Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคลกับพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้นำนักเรียน นักศึกษา จังหวัดนครปฐม


แพรภัทร ยอดแก้ว นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคล กับพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้นำนักเรียน นักศึกษา จังหวัดนครปฐม " ในการการประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ.2559 ม.มหิดล วันที 24-25 มีนาคม 2559

ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคลกับพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้นำนักเรียน นักศึกษาจังหวัดนครปฐม

The Relationship between Satisfaction of “Panithan D for the Auspicious Year” Project and EthicalBehaviors ofStudents Leadership in Nakhon Pathom Province.

แพรภัทรยอดแก้ว

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Email : [email protected]

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคลกับพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้นำนักเรียน นักศึกษาจังหวัดนครปฐม

กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้นำนักเรียน นักศึกษาจังหวัดนครปฐม จำนวน 246 คน การเก็บข้อมูลทำโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคล แบบสอบถามพฤติกรรมทางจริยธรรมวิเคราะห์ผลข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าF - test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ใช้นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

ผลการวิจัยพบว่า

1) ผู้นำนักเรียน นักศึกษา จังหวัดนครปฐม ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี มีพฤติกรรมทางจริยธรรม อยู่ในระดับดี

2) ผู้นำนักเรียน นักศึกษา จังหวัดนครปฐม ที่มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวมแตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ.05 ทั้งโดยรวมและรายด้าน

3) ความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคลกับพฤติกรรมทางจริยธรรม มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

คำสำคัญ:ความพึงพอใจ, พฤติกรรมทางจริยธรรม,โครงการปณิธานความดี ปีมหามงคล, นักศึกษา

Abstract

The purposes of this research were to study The Relationship between Satisfaction of “Panithan D for the Auspicious Year” Project and EthicalBehaviors ofStudents Leadership in Nakhon Pathom Province.

The sample group are246Students. Data were collected by using 3 sets of questionnaires: demographic data, Satisfaction, and EthicalBehaviors of students.

Data were analyzed by percentage, frequency, mean, standard deviation, F-test and Pearson coefficient. Level of statistical significance used in the analysis is 0.5.

Major findings were as follows :

1. Students Leadership were the Satisfaction “Panithan D for the Auspicious Year” Project were at good leveland the EthicalBehaviors was at high level at the 0.05 level.

2. Students Leadership were the Satisfaction “Panithan D for the Auspicious Year” Project different the EthicalBehaviors of students different with the statistic significantly at the 0.01 and 0.05 level.

3.The Relationship between the Satisfaction of Satisfaction “Panithan D for the Auspicious Year” Project and EthicalBehaviors were a positive correlation at the 0.01 level.

Keyword :Satisfaction , EthicalBehaviors , “Panithan D for the Auspicious Year” Project,Student

สรุปผลและอภิปรายผล

1. ปัจจัยส่วนบุคคล

พบว่า ผู้นำนักเรียน นักศึกษา จังหวัดนครปฐมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน 156 คน คิดเป็นร้อยละ 63.4 ระดับการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 41.9 โรงเรียน/สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม จำนวน 103คนคิดเป็นร้อยละ 41.9 อำเภอเมือง จำนวน 152คนคิดเป็นร้อยละ 61.8

2. ความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี

พบว่าผู้นำนักเรียน นักศึกษาในจังหวัดนครปฐมส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคลอยู่ในระดับดี (×̅ = 4.68)จำนวน 228 คน คิดเป็นร้อยละ 92.7ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของแพรภัทรยอดแก้ว (2559) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียนโดยการอ่านหนังสือนิทานธรรมะ ในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐมผลการวิจัยพบว่า นักเรียน มีระดับความพึงพอใจในกิจกรรมอ่านหนังสือนิทานธรรม อยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับงานวิจัยของแพรภัทรยอดแก้ว (2557) ความพึงพอใจของเยาวชนท้องถิ่นที่มีต่อศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐม ผลการวิจัยพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านพระอาจารย์ผู้สอน ด้านวิชาการ ด้านอาหารกลางวัน ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม

3.พฤติกรรมทางจริยธรรม

พบว่าผู้นำนักเรียน นักศึกษา ในจังหวัดนครปฐม ส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวม อยู่ในระดับดี(×̅ = 4.26)และเมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่าด้านอปจายนะ(×̅ = 4.35)ด้านอนุโมทนา (×̅ = 4.05) ด้านเวยยาวัจจะ (×̅ = 3.98) ด้านทาน(×̅ = 3.92) ด้านทิฏฐุชุกัมม์(×̅ = 3.91) ด้านปัตติทาน(×̅ = 3.83) ด้านภาวนา(×̅ = 3.82)ด้านธัมมัสสวนะ(×̅ = 3.58) ด้านศีล(×̅ = 3.56) และด้านธัมมเทสนา(×̅ = 3.40)มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมอยู่ในระดับดี ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของแพรภัทรยอดแก้ว (2559) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียนโดยการอ่านหนังสือนิทานธรรมะ ในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐมผลการวิจัยพบว่านักเรียน มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวม อยู่ในระดับดี

สอดคล้องกับงานวิจัยของแพรภัทรยอดแก้ว (2557) ศึกษาเรื่อง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 และพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐม ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ได้แก่ 1.ทานมัย (รู้จักให้) 2.สีลมัย (มีวินัย) 3.ภาวนามัย (ใจสะอาด) 4.อปจายนมัย (มารยาทดี) 5.ไวยยาวัจมัย (มีจิตสาธารณะ) 6.ปัตติทานมัย (เสียสละเพื่อผู้อื่น) 7.ปัตตานุโมทนามัย (ชื่นชมความดี) 8.ธัมมัสสวนมัย (ใฝ่รู้สิ่งไม่มีโทษ) 9.ธัมมเทสนามัย (ชี้นำคุณประโยชน์) 10.ทิฏฐุชุกัมม์ (เชื่อกฎแห่งกรรม) และนักเรียนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีพฤติกรรมทางจริยธรรมอยู่ในระดับดีและสอดคล้องกับงานวิจัยแพรภัทรยอดแก้ว (2556) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษาโปรแกรมสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ด้วยโครงการเพิ่มพลังการศึกษาด้วยหนังสือธรรมะของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโกผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาโปรแกรมสังคมศึกษา ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี มีพฤติกรรมทางจริยธรรม อยู่ในระดับสูง

และสอดคล้องกับงานวิจัยของแพรภัทรยอดแก้ว และญาณภัทรยอดแก้ว (2553) ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษากับพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม มีพฤติกรรมทางจริยธรรม อยู่ในระดับดี และทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษา อยู่ในระดับดี

4.การเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดีของผู้นำนักเรียน นักศึกษา จังหวัดนครปฐมจำแนกตามระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวม

พบว่าผู้นำนักเรียน นักศึกษา จังหวัดนครปฐม ที่มีระดับพฤติกรรมทางจริยธรรมโดยรวม แตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโดยรวมและรายด้าน

5.ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคล กับพฤติกรรมทางจริยธรรม

พบว่าความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดีกับพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้นำนักเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกโดยรวม(r =.213) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของแพรภัทรยอดแก้ว (2557) ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อการอ่านหนังสือธรรมะในโครงการเพิ่มพลังการศึกษาด้วยหนังสือธรรมะของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก และพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อการอ่านหนังสือธรรมะ กับพฤติกรรมทางจริยธรรม มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และระดับ .05

และสอดคล้องกับงานวิจัยของแพรภัทรยอดแก้ว และญาณภัทรยอดแก้ว (2553) ศึกษาเรื่อง แพรภัทร ยอดแก้ว ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษากับพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติที่มีต่อการศึกษาธรรมศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมทางจริยธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


เอกสารอ้างอิง

นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในโครงการปณิธานความดี ปีมหามงคล กับพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้นำนักเรียน นักศึกษา จังหวัดนครปฐม " ในการการประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ.2559 ม.มหิดล วันที 24-25 มีนาคม 2559 ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/user/praepat/profile

หมายเลขบันทึก: 604519เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2016 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2016 12:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์มีงานวิจัยที่น่าสนใจมากหลายเรื่องเลยนะคะ น่าจะหาเจ้าของภาษาช่วยอ่าน abstract เพื่อดูว่าจะเข้าใจตรงกับที่เราต้องการสื่อหรือไม่ด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท