สุขแท้จริง คุณแคร์มั้ย - Being & Becoming Happiness


I would make self-acknowledgement and all my best appreciation to Dr. Abdul Kadir Abu Bakar, Dr Amalina Abdullah, the Hospital Permai's Staffs, and all participants attended the 18th Johor Mental Health Convention, johor bahru, Malaysia

จำได้ว่าเมื่อ 3 ปีที่แล้วคลิกอ่านบันทึกที่นี่ ... ด้วยภาวะที่ไม่รู้ตัวว่าสุขภาพกำลังจะแย่ด้วยไทรอยด์เป็นพิษกับหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน...ผมยังคงสนุกสนานกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแพทย์ พยาบาล นักกิจกรรมบำบัด และบุคลากรฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม (Psychosocial Rehabilitation) ที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาทักษะการทำงานและการได้รับโอกาสเข้าทำงานในผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตตามแนวทางการฟื้นคืนสุขภาวะ (Recovery Model of Mental Health Care) หรือที่ผมแนะนำ "การฟื้นพลังชีวิต" หลังเรียนจบออสเตรเลียเฉพาะทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคมเมื่อ 8 ปีที่แล้วที่สถาบันสุขภาพจิตชั้นนำต่างๆ ของไทย

และเมื่อวานนี้ผมมีความสุขมากมายจากการได้รับเชิญเป็นวิทยากรกระบวนการ "จัดกิจกรรมบำบัดบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่สร้างทักษะสุขภาวะ (Happiness Workshop)" มาลองติดตามกระบวนการออกแบบและประเมินโปรแกรมที่เดิมเตรียมไว้มากกว่า 15 กิจกรรม ก็ต้องปรับลดลงเหลือ 8 กิจกรรมหลักเพื่อให้เข้ากับสุขภาวะของผู้เข้าอบรมตามสไตล์ทักษะการตัดสินใจแก้ปัญหาได้ในปัจจุบันขณะของผม (Judgement of decision making & problem solving skills)

ผมรู้สึกตื้นเต้นไม่แพ้การได้รับเชิญไปสอนนศ.ที่มหาวิทยาลัยนาโกย่า ญี่ปุ่น คลิกอ่านบันทึกที่นี่ และผมได้ถอดบทเรียนไว้อย่างน่าสนใจที่นี่

เพราะต้องใช้ภาษาอังกฤษตลอดเวลาพร้อมต้องปรับกลยุทธ์การใช้สื่อกิจกรรมบำบัดบูรณาการ 5 ศาสตร์ ได้แก่

  • Positive Psychology
  • Neuro-Linguistic Programming (NLP)
  • Spiritual Sciences (Mindfulness)
  • Social Sciences (Humanity)
  • Behavioral Medicine (Active Learning of Self-transformation)

และได้ดึงประสบการณ์ของการใช้สื่อกิจกรรมบำบัด "ต้นไม้งาม" อ่านเรียนรู้ที่นี่ บวกกับการเขียนหนังสือแปลความรู้ล่าสุดที่นี่

เราลองมาศึกษาการใช้สื่อบำบัดจากตัวเราให้ sensing self-awareness คือ การรับรู้สึกความเป็นอยู่ ณ ปัจจุบันขณะของตัวเรา และเกิดการตัดสินใจท่ามกลางสิ่งเร้าจากผู้อื่น (social judgement) ต่อด้วยการปรับเปลี่ยนระบบจิตประสาทสรีรร่างกายขณะทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวที่ท้าทาย ออกนอกกรอบ และออกจากโซนที่เรายึดติดสุขกับความปลอดภัย ด้วยเป้าหมายที่ทำให้ตัวเรารู้จักมุมบวกแห่งชีวิตด้วยความตั้งใจจริง (self-positive intention) รู้จักความกล้าหาญเพิ่มความมั่นใจในสมรรถนะแห่งตนเอง (Self-efficacy) และรู้จักขอบคุณร่างกายที่มีศักยภาพแห่งตน (Self-acknowledgement) ทั้งหมดทุกกระบวนการเหล่านี้ส่งเสริมให้เกิดพลังกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุ่งเป้าต่อเนื่องไปสู่เป้าหมายหลักของการอบรมสุขภาวะวันนี้ด้วยเวลากว่า 4 ชม. คือ "ผมอยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์หลังเจ็บป่วยที่เกือบเอาชีวิตไม่รอดและฟื้นพลังชีวิตของตนเองด้วยการเรียนรู้แบบลงมือกระทำทันที (Immediate Doing) ตื่นรู้ (Knowing of Consciousness) และเข้าใจริง (True Understanding) และฝึกฝนทุกวันทุกศาสตร์มากกว่า 2 ปี จนเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตนเอง (Self-transformation) ด้วยการใช้ชีวิตสมดุลกาย-จิต (คิดกับอารมณ์)-สังคมได้พอเหมาะแบบอยู่ตัว (ทบทวนปรับปรุงตนเองให้ยืดหยุ่นพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงรับรู้สึกสิ่งใหม่ๆ อยู่ทุกวัน) หรือ Flexible Being of Brain & Body then Becoming self-readiness for dynamic changes และตั้งเป้าหมายใน 15 ปีแห่งการใช้ชีวิตที่กลายเป็นคนดีขึ้นเรื่อยๆ ตามที่ Rumi เขียนไว้คือ "Yesterday I was clever, so I wanted to change the world. Today I am wise, so I am changing myself และตาม NLP Presupposition ที่ว่า "There is no failure, only feedback." นั่นคือเกิด Social Awareness พร้อมๆกับ Self-Improvement for Social Responsibility นี่คือ Logical Levels of change ของผมที่ตั้งคำถาม...อ่านบันทึกที่นี่...จากสิ่งแวดล้อมสู่วิสัยทัศน์แห่งการทำความดีด้วยสติสัมปชัญญะ (Mindfulness) ทุกๆวันจนถึง 15 ปีก่อนสิ้นชีวิตของผม - ดูผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนตื้นเต้นที่ ผศ.ดร.อย่างผมดูคล่องแคล่วมีชีวิตชีวาอ่อนเยาว์กว่าอายุจริงและพร้อมใจกันปรบมือยินดีกับการฟื้นพลังชีวิตของตนเองสู่การจัดการสุขภาวะสังคมด้วยกิจกรรมบำบัดศึกษาบูรณาการศาสตร์ต่างๆ

กิจกรรมช่วงเปิดงานที่ผมต้องขอบพระคุณจิตแพทย์ Dr. Abdul Kadir Abu Bakar ผู้อำนวยการ รพ. Permai ที่มีจิตวิญญาณแห่งวิสัยทัศน์ของการบูรณาการทุกสรรพสิ่งเพื่อเพิ่มสุขภาวะของตนเอง คนรอบข้าง และผู้มีประสบการณ์สุขภาพจิตพร้อมครอบครัว-ผู้ดูแล-สังคมมาเลเซีย ที่ถือเป็นต้นแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ยอดเยี่ยมของผมครับ

Dr. Kadir ได้เล่าเรื่องราวที่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์แห่งสุขภาวะ ที่เน้นว่า "Happiness is One Pillar of Health." ซึ่งผมได้ค้นคว้าข้อมูลของ WHO ก็พบความน่าสนใจมากมาย เช่น 10 Pillars a healthy life จนถึง 4 Pillars of Healthcare Systems และ 7 Pillars of Health

ท่านผอ.เน้นความรู้ใหม่ๆ ที่ผู้เข้าอบรมหลายท่านที่เป็นแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข รวมทั้งกระบวนกรอย่างผม ดังนี้:-

  • วันแห่งความสุขระดับโลกคือ วันที่ 20 มีนาคมของทุกปี
  • Happiness ที่แท้จริงคือ Goodness ที่หล่อหลอมมาจากพันธุกรรม-การเลี้ยงดู 50% รูปแบบการใช้ชีวิต 10% และการฝึกควบคุมสติสัมปชัญญะของตัวเองถึง 40% ดังนั้นการสร้างสัมพันธภาพกับคนรอบข้างในครอบครัว เพื่อน และกัลยาณมิตรอย่างน้อย 40 คน ก็เป็นการพัฒนาทักษะสุขภาวะจิตสังคมที่ดีเยี่ยม
  • การเสริมสร้างสุขภาวะในการใช้ชีวิตแต่ละวัน ได้แก่ การออกกำลังเพื่อสุขภาพจิตใจ-ร่างกาย-สังคม-การเงิน-จิตวิญญาณ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เฉพาะเวลาที่หิว (ควรทานปริมาณพอเหมาะและหาเวลา 2 วันต่อสัปดาห์ในการพักผ่อนระบบย่อยอาหาร ควรศึกษาอาหารที่ควรบริโภคของ WHO) การปรับปรุงนิสัยที่แย่ให้ดีขึ้นต่อสุขภาวะ และการเสริมสร้างสุขภาวะด้วยการลงมือทำกิจกรรมความสุข (คล้ายกับกิจกรรมต้านซึมเศร้า) ได้แก่ การได้รับและมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ที่เป็นบวกโดยไม่ได้ตั้งใจ การหมั่นเฝ้ามองทุกชีวิตและสรรพสิ่งด้วยความพอใจและความมีปัญญา การได้รับคำชื่นชมยอมรับจากผู้อื่น การได้มีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่นรวมทั้งการบริจาคที่สมดุลกับการใช้เงินอย่างพอเพียง การฝึกสติสัมปชัญญะวิปัสสนากรรมฐาน-การทำสมาธิ-การสวดมนต์-กิจกรรมทำความดีด้วยความพอใจกับความเห็นอกเห็นใจสู่ความเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น
  • ประชากรประเทศญี่ปุ่นนับว่ามีความสุขตามการดำเนินชีวิตด้วยเคล็ดลับข้างต้นทำให้วัย 75 ปีถือเป็น Young Adult กับประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ผมได้ลองสืบค้นเพิ่มพบว่า การจัดกิจกรรมต่างๆ มิใช่สร้างสัมพันธภาพทั่วๆไป หากแต่เป็นการกระชับสัมพันธภาพหรือการสร้างความเข้าใจไมตรีระหว่างกัลยาณมิตร - Building Rapport ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส Rapprochement) โดยมุ่งเป้าหมาย คุณค่า และความหมายแห่งกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่สมองอยู่สุข สมองสร้างสุข และสมองพลังสุข ด้วยเหตุแห่งการฝึกฝนตนเองแบบตื่นรู้ อยู่ตัว และหัวใจงาม ตามลำดับ

ผมลองให้ทุกท่านสังเกตและติดตามดูว่ากิจกรรมต่างๆ ที่ผมได้จัดออกแบบให้นั่นเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและอย่างไรบ้างครับ

ช่วงหนึ่งชั่วโมงแรก ค่อยๆเกิดการจัดกลุ่มสำรวจตนเอง (Task-oriented group) ฟังเสียงระฆังหนึ่งครั้งให้หลับตาแล้วยืนอยู่นิ่งเพื่อทบทวน State of Being ผ่านกระบวนการที่น่าสนใจของ Eudoimonia ให้ผ่อนคลาย ใช้ความรู้สึกที่หัวใจ ลมหายใจ และปล่อยวางความคิด และถ้าเคาะสองครั้งให้เคลื่อนไหวตนเองไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ เน้นการสบตา ยิ้ม นิ่งฟังอย่างตั้งใจนาน 3 วินาทีก่อนตั้งใจเริ่มพูดของตนเอง การทบทวนสิ่งที่ได้ลงมือทำ-รู้-เข้าใจระหว่างกัน และสรุปประเด็นของเพื่อนเสริมกับสิ่งที่รู้ในตัวตน โดยตั้งอยู่บนหลักแห่งกาดำเนินสติอยู่กับภาวะปัจจุบัน (New Awareness) ต่อยอดไปสู่การจัดกลุ่มพัฒนาสัมพันธภาพ (Developmental group) เริ่มจากต่างคนต่างทำแบบคู่ขนาน (Parallel group) แต่มีกิจกรรมหนึ่งที่ผมลืมเนื้อเพลงแต่ก็บอกกัลยาณมิตรทุกท่านว่า หลับตาร้องเพลงนี้สามารถคิดน้อยๆ ไม่แคร์ผิดถูก เพราะร้องออกแบบจากหัวใจ ผมก็เลยคิดต่อว่า เสียดายมิได้เตรียมบทเพลงนี้เหมือนกับครั้งก่อนที่ทำกิจกรรมนี้กับท่านผอ.และทีมงานจนประทับใจ งั้นเรามาฟังเพลงนี้ที่นี่ [Citation with acknowledgement at Youtube PLUM VILLAGE SONG]

ณ ตรงนี้ ที่ใจฉันสุข (Happiness is here and now)

Happiness is here and now,

I have dropped my worries,

no where to go,nothing to do,

no longer in a hurry.

Happiness is here and now,

I have dropped my worries,

somewhere to go,something to do,

but not in a hurry.

ณ ตรงนี้ ที่ใจฉันสุข

สุขเมื่อปล่อยวางความกังวล

ไม่ไปที่ไหน ไม่ทำเรื่องใด

เราจึงไม่...ต้องรีบเร่ง

ณ ตรงนี้ ที่ใจฉันสุข

สุขเมื่อปล่อยวางความกังวล

จะไปที่ไหน จะทำเรื่องใด

แต่เราก็ไม่...ต้องเร่งรีบ

ช่วงหนึ่งชั่วโมงสุดท้าย ให้ทำกิจกรรมร่วมกันปั่นดินวาดรูปและจัดท่าทางถ่ายรูปกลุ่ม แบบอึดอัดเขินๆ ที่จะพูดคุย (Project group) และขยายไปสู่การออกแบบละครใบ้ห้าฉากรวมแสดงเป็น 5 กลุ่มที่เน้นการคลี่คลายความทุกข์ให้จบแบบสุขมากขึ้นหรือสุขๆทุกข์ๆ แบบช่วยกันคิดช่วยกันทำ (Egocentric group) และมีการจับคู่เพื่อฝึกจิตใต้สำนึก (จิตสำนึกที่ปราณีตขึ้นให้พัฒนาความเข้าใจตนเองตั้งแต่สิ่งแวดล้อม-ทักษะ-ศักยภาพ-ความเชื่อ-การรู้จักตนเอง-วิสัยทัศน์ในการพัฒนาตนเองในอีก 15 ปีข้างหน้า) เน้นการจัดกลุ่มอารมณ์ร่วม (Cooperative group) และสุดท้ายการใคร่ครวญสะท้อนความคิดของตนเองหลังการผ่อนคลายสมองใน 4 ท่าๆละ 5 ครั้งของ Brain Gym ในการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ฝึกฝนต่อในชีวิตภายใน 15 นาทีทั้งบันทึกและอีก 15 นาทีก่อนจบการอบรม (Mature group)

หมายเลขบันทึก: 605251เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2016 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2016 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

-สวัสดีครับพี่หมอ..

-กิจกรรมบำบัดแบบเพลิน ๆ กับความสุขนะครับ อิๆ

-"สุขเมื่อปล่อยวางความกังวล"สุดยอดเลยครับ...

-เป็นกำลังใจให้นะครับ...

-กิจกรรมบำบัดของ"ป้ามาลินี"คือ"การปลูกผักพื้นบ้าน"ครับ 555

ขอบพระคุณมากครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง พี่นงนาท และพี่ดร.เปื้น

ขอบพระคุณมากครับ อ.จันทวรรณ พี่โอ๋ และอ.วินัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท