BAR และ AAR สำหรับนักศึกษาฝึกงาน


ฺBAR และ AAR มีความสำคัญ หากบริหารจัดการให้ดี สามารถนำไปสู้เป้าหมายหรือความสำเร็จได้

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การจัดการความรู้ของนักศึกษารังสีเทคนิค ชั้นปีที่ 3 ที่มาฝึกงาน ณ หน่วยรังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษากลุ่มนี้ มาฝึกงานได้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้ว


ก่อนการมาฝึกงาน นักศึกษาได้แจ้งว่าทางสถาบัน คือ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดการปฐมนิเทศน์ให้กับนักศึกษาเรียบร้อยแล้ว

ผมก็ได้สอบถามนักศึกษาว่า...

แล้วนักศึกษา ละ ได้ ตั้งความคาดหวังอะไร? ไว้กับการมาฝึกงาน ในครั้งนี้บ้าง

นักศึกษา รู้จัก คำว่า BAR และ AAR หรือไม่?



เงียบ.... และยิ้ม

แสดงว่า... รู้ ไม่รู้ อาจจะมี หรือ ไม่มี


วันแรกที่พบกัน


วันที่ผ่านการฝึกงานไปบางส่วน



เงียบ.... และยิ้ม

แสดงว่า... รู้ ไม่รู้ อาจจะมี หรือ ไม่มี


ผม เลยให้ข้อมูลแก่นักศึกษา กลุ่มนี้ คือ


BAR = Before Action Review

คือ การตั้งเป้าหมาย หรือ ความคาดหวังก่อนเริ่มกิจกรรม นักศึกษาควรตั้งเป้าหมายของตัวเอง ว่าการมาที่นี่ คาดหวังอะไร จะฝึกฝน ฝึกหัดอะไร จะทำอย่างไรที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตนเองต้องการ รวมถึงการที่จะปรับเปลี่ยนแผน วิธีการ ที่จะดำเนินการของกิจกรรมนั้นๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำกิจกรรมได้ด้วย


AAR = After Action Review

คือ การประเมินผลหลังการทำกิจกรรม โดยตอบคำถามจาก BAR ที่กำหนดไว้แล้ว เช่น ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ มากกว่า เท่ากับ หรือ น้อย เพียงใด แล้ว มีปัญหา อุปสรรค หรือ อื่นๆ เกิดขึ้นในระหว่างทำกิจกรรม ที่จะนำมาแก้ไข ปรับปรุง หรือ พัฒนา ต่อไป หรือไม่ เป็นต้น


หากยังไม่ทำ ยังไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ก็... ลองคิด ลองทำ นะครับ


จากนั้น ให้นักศึกษาเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการฝึกงาน

โดยส่วนใหญ่เล่าถึง ความมั่นใจในการทำงาน

เริ่มแรก เริ่มฝึก เริ่มเรียนรู้

เมื่อได้ลงมือทำด้วยตนเอง แรกๆ ยังไม่มั่นใจ กลัวความผิดพลาด ต้องมีพี่ๆ ยืนเคียงข้าง ให้คำแนะนำ ร่วมประเมินผล

ต่อมา... เมื่อได้ลงมือทำด้วยตนเอง ทำบ่อยๆ ทำซ้ำๆ ก็ เกิดความมั่นใจมากขึ้น


ดังสำนวน ยิ่งทำ ยิ่งได้

คือ ได้เรียนรู้ ได้ฝึกทักษะ มากขึ้น ก็ มั่นใจมากขึ้น


แต่... ในการทำงานนั้น ก็มี ทั้งทำผิด ทำถูกต้อง


ผมได้สอบถามนักศึกษา ว่า....อะไรที่ทำผิดพลาด ได้จดบันทึกไว้หรือไม่?

คำตอบ คือ ไม่

ดังนั้น ผมได้ชี้แนะให้นักศึกษา บันทึกข้อมูล สิ่งที่ทำผิดพลาดไว้

อะไรที่ทำผิดพลาด ผิดพลาดอย่างไร

เพื่อเป็นโอกาสในการแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา

ทำให้ดีกว่าเก่า

ลดความผิดพลาด ให้น้อยลงไปเรื่อยๆ


ตัวอย่างหนึ่ง ที่นักศึกษากล่าวถึง คือ

การที่ผู้ป่วยไม่ถอดวัสดุที่ทึบรังสีออกจากบริเวณที่จะถ่ายภาพ เช่น สร้อยคอ เสื้อชั้นใน เป็นต้น



ความผิดพลาดนี้ ไม่ใช่เกิดจากผู้ป่วยเพียงฝ่ายเดียว

เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ถือว่ามีส่วนด้วย


ดังนั้น... เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ควรตรวจสอบด้วย ทำอย่างสม่ำเสมอ


การสื่อสาร มีความสำคัญ เพราะ เมื่อเราพูดกับผู้รับบริการ

เรา เป็น ผู้พูด เรา เข้าใจ เราทำบ่อยๆ

แต่...มีบางครั้ง ที่ผู้รับบริการ เค้าอาจจะไม่เข้าใจ

เนื่องจาก เจ้าหน้าบอกไม่ชัดเจน ผู้รับบริการอยู่ในวัยชรา อาจมีอาการหูตึง หรือ ผู้รับบริการได้ยินไม่ขัด เป็นต้น


ดังนั้น การตรวจสอบ ความถูกต้อง

ก่อนการถ่ายภาพ มีความจำเป็น มีความสำคัญ เพื่อลดการถ่ายภาพซ้ำ ได้

นี่... ก็เป็นทักษะ หนึ่งที่นักศึกษาต้องเรียนรู้



ในการฝึกงาน มีหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้ วิชาการ วิชาชีพ วิชาคน จริยธรรม

สำหรับ นักศึกษา ค่อยๆฝึกฝน เรียนรู้ โอกาสในการพัฒนาตนเอง มีอยู่ทุกวัน

นี่ เป็นบางส่วนที่ผมและนักศึกษา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ครับ

หมายเลขบันทึก: 603952เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2016 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2016 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีจังเลยครับ

ได้ให้รู้จักกระบวนการ

ผมใช้อันนี้อบรมอาจารย์ด้วยครับ

แบบประเมินก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการ Before Action Review (BAR)

Flipped classroom คืออะไร

นำเสนอการทำ Flipped classroom ในชั้นเรียน

ประเมินและสะท้อนความคิดเห็น After Action Review (AAR)

ปิดการประชุม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท