื่องจากมีข้อจํากัดของโครงสร้างการผลิตสินค้าที่ยังพึ่งพาการใช้เทคโนโลยีเก่า ในการผลิตเน้นการแข่งขันด้วยราคาและใช้แรงงาน เข้มข้น ประกอบกับการถูกตัดสิทธิประโยชน์ทาง ภาษี (GSP) ของสหภาพยุโรป

10. ปัญหามาตรฐานการบินขององค์การ การบินพลเรือนระหว่างประเทศ ICAO ที่ประกาศ ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือด้านความปลอดภัย ในการออกใบอนุญาตทําการบินของประเทศไทย

คำสำคัญ (Tags): #เศรษฐกิจ
หมายเลขบันทึก: 605458เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2016 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2016 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท