nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

สังคม ส.ว.


ได้อ่าน "จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน" ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒๓ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ นับเป็นครั้งแรกที่ได้อ่านจดหมายข่าวของรัฐบาลชุดนี้แม้จะทราบดีว่ามีให้อ่านนานแล้ว แต่ก็ไม่เคยเจอให้อ่านสักที แต่แหม๋ พอได้อ่านแล้วก็ทำให้มีต้นทุนของเรื่องที่จะบันทึกใน G2K ได้เลยทีเดียว

คงจะเอาเรื่องที่อ่านแล้วรู้สึกว่าใกล้ตัวที่สุด นั่นคือ คอลัมน์ สุขภาพ สาธารณสุข ซึ่งเป็นเรื่อง นโยบายเพื่อสังคมผู้สูงวัย เน้นเข้าใจ เข้าถึง และพึ่งได้ แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่า ผู้เขียนบันทึกจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยนะครับ ณ บัดนี้ยังเดินมาได้แค่เกือบครึ่งเท่านั้นเองครับ

ในข่าวบอกว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าไม่ถึง ๑๐ ปีข้างหน้าจะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึง ๑ ใน ๕ ของประชากรทั้งประเทศ

เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนตรงกัน ผมขอนำคำนิยาม คำจำกัดความ ของผู้สูงอายุ จากองค์การสหประชาชาติมาอธิบายนะครับว่า ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ส่วนในสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า

  • ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง ซึ่งในการศึกษารวบรวมข้อมูลประชากรผู้สูงอายุได้แบ่ง ผู้สูงอายุเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุตอนต้น และผู้สูงอายุตอนปลาย
  • ผู้สูงอายุตอนต้น หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชายและหญิง
  • ผู้สูงอายุตอนปลาย หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง

(ข้อมูลจาก http://www.lib.ru.ac.th/journal/apr/apr13_op_def.h...)

(ภาพจาก : จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน)

ในการนี้ รัฐได้เตรียมความพร้อมโดยกำหนดนโยบายเพื่อสังคมผู้สูงวัย เน้นเข้าใจ เข้าถึง และพึ่งได้ โดยจะดูแลทั้งผู้สูงวัยที่ช่วยตัวเองได้ และผู้สูงวัยที่มีอาการเจ็บป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ด้วย ซึ่งก็ว่ากันไปตามระบบของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการ ทั้งนี้ผมเห็นว่าปัจจุบันบ้านเมืองเราก็ให้การดูแลผู้สูงอายุเป็นพิเศษอยู่แล้ว อย่างเวลาไปหาหมอก็จะมีคิวผู้สูงอายุแยกต่างหากจากประชาชนทั่วไป ทำให้การบริการได้เร็วขึ้น การบริการโดยสารสาธารณะก็มีการลดค่าเดินทาง หรืออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ หรืออื่นๆ ที่พอจะพบเห็นได้

ส่วนตัวผมนั้น หลับคิดว่า ผมได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งนานแสนนานมาแล้ว เพราะชีวิตผมส่วนมากชอบอยู่กับผู้สูงวัยกว่า อย่างเมื่อเรียนจบใหม่ ๆ เริ่มทำงานนั้น ก็จะเข้าไปเป็นเด็กสุดในที่นั้น ๆ ก็จะมีป้า ๆ มาคอยให้การดูแลเรื่องข้าวปลาอาหาร ส่วนผมก็ตอบแทนเขาโดยการดูแลสุขภาพ ทำโน่นนี้ให้ในฐานเด็กต้องช่วยเหลือและดูแลผู้ใหญ๋ และก็มักจะเจอลักษณะนี้เสมอมา

ผมชอบช่วยเหลือผู้สูงอายุ ด้วยเหตุผลที่ว่า ถ้าเราช่วยเหลือคนแก่คนอื่น ๆ ต่อไปถ้าพ่อแม่เราแก่ก็จะมีคนมาช่วยเหลือด้วย ยิ่งนานวันเข้าพ่อแม่ผมก็มีอายุมากขึ้นทุกวัน และปัจจุบันในบ้านก็จะมีป้า ป้า ลุง ๆ ซึ่งมีอายุมาก ๆ อยู่ในรั้วบ้านเดียวกัน ต้องดูแล คอยถามไถ่ พอพาไปหาหมอ ทำกิจบางอย่างที่เข้าไม่สามารถทำเองได้ นี่แหละ ที่ทำให้ผมรู้สึกว่าผมได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมานานแล้ว จนบางครั้ง ก็ยังรู้สึกว่า เราก็ทำตัวคล้าย ๆ กับผู้สูงอายุไปด้วยแล้ว เช่น อาการบ่นเด็ก ๆ สมัยนี้ว่าไม่เหมือนสมัยโน้น สมัยนี้ อาการย้ำคิด ย้ำทำ หรือหลง ๆ ลืม ๆ อะไรทำนองนี้

แต่อย่างไรก็ตามจะวันนี้หรือวันไหน ๆ จะอนาคตเป็นอย่างไร สังคมจะเปลี่ยนจากสังคมคนหนุ่มสาวไปสู่สังคมคนมีอายุมาก ๆ ก็ตาม ยังไงก็หนีกันไม่พ้น ตอนนี้เมื่อรู้แล้วว่าในเร็ว ๆ นี้สังคมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เราก็ต้องเตรียมตัวและปรับตัวให้เข้ากับสังคมนั้น ๆ ให้ได้ เป้าหมายส่วนตัวก็คือ ทำอย่างไรที่จะเป็นผู้สูงอายุที่มีจิตใจหนุ่มสาว ทำอย่างไรก็จะมีมุมมองทันสมัยไม่ล้าหลัง ทำอย่างไรที่จะไม่เป็นอุปสรรคและปัญหากับสังคม นี่ต่างหากที่สำคัญกว่าความรู้สึกที่จะต้องกังวล

ป.ล. อีก ๑๐ ข้างหน้า จะว่าไปผมก็ยังไม่มีคุณสมบัติในการเป็นสมาชิกสังคมนี้นะครับ ...

หมายเลขบันทึก: 604461เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2016 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2016 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

...ไม่ว่า..จะเป็นอย่างไรในสังคม..ที่ไม่แยก..ขั้นตอน...ทุกรูปทุกนาม..ตาย..คนเดียว..ทั้งนั้น..(ในที่ตาย)...

มีดอกไม้มาฝาก..มีเมตตา..มาเผื่อแผ่กันและกัน.".สังคมอยู่ด้วยรักและเมตตาต่อกัน.."...

ชอบเรื่องนี้ครับ

รออ่านอีกครับ

ยิ่งเริ่มเตรียมตัวไว .... จะได้ชราอย่างมีความสุข ชราอย่างมีคุณภาพนะคะ ^_,^

ดิฉันเสนอแนะนะคะ ควรดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจตนเอง เริ่มจากฝึกสมองฝึกสมาธิโดยเขียนบันทึก gtk สัปดาห์ละเรื่อง เน้นมุมทองทางบสก เสนอเท่านี้ก่อนละกัน เพราะผู้เสนอยังทำไม้ค่อยๆ ได้เลย 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท