ฟูโกต์ กับ การปฏิรูปการศึกษา ตอนที่ 1


บทนำ

เมื่อมิเชล ฟูโกต์มีหน้าที่จะเรียกชื่อของตนใน the College de France ซึ่งได้รับตำแหน่งนี้มาหลายปี เขาได้เลือกชื่อ ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์เรื่องระบบความคิด (Professor of History of System of Thought) ชื่อดังกล่าวดูเหมือนจะเสแสร้งอวดดีต่อการวิพากษ์ของเขา แต่ปรัชญาการวิพากษ์ที่เขามีต่อสิ่งต่างๆก่อนที่เขาจะตายในปี 1984 ก็เหมาะแล้วกับชื่อของเขา ถึงแม้ว่าคู่ปรับอันดับต้นๆของเขาที่ชื่อ Jurgen Haberma (ได้รับอิทธิพลของสำนัก Frankfurt) ซึ่งถูกฟูโกต์วิพากษ์ ก็ได้สรรเสริญนามของเขาหลังจากไว้ว่า “ภายในกลุ่มนักปรัชญาในยุคของตน ซึ่งวินิจฉัยยุคสมัย ฟูโกต์ส่งอิทธิพลต่อคนรุ่นหลังราวกับจะเป็นจิตวิญญาณแห่งยุคสมัย”

งานที่ต่อเนื่องของฟูโกต์ประการหนึ่งก็คือวิธีการวิพากษ์งานยุคแรกๆของเขา วิธีการที่เป็นมาตรฐานที่ฟูโกต์ใช้วินิจฉัยความบ้าของสังคมมวลชน โดยการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของสถาบันเฉพาะในการควบคุมสิ่งทั้งหมด และดูว่าสถานที่ต่างๆเป็นจักรวาลเล็กๆ (microcosm)ของพลังอันยิ่งใหญ่กว่าได้อย่างไร โรงเรียนต่างๆ, โรงพยาบาลรักษาคนบ้า, และคุก: สิ่งนี้และสถาบันอื่นๆ แสดงให้เห็นถึงยุทธวิธีต่างๆในการที่วัฒนธรรมจะใช้หลอมรวมความแตกต่าง, สร้างตัวตนขึ้นมา, และจัดการกับความสามัคคี (manage collective power)

ในทางตรงกันข้าม บุคคลที่เชื่อว่าสังคมตะวันตกมีความเชื่อในเรื่องวิวัฒนาการของมนุษย์ (March of Progress) ที่เป็นไปตามลำดับขั้น (ตั้งแต่มนุษย์ยุคแรกเริ่มต่อมาจนเป็นมนุษย์อย่างเราทุกวันนี้) แต่ฟูโกต์เตือนเราในเรื่องการคิดในแง่ดีเหล่านั้น จริงๆแล้วก็มีการเรียกร้องให้ผู้อ่านมองดูสิ่งต่างๆอย่างพินิจพิเคราะห์ ผู้อ่านจะเห็นเองว่าจะมีวิธีการที่สลับซับซ้อน ซึ่งอำนาจจัดการกับคนอื่น ในหนังสือชื่อ ประวัติศาสตร์ของเพศวิถี (the history of sexuality volume 1) เล่มที่ 1 ของเขา ฟูโกต์จะเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เป็นแบบมาตรฐานในยุคนั้น เช่น ประชาชนต้องเก็บกด และต้องไม่แสดงออกในเรื่องทางเพศ (วัฒนธรรมแบบวิคตอเรียน) แต่ทุกวันนี้เรามีอิสระทางเพศมากขึ้น ทุกวันนี้ไม่มีใครตำหนิเรื่องเกย์ ชายหรือหญิงแท้ เป็นอนุรักษ์นิยม หรือพวกสำส่อนทางเพศอีกต่อไป เป็นยุคที่การหย่าร้างก็ไม่มีความผิด และ “จงมีชีวิต และพอใจที่อยู่ต่อไปเถอะ”

แต่ฟูโกต์มองเห็นประเด็นนี้ต่างออกไป ในขณะที่การห้ามในทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมทางเพศที่เป็นอนุรักษ์นิยมตอนนี้ได้ผ่านคลายลงและเสรีนิยมมากขึ้น (พวกศาลก็ไม่ได้ติดสินคนที่เป็นเกย์ให้เข้าคุกอีกต่อไป) แต่ฟูโกต์มองเห็นว่ากระแสทางกฎหมายบอกถึงความเป็นไปในสังคม งานของเขาจะแกะรอยเรื่องความแตกต่างเพียงเล็กน้อย บ่อยครั้งที่จะมีวิธีการที่แอบแฝง ซึ่งวัฒนธรรมของเราได้ดำเนินการที่จะบีบบังคับบรรทัดฐานทางเพศผ่านการศึกษา, วิธีการเลี้ยงดูเด็ก, รวมถึงการใช้ภาษาที่จะทำให้บุคคลคิดแต่ในเรื่องบรรทัดฐานเท่านั้น

หรืออาจพิจารณาเรื่องการปฏิรูปการศึกษาในปีนี้ก็ได้ ซึ่งเกี่ยวพันกับแนวคิดเรื่องระบบคุกของฟูโกต์ ฟูโกต์บอกว่าตนเองสนใจในเรื่องข้อเสนอของการสร้างคุก ซึ่งนำเสนอโดยนักปรัชญาอรรถประโยชน์นิยมที่ชื่อว่า Jeremy Bentham ตัวของ Bentham เองเรียกคุกที่เป็นข้อเสนอของเขาว่า the Panopticon ความคิดของเขาเกิดขึ้นมาจากความคิดที่คิดว่าคุกเป็นเพียงสิ่งที่ขังผู้กระทำผิด ซึ่งไม่เพียงพอที่จะให้การอบรมพวกเขาได้ สิ่งนี้นำมาซึ่งจุดสุดยอดของการเพิกเฉย (the height of negligence) ในความคิดของเขา เพราะอาชญากรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ควบคุมได้ (ซึ่งหมายถึงอาชญากรไม่ได้รับการสั่งสอนหรืออบรมจากบรรทัดฐานดีพอจนนำไปสู่การประพฤติความผิด) .ดังนั้นผู้คนที่รู้ว่ากำลังถูกจ้องมอง ก็จะมีการตระหนักถึงผลทางสังคมที่มีต่อการกระทำของพวกเขา และมีแนวโน้มว่าจะไม่ประพฤติผิดไปจากบรรทัดฐานเพื่อทำให้สังคมนี้อยู่รอดต่อไปได้the Panopticon ถูกออกแบบเพื่อให้อาชญากรรู้สึกว่าตนโดนตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ และอายที่จะกระทำผิด ห้องขังทุกห้องจะถูกให้หันหน้าเข้าหาผู้ควบคุม ทั้งคืนและวันกิจกรรมของอาชญากรจะอยู่ในการควบคุมของผู้ควบคุม ในบางแห่งอาจไม่มีการทำอย่างนี้ แต่ผู้กระทำผิดจะต้องรู้สึกเหมือนถูกควบคุมอยู่ตลอดเวลา

สำหรับฟูโกต์แล้ว ระบบคุกแบบ Panopticon สอนเราให้รู้เกี่ยวกับบางสิ่งที่สำคัญซึ่งอยู่ในวัฒนธรรมร่วมสมัยของเรา มันไม่ใช่การปฏิรูปคุกเท่านั้น ฟูโกต์เห็นว่าสังคมสมัยใหม่ คือ สังคมที่เราถูกจับตาอยู่ตลอดเวลา ในยุคของกล้องรักษาความปลอดภัย, อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กไฮเทคอื่นๆ, โทรทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์, กล้องดิจิตอล, ระบบอินเตอร์เน็ท เราจึงถูกทำให้รู้สึกว่ามีคนเฝ้าดูเราอยู่ตลอด ฟูโกต์สนใจเป็นอย่างยิ่งว่าทั้งที่เรารู้สึกว่ากำลังถูกจ้อมอง แล้วเราจะมีสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างไร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เราต้องมีการจัดระเบียบพฤติกรรมกับตนเองอย่างไร ในบางครั้งอาจนอกเหนือจากกฎหมายด้วย

จากตัวอย่างที่ยกให้ข้างบน งานของฟูโกต์จึงเป็นที่สนใจต่อนักปรัชญา, นักประวัติศาสตร์, นักสังคมวิทยา, นักมานุษยวิทยา และนักอื่นๆด้วย ในงานของฉันที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องการสื่อสาร งานของฟูโกต์ในเรื่องอำนาจของโครงสร้างภาษาที่เป็นการสร้างวินัยยังคงเป็นแรงบันดาลใจที่ดี (the disciplinary power of language structure)

แปลและเรียบเรียงจาก

David M. Cheshier. Foucault & Educational Reform


หมายเลขบันทึก: 604066เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2016 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2016 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีจ้ะอาจารย์ต้น

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันจ้ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท