บทบาทของนัการเงินและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC


หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม เข้าร่วม AEC

AEC หรือ Asean Economics Community

คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายกับกลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า ( สินค้าอ่อนไหว )



เป้าหมายสำคัญของการเป็น AEC

1. การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วม - ให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานมีฝีมือย่างเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น

2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอาเซียน - การสร้างความสามารถในด้านต่างๆ เช่น นโยบายการแข่งขัน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ)

3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค - การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิก และลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่า และใหม่ เช่น การสนับสนุนการพัฒนา SMEs

4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก - การร่วมกลุ่มเข้ากับประชาคมโลก โดยเน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี และการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่าย เป็นต้น

5. การสร้างอำนาจต่อรอง – การรวมตัวกันของประเทศสมาชิกทำให้ขนาดเศรษฐกิจของภูมิภาคมีขนาดใหญ่ขึ้นแบบเดียวกันกับ EU

โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆ ดังนี้

พม่า : สาขาเกษตรและประมง มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้ ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์ สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN)

การให้ทุนการศึกษากับนักศึกษาใน 5 ประเทศ ที่ CIMB ดำเนินธุรกิจอยู่

ตัวอย่างยุทธศาสตร์ของ CIMB นั้นชัดเจนว่าต้องการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายธุรกิจข้ามชาติของตัวเอง ซึ่งจะคล้ายๆ กับกลุ่มทุนโทรคมนาคมข้ามชาติ ที่เปิดให้โทรศัพท์ข้ามประเทศ (แต่ยังอยู่ในเครือข่ายของตัวเอง) โดยไม่ต้องเสียค่าโรมมิ่ง เพื่อสร้างจุดเด่นในสายตาผู้บริโภค

นอกจากนี้ CIMB ยังใช้ประโยชน์จากการเกาะกระแสประชาคมอาเซียนที่เห็นได้เด่นชัดว่าจะมาแรงในอนาคต ช่วงชิงภาพลักษณ์ของความเป็นธนาคารที่เน้นภูมิภาคอาเซียนก่อนคู่แข่ง และยังพยายามใช้ประโยชน์จากการประหยัดโดยขนาด (economy of scale) โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีร่วมกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและลดความซับซ้อนของระบบไอทีในระยะยาวอีกด้วย



http://www.siamintelligence.com/asean-bank-cimb-uob-free-atm-fee/

http://www.thai-aec.com/41#ixzz43vbCHxrh



หมายเลขบันทึก: 605094เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2016 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2016 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท