การตลาดแบบ Mislead Advertising นมวัวแท้มีแค่ 2 ยี่ห้อ


นมวัวแท้มีแค่ 2 ยี่ห้อจริงหรือ คุณคิดว่าความเชื่อนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไร แล้วทุกวันนี้คนที่ดื่มนมยี่ห้ออื่นๆ กำลังดื่มนมปลอมกันอยู่หรือเปล่า คุณเคยรู้หรือไม่ว่าการโฆษณาแบบนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Misleading Advertising...แล้วคุณเชื่ออย่างนี้มั้ย

Mislead advertising เป็นอย่างไร

Mislead advertising - การตลาดชวนเชื่อ

ที่มารูปประกอบ: adstandards.com.au

นานมาแล้วสมัยผมเป็นเด็ก ยังจำได้ครั้งแรกได้เห็นโฆษณาน้ำมันถั่วเหลืองยี่ห้อหนึ่ง ที่เอาน้ำมันไปแช่ตู้เย็น แล้วบอกว่าไม่เป็นไข สร้างแรงกระตุ้นให้ผู้บริโภครู้สึกตื่นกลัว หันมาบริโภคแทนน้ำมันพืชแทนน้ำมันหมูกันยกใหญ่ ซึ่งในตอนหลังก็พบว่า ผู้บริโภคโดนหลอกกันทั้งโลก... เพราะในความเป็นจริงแล้ว...น้ำมันพืชปลอดภัยตอนก่อนปรุงอาหารเท่านั้น หลังจากมาทำการผัด หรือทอดแล้ว..น้ำมันพืชพวกนี้จะทำปฏิกิริยา Oxidize หลังจากปรุงอาหาร ส่งผลร้ายยิ่งกว่าน้ำมันหมูเสียอีก...ที่ตลกก็คือ น้ำมันพืชที่ปลอดภัยต่อการทอดอาหารมากที่สุด คือน้ำมันปาล์ม กลับถูกคู่แข่งใช้การตลาดยัดเยียดให้มี positioning เป็นน้ำมันพืชเกรดต่ำ สู้น้ำมันถั่วเหลือง หรือน้ำมันรำข้าวไม่ได้...

นี่แหละครับ ความน่ากลัวของ Misleading Advertising ซึ่งไมได้โกหกผู้บริโภคตรงๆ แต่จับแพะมาชนแกะ แล้วสื่อความนัยให้ผู้บริโภคสำคัญผิดไป อย่างในโฆษณาข้างต้น

เรียนรู้จากข้อเท็จจริง

การเอาน้ำมันไปแช่ในตู้เย็น คือจุดที่เกิดการ Mislead คนดู เพราะตู้เย็นนั้นอุณหภูมิเฉลี่ย อยู่ที่ 4-6 องศา ในขณะที่ในร่างกายคนนั้น อยู่ที่ 37 องฮา ซึ่งทั้งไขมันพืชและไขมันสัตว์ก็ไม่เป็นไข อยู่แล้ว...

ทุกวันนี้อุตสาหกรรมน้ำมันพืชก็ยังแข่งกันอวดอ้างสรรพคุณเรื่อง Omega บ้าง ไขมันไม่อิ่มตัวบ้าง ซึ่งค่าต่างๆ ที่อยู่ข้างขวดนั้น เป็นค่าก่อนปรุงอาหาร ไม่เคยมีใครวัดค่าสารอาหารต่างๆว่า หลังผัด หรือทอดแล้ว เหลือ Omega หรือ ไขมันไม่อิ่มตัวอยู่เท่าไหร่...ถ้าจะให้ได้สารอาหารตามข้างขวดจริงๆ ก็ต้องกินแบบไม่ผ่านความร้อน แล้วใครมันจะกินแต่สลัดได้ทุกมื้อกันล่ะครับ...

เหมือนกับตอนเครื่องดื่มผสมคอลลาเจน นั่นแหละครับ...สารพวกนี้ถูกย่อยได้ง่ายกระเพราะอาหาร พอผ่านการย่อยแล้ว ก็ใช่ว่าร่างกายจะจำได้ แล้วเอากลับมาสร้างเป็นคอลลาเจนได้อีกง่ายๆ ซะหน่อย...ตอนนี้ก็แทบจะเลิกขายกันไปแล้ว...เพราะมันขายความเชื่อล้วนๆ...

ดราม่านมวัวแท้...จริงหรือของแท้มีแค่ 2 ยี่ห้อ

พอมาวันนี้ ก็ได้มาเจอกับ Misleading Advertising อีกครั้ง ผมสงสัยมานานแล้ว ได้เรื่องดราม่านมโคแท้ 100% อะไรเนี่ย วันนี้ได้มาเจอบทความเกี่ยวกับนมที่ "มาเปลี่ยนความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับนมโคพร้อมดื่มกันเถอะ" ก็เลยถึงบางอ้อ ทำให้นึกถึงเรื่องนมโคแท้ 100% ขึ้นมาได้ ที่ว่ากันว่ามีอยู่แค่ 2 ยี่ห้อ...ผมอ่านแล้วก็นึกยิ้มขึ้นมาในใจ...แบรนด์ที่สร้างกระแสว่านมโคสดแท้ 100% มีสารอาหารมากกว่า ก็อ้างเหตุผลมาเสียดิบดี...โดยลืมคิดไปว่า ยื่ห้ออื่นๆ เข้าก็ใช้นมโคแท้เหมือนกัน เพียงแต่ทำมาจากนมผงคืนรูป แล้วก็เติมน้ำกลับเข้าไปในสัดส่วนเท่าเดิม ซึ่งให้ค่าโปรตีน และสารอาหารหลักพอๆ กัน (มีการ standardize ให้ได้สารอาหารคงที่)...

หลายคนอาจจะเถียงทันทีว่า...แต่ในนมโคสดมีวิตามินและเอนไซน์ บลา บลา บลา...มากกว่าแน่นอน...อย่าลืมนะว่า กระบวนการผลิตนม UHT (Ultra High Temperature) นั้นใช้ความร้อนสูงถึง 130 องศา...แล้วก็ทิ้งไว้บน shelf ในห้างอีกเป็นเดือน ซึ่งทำให้สารอาหารที่เหลืออยู่ ก็แทบจะไม่แตกต่างจากนมผงคืนรูปอยู่แล้วครับ...

ผมเคยอ่านคุณค่าทางอาหารของนมกล่องแต่ละยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นโฟรโมสต์, ดัชต์มิลล์, วัวแดง, เมจิ หรือยี่ห้ออื่นๆ ก็พบว่ามีปริมาณโปรตีนและแคลเซี่ยม (ซึ่งเป็นสารอาหารสองอย่างหลัก ที่ทำให้เราต้องดื่มนม) พอๆ กัน ผมว่า ถ้าไม่ใช่เพราะเรื่องรสชาติ และราคาแล้ว จะดื่มนมยี่ห้อไหนก็ควรจะได้สารอาหารใกล้เคียงกัน...คงไม่ต้องถึงกับไปไล่ล่า ตามหายี่ห้อที่เขาอ้างว่า ทำมาจากนมโคแท้ 100% มาดื่มกันหรอกครับ

เริ่มต้นจากคำถาม "จริงหรือ"

เป็นผู้บริโภคต้องฉลาดเลือก ก่อนจะเลือกเชื่ออะไรสักอย่างให้ถามก่อนนะครับว่า "จริงหรือ" เพราะจากกรณีดราม่านมวัวแท้ อะไรที่มัน 100% ก็ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไปนะครับ... อากาศที่มีออกซิเจน 100% นี่ก็เป็นพิษ น้ำกลั่นที่บริสุทธิ์ 100% ก็กินไม่ได้ ทองคำแท้ 100% ก็นิ่มเกินไป ใช้ไม่ได้ ...เพราะฉะนั้นต่อไปนี้เราต้องรู้จัก และรู้ทัน Misleading Advertising กันนะครับ...

อ้างอิง:

  • False advertising - en.wikipedia.org/wiki/False_advertising
  • Bait-and-switch - en.wikipedia.org/wiki/Bait-and-switch
  • False or misleading claims - accc.gov.au/consumers/misleading-claims-advertising/false-or-misleading-claims
หมายเลขบันทึก: 605392เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2016 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2016 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท