24 มีนาคม...สำคัญอย่างไร?


วันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี ตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหา "วัณโลก" ที่ยังคงระบาดอยู่ในหลายส่วนของโลก ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนราว 1.6 ล้านคนต่อปีโดยเฉพาะในประเทศโลกที่สาม สาเหตุที่ตรงกับวันที่ 24 มีนาคมเนื่องจากในวันนี้เมื่อปี ค.ศ. 1882 (พ.ศ. 2425) ดร. โรเบิร์ต คอค ได้ประกาศการค้นพบสาเหตุของวัณโรค คือ เชื้อแบคทีเรีย "ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส" (Mycobacterium Tuberculosis) โดยในขณะที่คอคได้ประกาศความสำเร็จที่เมืองเบอร์ลินนั้น ....วัณโรคได้ระบาดไปทั่วยุโรปและอเมริกา และเป็นสาเหตุการตายของประชากร 1 ในทุกๆ 7 คน .... การค้นพบของคอคถือเป็นการบุกเบิกวิธีการรักษาและวินิจฉัยวัณโรค

ในปี ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) ซึ่งเป็นวาระครบ 100 ปีของการประกาศความสำเร็จของ ดร.คอค .... สหพันธ์นานาชาติเพื่อ ต่อต้านวัณโรคและโรคปอด (International Union Against Tuberculosis and Lung Disease; IUATLD) จึงประกาศให้วันที่ 24 มีนาคม เป็น "วันวัณโรคโลก" (World Tuberculosis Day) และในปีค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) องค์การอนามมัยโรค ได้ร่วมกับ IUATLD และองค์กรอื่นๆ ที่ตระหนักถึงภัยจากโรคนี้ร่วมรณรงค์เนื่องในวันวัณโรคโลกอย่างกว้างขวาง ้นะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก th.wikipedia.org/wiki


เมื่อมี อาการไอ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีไข้ต่ำๆ บางครั้งเสมหะมีเลือดปน หากเป็นเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป ต้องรีบปรึกษาแพทย์

1. การวินิจฉัยวัณโรคปอด

1. อาการและอาการแสดง อาการที่น่า สงสัยว่าเป็นวัณโรคปอด ได้แก่ อาการไอเรื้อรัง โดย เฉพาะหากไอนานเกิน 3 สัปดาห์ หรือไอเป็นเลือด สำหรับอาการอื่นๆ เช่น อาการเหนื่อย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เหงื่อออก ตอนกลางคืนหรือเจ็บหน้าอก อาจเป็นอาการของ วัณโรคได้ แต่มีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่าอาการ ไอเป็นเลือด

2. การถ่ายภาพรังสีทรวงอก เป็นการ ตรวจที่มีความเฉพาะเจาะจงต่ำ คือความผิดปกติที่ เห็นอาจจะไม่ใช่เกิดจากวัณโรคก็ได้ โดยอาจจะเป็น เงาเปรอะเปื้อนบนฟิล์ม เป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง หรือ เกิดจากโรคติดเชื้ออื่นๆ การที่จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็น วัณโรคปอดจึงต้องการทำร่วมกับการตรวจเสมหะาเชื้อวัณโรคด้วยเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการวินิจฉัยผิดพลาดและ การรักษาที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุด แพทย์จะให้ทำ X-RAY ปอด ค่ะ




2. การตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรค

2.1 การย้อมเสมหะและตรวจ ด้วยกล้อง จุลทรรศน์ Ziehl Neelsen เป็นวิธีที่ง่าย ได้ผลเร็ว สิ้น ค่าใช้จ่ายน้อย เป็นวิธีการวินิจฉัยโรคที่องค์การ อนามัยโลกกำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อกำหนดสูตรยา และผู้ป่วยที่เสมหะบวกโดยวิธีนี้สมควรที่จะได้รับ การรักษาโดยไม่ชักช้า ผู้ป่วยที่มีเงาผิดปกติของภาพ รังสีทรวงอกที่สงสัยว่าจะเป็นวัณโรคจะต้องได้รับ การตรวจเสมหะโดยวิธีนี้เพื่อยืนยันการวินิจฉัยทุก ราย ในทางปฏิบัติให้ตรวจเสมหะที่ผู้ป่วยไอออกมา ในโอกาสแรกที่พบแพทย์ และวันต่อๆมารวมเป็น 3 ครั้ง เพื่อความสะดวกของผู้ป่วยอาจจะให้เก็บเสมหะ ของผู้ป่วยที่มาตรวจในวันที่ 2 เป็น 2 ครั้ง คือเสมหะ ตอนเช้าและเสมหะขณะที่มาตรวจ วิธีเก็บเสมหะที่ ถูกต้องมีความสำคัญมากจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วย เข้าใจว่าต้องเป็นเสมหะที่ไอจากส่วนลึกของหลอด ลมจริงๆ ไม่ใช่นำน้ำลายมาตรวจ เสมหะที่ได้ควรส่ง ห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจโดยไม่ชักช้า ถ้าเก็บไว้ควร เก็บไว้ในตู้เย็น 40 ซ. แต่ไม่ควรเก็บนานเกินกว่า 1 สัปดาห์

2.2 การเพาะเชื้อวัณโรค และการ ทดสอบความไวของเชื้อต่อยา ควรทำการเพาะเชื้อ ในรายที่อยู่โรงพยาบาลที่สามารถจะทำการเพาะเชื้อ ได้หรือในรายสงสัยว่าจะเป็นวัณโรคแต่เสมหะไม่พบ เชื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัย




จะทำอย่างไรเมื่อเป็นวัณโรค

  • รับประทานยา สม่ำเสมอตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด ถ้ามีปัญหาปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดยา
  • หลังรักษาไป2-3 สัปดาห์ อาการจะดีขึ้นห้ามหยุดยาโดยเด็ดขาด
  • ใช้ทิสชู่ ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม
  • งดสิ่งเสพติด ทุกชนิด เช่น สุรา บุหรี่ ยาเสพติด
  • จัดบ้าน ให้แสงเข้าลมถ่ายเทเป็นอย่างดี
  • บ้วนเสมหะ ลงภาชนะที่มีฝาปิด แล้วทำลายโดยการต้มในน้ำเดือด 5-10 นาที
  • ผู้ที่อาศัยอยู่ด้วยกันโดยเฉพาะ เด็กควรไดัรับการตรวจร่างกาย x-ray และทดสอบผิวหนัง
  • กินอาหาร ได้ทุกชนิด




ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infe...




สรุปได้ว่า ... โรควัณโรค( Mycobacterium Tuberculosis : TB) ... เป็นโรคร้าย... เป็น ภัยร้ายทางอากาศ ... เราต้องรวมพลัง.....เร่งรัด....หยุดวัณโรค....และเราต้องรู้ทันวัณโรค...พบก่อน "รักษาหาย" .... เชื้อไม่แพร่กระจาย นะคะ


ขอบคุณค่ะ

24 มีนาคม 2559

หมายเลขบันทึก: 604045เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2016 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2016 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

-สวัสดีครับ

-ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับพี่หมอ..

-วันนี้ผมลองอาชีพใหม่...เป็นเด็กปั๊ม ครับ อิ ๆ

น้องเพชร ...เป็นเด็กปั้ม หรือ เป็นเจ้าของปั้ม น้ำมันค่ะ 555 ....

เด็กปั้น....ต้องแบบนี้ค่ะ ... น่าจะ เจ้าของปั๊มมากกว่า นะคะ


ขอบคุณมากค่ะที่นำมาเผยแพร่และช้วยกันป้องกันโรคอัตรายนี้...

ขอบคุณมากนะครับพี่เปิ้น ครับ

ขอบคุณสำหรับบันทึกความรู้

ที่นำมาแบ่งปันกันจ้าา


"...การย้อมเสมหะและตรวจ ด้วยกล้อง จุลทรรศน์ Ziehl Neelsen เป็นวิธีที่ง่าย ได้ผลเร็ว สิ้น ค่าใช้จ่ายน้อย ..."

I wonder why can't we have public screening programs (mobile, local hospital, clinic,...) so we can keep TB at bay in Thailand, especially, all AEC immigrants to insure TB-free region?

นี่เป็นความรู้ใหม่สำหรับผมเลย...
ได้ความรู้เชิงประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ และองค์ความรู้เรื่องสุขภาพอย่างเสร็จสพรรพ

ขอบพระคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท