ปัญญา ๓ ฐาน : ชีวิตวัยรุ่น


บันทึกนี้ ขอเล่าถึงปัญญา ๓ ฐาน ซึ่งไม่ใช่หลักวิชาการหรือการตีความทฤษฎี แต่เป็นการเข้าใจเเละใช้ฐานของปัญญาอย่างรู้กาย รู้ใจ เเละรู้คิด เอาสติเป็นที่ตั้ง ให้สติรู้ทันจิต จากภายนอกที่เข้ามากระทบให้ภายในแปรปรวน เป็นข้อสังเกตจากจินภาพภายใน โดยฐานปัญญาของคนเรามี ๓ ฐาน ได้แก่ ฐานกาย ฐานใจ เเละฐานคิด ความเสี่ยงของปัญญาแต่ละฐาน คือ ฐานกาย(ความกลัว) ฐานใจ(อารมณ์ร้าย) เเละฐานคิด(ความฟุ้งซ่าน) ส่วนความสูงของปัญญาแต่ละฐาน คือ ฐานกาย(ความกล้า) ฐานใจ(ความไม่ไหวเอน) เเละฐานคิด(ความเเน่วเเน่,มั่นคง) ซึ่งปัญญาฐานต่างๆเหล่านี้อยู่กับเราในทุกลมหายใจ

ในเเต่ละช่วงวัยเราใช้ปัญญาต่างกันออกไปตามธรรมชาติ วัยเด็กประถมเราใช้ฐานกาย(เล่นซน) วัยรุ่นเราใช้ฐานใจ(อารมณ์แปรปรวน,ความรัก) เเละวัยผู้ใหญ่เราใช้ฐานคิด(ปรัชญา,คติธรรม) เเต่ละช่วงวัยเราจึงมีฐานปัญญาพื้นฐานแตกต่างกัน ระบบความคิด ความรู้ ความเข้าใจตนเองเเละเข้าใจโลกต่างกันเเต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทั้งคุณวุฒิเเละวัยวุฒิเป็นสำคัญ ในช่วงชีวิตในวัยรุ่นเป็นวัยแห่งความแปรปรวนทั้งด้าน กาย ใจ ความคิด สติปัญญา สังคม หรือ ส่วนอื่นๆ

ความไหวเอน

ในระดับฐานใจอย่างวัยรุ่น เเม้จะจริตใดก็ตามจะได้รับผลตามธรรมชาติของความแปรปรวนเป็นธรรมดา เมื่อมีสิ่งใดเข้ามากระทบจะยอมให้กระทบเเล้วจิตส่งออกนอกทันที เช่น ถูกวาจากร้าวจะกร้าวกลับ ถูกพยาบาทมาจะพยาบาทกลับ ถูกเหตุผลที่ไม่ตรงกับตัวตนจะเกิดความโกรธได้ง่ายมากๆ เพราะเป็นช่วงแห่งความแปรปรวน บางครั้งฟุ้งซ่าน ควบคุมภายในไม่ได้ เป็นอย่างนี้เพราะใช้ปัญญาฐานเดียวหรือสองฐาน ทำให้เกิด "การส่าย" เพราะน้ำหนักของปัญญาทั้ง ๓ ฐานไม่เท่ากัน เหมือนเรากำลังขับรถ ๓ ล้อ ล้อเเรก คือ ฐานคิด ส่วนสองล้อหลัง คือ ฐานกาย เเละฐานใจ เรามีบทบาทเป็นคนขับรถ เมื่อล้อหนึ่งเสียหายก็ย่อมส่งผลทำให้รถทั้งคันส่ายได้ เหมือนกันกับช่วงวัยรุ่นนี้ที่เปี่ยมด้วยฐานใจ บางครั้งใจเกิดอารมณ์เป็นลบมากๆจากการกระทบของภายนอก ทำให้ตัวเราส่าย หรือไหวเอนได้ทั้งตัวเช่นเดียวกัน

วิธีการ คือ ให้ลองฝึกปัญญาในอีก ๒ ฐานที่เหลือให้มีความหนักแน่นหรือดีพอที่จะสร้างความสมดุลให้แต่ละฐานวิ่งไปด้วยกันได้
การฝึกฐานกาย คือ ให้หากิจใดทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง ครอบครัว สังคม หรือ สังคมการเรียนรู้
การฝึกฐานคิด คือ ให้คิดบวก คิดในเรื่องทำ คิดหาวิธีการสร้างประโยชน์สุข มองการไกล พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณาความตาย
การฝึกฐานใจ คือ ให้วางอารมณ์ตนเองในแบบอุเบกขา ยินดีไม่หลง ยินร้ายไม่หลง
ให้เอาตัวสติเป็นที่ตั้งไปกำหนดรู้ เเต่ไม่ใช่ไม่เคร่งจับจนเกินไป ให้ฝึกมอง ฐานสติ โดย
ฐานกาย ให้มองพฤติกรรมตนเอง การกระทำ ตนทำดีหรือไม่ไม่ดี เเล้วรีบแก้ไขพฤติกรรมของตน หรือ เห็นกาย (ข้อนี้เห็นง่ายที่สุด)
ฐานคิด ให้มองความคิดของตน จะมีความคิดเดิม เเละความคิดจรเข้ามาอยู่เป็นประจำ "ภาวนาคิดหนอๆๆ" หรือ เห็นจิต(อนัตตา) (ข้อนี้อาจยาก เเต่ต้องฝึก)
ฐานใจ คือ ให้มองอารมณ์ สภาวะใจตนเองทั้งดี ไม่ดีเเละเฉย พยายามวางเเละวาง หรือ เห็นเวทนา (ข้อนี้เห็นได้ง่าย)
จากการพิจารณาทั้ง ๓ ฐานเเล้ว การเห็นธรรม จะเกิดขึ้นเเต่เราต้องฝึกเท่านั้น ความไหวเอนที่เกิดขึ้นจะไหวน้อยหรือไหมมากขึ้นอยู่กับการฝึกปัญญาทั้ง ๓ ฐานให้สมดุล

บริบทวัยรุ่นมหา'ลัย เป็นช่วงชีวิตแห่งความฟุ้งซ่าน สำคัญ คือ ให้ฝึกมองโลกตามความเป็นจริง ในโลกมีเเต่ความไม่เที่ยง ภาพมายา ไม่มีตัวตนทั้งนั้น
ล้วนเเล้วแต่ดับไปทั้งนั้น เป็นธรรมชาติเเละธรรมดา ความไหวเอนจะเกิดขึ้นเเน่นอนเเต่เราสามารถรู้เท่าทันเเละลดความไหวเอนนั้นลงได้ไม่มากก็น้อยขึ้นอยูกับสติ(การรู้เท่าทัน)เเละปัญญา(กลยุทธการวาง)




หมายเลขบันทึก: 604997เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2016 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2016 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท