การวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยสำหรับอาหารกลางวันของโรงเรียนขนาดเล็กตามโครงการ 9 บวร:สะท้อนความคิดเห็นโครงการ (16)


การวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยสำหรับอาหารกลางวันของโรงเรียนขนาดเล็กตามโครงการ 9 บวร

เมื่อวันอังคาร ที่ 22 มีนาคม 2559 ทีมวิจัยประกอบด้วย รศ.นท.ดร.สุมิตร สุวรรณหัวหน้าโครงการวิจัย ท่านอาจารย์อภิเดช ช่างชัยท่านอาจารย์ผศ.อรพรรณ ศังขจันทรานนท์ และผู้เขียน รวมไปถึงทีมวิจัยท่านอื่นๆและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 5 โรงเรียน ประชุมที่ห้องประชุมคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน โดยโรงเรียนทั้ง 5 โรงเรียนสะท้อนความคิดเห็นดังนี้

อาจารย์ที่เริ่มก่อนคือ ท่านอาจารย์อภิเดช ช่างชัย (อ.โต้ง)

อ โต้ง ให้ความรู้เรื่องสารเคมี ไม่ได้ไม่ดีไปหมดทุกอย่าง อาจทำให้ดินแข็งไปบ้าง เราสามารถใช้

อ โต้ง ได้เห็นวิถีชีวิต ที่แตกต่างจากสาธิต ความพร้อมของโรงเรียนสาธิต มีข้อดี นักเรียนมีร่างกายแข็ง นักเรียนมีทักษะการเกษตรฯ โดยการสอบถามนักเรียนเรื่องการทำไร่อ้อย อยากให้ส่งเสริมวิชาทักษะชีวิต อยากให้โรงเรียนปลูกได้ขายเป็น อยากให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก

อ อรพรรณ นักเรียนตั้งใจดี การแบ่งของให้รุ่นน้อง


1.สิ่งที่ได้เรียนรู้อะไร โรงเรียนหนองจิก

ขอบคุณคณะทำงาน ตั้งแต่แรก น่าจะ 5 ปี ขึ้น จากที่มีนักเรียนแค่ 80 คนตอนนี้มีนักเรียน 120 คน ปัจจุบันเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ตอนแรกตอน ผอ มารับตำแหน่งมีแค่ 70 คน สิ่งที่ได้เรียนรู้มี 3 ด้าน

1.ด้านกระบวนการเรียนรู้ มีครูที่จบเอกเกษตรฯ มาโดยตรง คุณครูมีทักษะเพิ่มเติม นักเรียนมีทักษะเพิ่มต้น โรงเรียนได้ผักที่งามในรุ่นแรกๆ ได้ถั่วฝักยาวมา เอาไปขาย 10 บาท แต่มีพ่อค้า มาเหมา ไปในกระบวนการเรียนรู้ส่งผลให้นักเรียนและครูค้นคว้า ต่อมาเลี้ยงไข่ไก่ โรงเรียน 6 หมื่น สพฐ ช่วย 6 หมื่น ได้จันทร์ พุธ ศุกร์ นักเรียนได้กินไก่ไข่ตลอดเวลา รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 2 ใส่กรงละตัว นักเรียนได้มีกระบวนการว่าได้เรียนรู้ว่าเก็บตอนไหน เอาขี้ไก่ไปทำอะไร ได้ปลูกพืชสมุนไพรทั้งหมด ได้ทำนาแบบโบราณ ทำไม้ผลแบบยั่งยืน ตอนนี้มีแก้วมังกร 3 ต้น อยากให้ปลูกมะเฟือง มะขวิด

2.ปัญหาอุปสรรคคืออะไร

1.ด้านบุคลากร ผอ ไม่ทราบว่าควรทำอย่างไร ได้ครูอนุพงษ์มาแทนครูที่ไปเป็นครูผู้ช่วย อยากปลูกผักไฮโดรฯด้วย ความรู้ความสามารถทางด้านเกษตรมีน้อย ต้องใช้เวลา

2. ด้านสภาพทั่วไป มีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ ใช้น้ำบาดาลรดผัก

3.สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป

1.ด้านบุคลากร ส่งครูมาอบรมสร้างความตระหนักรับรู้

2.แหล่งน้ำทำโครงการเกษตรฯ ส่งงบยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด น่าจะได้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเก็บน้ำฝนไว้ใช้ แต่ไม่รู้ว่าจะเก็บอย่างไร อยากเก็บน้ำใส่แท้งน้ำ อยากมีความรู้เรื่องพืชมาเรียนรู้

สิ่งที่นำเสนอเพื่อการพัฒนา

1.การทำปุ๋ยอินทรีย์

2.ความรู้เรื่องพืช สภาพฤดูกาล การปลูกพืช

3.การดูแลรักษาพืช

4.การปลูกพืชที่ไม่ใช้พื้นดิน

5. ไม่อยากให้โครงการทิ้งเรา อยากให้เป็นพี่เลี้ยงต่อไป ในส่วนของโรงเรียนจะช่วยกันดูแลโรงเรียนเล็กๆต่อไป…

2. สิ่งที่ได้เรียนรู้อะไร โรงเรียนห้วยผักชี

นักเรียนได้ปฏิบัติจริง นักเรียนได้เห็นผู้ปกครองทำกัน นักเรียนรู้สถานที่ทำงาน ได้เรียนรู้การพบปะบุคคลภายนอก นักเรียนกล้าซักถามกล้าพูดคุย นักเรียนกลัวเครื่องมือวัดความดัน

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน คือการหว่านเมล็ดผัก การตีหลุม แต่ละแปลงทำไม่เหมือนกัน แล้วมาคุยกันว่าแบบไหนดีกว่ากัน บางแปลงไม่ต้องคลุมดิน บางแปลงก็งามบางแปลงก็ไม่งาม ทำมันต้องปลูกแยกกัน นักเรียนจะเข้าออกตลอด

กิจกรรมตรงความต้องการ รวดเร็วตามความต้องการ มาอย่างรวดเร็ว กิจกรรมแบบนี้ทำได้ตรงประเด็นและเร็ว ได้ความรู้ ต้องบอกผู้ปกครองได้ว่า เรียนที่โรงเรียนห้วยผักชีแล้วได้อะไร ถ้าผักเหลือขายได้ ได้ความรู้ตามความต้องการ ปลาดุกถึงเป็นแบบนี้ ให้นักเรียนฝึกคิดวิเคราะห์

2.ปัญหาอุปสรรคคืออะไร

เริ่มมากปัญหาของพื้นที่ งบประมาณ เป็นโรงเรียนมีแต่ปูน ข้างใต้เป็นดินลูกรัง ยากต่อการทำการเกษตรฯ อุปกรณ์ในการทำการเกษตร น้ำในห้วยแห้ง ใช้ประปาหมู่บ้านอย่างประหยัด เพราะหมู่บ้านให้ใช้ฟรี หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านวัว นม ทัศนคติเรื่องความเชื่อ เรื่องการเลี้ยงปลา ตอนแรกกินอาหารเมล็ด ต่อมาเงินหมดให้กินปลวก คนละ 3-4 ตัวกิโลกรัม

3.สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป

ทำอย่างไร อยากปลูกที่อื่นได้บ้าง บ้านนักเรียนติดกัน ปลูกในขวดได้ไหม ปลูกในถังได้ไหม อยากทำอุโมงค์ผัก

3.ได้เรียนรู้อะไร โรงเรียนวัดไร่แตงทอง

กิตติมา ได้เรียนรู้วิธีการปลูกผัก ไม่ได้สารเคมี รู้จักการปลูกปลูกผักด้วยตนเอง นำผักมาเป็นอาหารกลางวัน เหลือไปขายด้วย

ปัญหาคืออะไร

ตอนแรกเป็นการลองถูกลองผิด


4.ได้เรียนรู้อะไร โรงเรียนอ้อกระทุง

รักษาการผู้อำนวยการฯ สิ่งได้เรียนรู้ 3 ด้านคือ

1 ด้านการบริหาร ได้นำโครงการไม่ได้เป็นผู้บริหารเต็มตัว โครงการนี้ทำให้มีภาวะผู้นำ ไม่ว่าจะไปราชการหรือกลับมาเสาร์อาทิตย์ ก็มาดูแปลงตามปกติ มหาวิทยาลัยเกษตรฯ ให้กำลังกายกำลังใจ มาช่วยโรงเรียน เราตั้งในแน่วแน่ให้โครงการอยู่ยั่งยืนสืบไป และจะทำเพื่อพ่อของเรา จะยึดถือเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

2 ครู สั่งการให้คุณครูได้ทำแผนการเรียนรู้ ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

ครูต้องจัดการเรียนรู้ว่าอะไรคือ head hand heart health ในที่ประชุมได้จัดทำฐานการเรียนรู้ เวลา 14.00-15.00 น จะให้อนุบาลทำเรื่องการปลูกถั่วงอก ทำโครงการเรื่องปุ๋ยชีวะภาค ทำปุ๋ยและการเพาะเห็ดนางฟ้า

สิ่งที่อยากทำคือการเพาะเห็ดนางฟ้า และการเพาะผักไฮโดรฯ อยากเห็นโรงเรียนต่างๆทำเรื่องนี้ ให้ครูเอาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ให้นักเรียนลงภาคปฏิบัติให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ได้ มีคณะกรรมการการศึกษามาด้วย

3. ผู้เรียน

ผู้เรียนได้ทักษะชีวิต นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะชีวิต ตามที่ตนเองถนัด ม ได้ช่วยโรงเรียนให้สอดคล้องกับ ทักษะชีวิตตาม 21century skills นักเรียนเรียนไม่เก่งมีทักษะชีวิต นักเรียนได้นำทักษะชีวิตต่างๆไปใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ได้ทำเฉพาะที่โรงเรียน นักเรียนทำที่บ้านด้วยให้วิเคราะห์ว่า นักเรียนแต่ละวันให้เงินซื้อของต่างๆมากเท่าไร ให้นักเรียนทำให้ผู้ปกครองดู นักเรียนมีรายได้ในช่วงปิดเทอม ได้ให้นักเรียนฝึกการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ให้นักเรียนสร้างหรือผลิตเมล็ดพันธุ์ นักเรียนเอาเงินจากการขายผักไปฝากกับสหกรณ์ชุมชน และเรียนรู้เรื่องรายรับรายจ่าย


สิ่งที่จะทำต่อไป

สิ่งที่อยากทำคือการเพาะเห็ดนางฟ้า และการเพาะผักไฮโดรฯ อยากเห็นโรงเรียนต่างๆทำเรื่องนี้ ให้ครูเอาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ให้นักเรียนลงภาคปฏิบัติให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ได้

พ่อสามี ได้พ่อแม่สามีช่วยทำทุกอย่าง ผอ ให้เงินทุกเดือน ผอ เป็นคนในหมู่บ้าน โรงเรียน ขนาดเล็กไม่มีใครมอง ไม่มีใครสนใจ แล้วเอาเงิน 30,000 บาท เอาเงินโครงการอาหารกลางวัน ขอเอาเงินไปทาสีโรงเรียน เอาเงิน 3 หมื่น รวมทั้งหมดค่าทาสี 8 หมื่น

ขอบคุณ ผอ พรสุณี ให้กำลังใจในการบริหารโรงเรียน ท่าน ผอ วัดห้วยผักชี ได้ความเอื้ออาทร ในการทำงานร่วมกัน

5.ได้เรียนรู้อะไร โรงเรียนวัดทุ่งกระพังโหม

ผอ ทุ่งฯผมมารับโครงการ ไม่รู้เต็มร้อย ได้เรียนรู้ ทั้งครูและนักเรียนได้เรียนรู้ เด็กได้กระบวนการที่ถูกต้อง ครูได้กระบวนการที่ถูกต้อง การพัฒนานักเรียนอย่างยั่งยืน ไปสร้างแนวคิดให้ผู้ปกครอง ให้นักเรียนได้ทานผักจากโรงเรียน รุ่นที่ 2 จะดีขึ้น พยายามให้โรงเรียนไม่ใช่สารเคมี ทำอย่างไรให้นักเรียนได้เรียนรู้มากที่สุด ทั้งการดูแลละสังเกตผัก การบูรณาการไปในวิชาอื่นๆ ผู้ปกครอง ให้นักเรียนได้รู้จักการชั่ง การทำงานเอง

ได้ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง ค่อยขยายไปจากชุมชน

2.ปัญหาคืออะไร

ปัญหา คือไม่ค่อยอยู่โรงเรียน งานนอกโรงเรียนผอ.เป็นคนทำ ทำให้ไม่ได้พบทีมวิจัย ยังไม่เต็มร้อย ว่า มหาวิทยาลัยจะไปนิเทศ กี่ครั้ง จะได้ทราบข้อมูลทั้งหมด อยากให้มีปฏิทิน ทั้งหมด น่าจะมีปฏิทิน การนิเทศ

3.สิ่งที่จะทำต่อไป

ผอ จะบอกว่าคิดอย่างนี้ มหาวิทยาลัยจะรับหรือปฏิเสธก็ยอมรับ มหาวิทยาลัยจะดำเนินการอย่างไร

ข้อโชคดีมีครูประจำการแยกตามเอก

เด็กน้อยสองคนนี้มาจากโรงเรียนหนองจิกน่ารักมาก

ผู้เขียนชอบใจบรรยากาศการสะท้อนความคิดเห็นของผู้อำนวยการและครู รวมไปถึงนักเรียนด้วย บรรยากาศเป็นกันเองและไม่เครียด ได้ข้อมูลเกือบทั้งหมด ต้องขอบคุณทีมงานทุกๆท่าน ขอบคุณ รศ.นท.ดร.สุมิตร สุวรรณหัวหน้าโครงการวิจัย ที่ชวนไปทำความดีและทำให้ได้เรียนรู้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมครับ ....



ความเห็น (4)

ง่วงมาก จองก่อนน้า ๕ ๕ ๕ ๕

ตามมาเชียร์ .... ตามมาอ่านค่ะ ... ปัจจุบัน ผู้คนใส่ใจสุขภาพค่ะ

มาร่วมเรียนรู้และให้กำลังใจค่ะ

ชอบตรง...
ค้นปัญหา
ระดมปัญญาแก้นี่แหละครับ
และยิ่งถามทักว่า จะเดินต่ออย่างไร
ผมว่านี่แหละคือศาสตร์ของการเรียนรู้อันแท้จริง
เหมือนบ่นปัญหาแล้วไม่ท้อ

บ่นแล้วสู่ต่อ ประมาณนั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท