CADL ขับเคลื่อน ปศพพ. ใน มมส. _ ๑๘ : รายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาอาจารย์ผู้สอน ๒๕๕๙ (๕)


บันทึกที่ (๑)บันทึกที่ (๒) บันทึกที่ (๓) บันทึกที่ (๔)

กิจกรรมที่ ๕ ตัวอย่างการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับธุรกิจ บริษัทบาธรูมดีไซด์ จำกัด เป็นเทปเล่าเรื่องของนายวัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ ประธานกรรมการบริษัท ความยาวประมาณ ๑๓ นาที ... เสียดายที่เสียงไม่ค่อยดีเท่าใดนัก

ช่วงค่ำก่อนวันอบรมเชิงปฏิบัติการ ผมเล่าเรื่องการเชิญ อ.ทนง ขันทอง มาบรรยายพิเศษให้ อ.ศศินี ฟัง จึงได้เรียนรู้หลายเรื่องเกี่ยวกับแง่มุมทางธุรกิจที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น และเรื่องเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์ไทย คุยไปคุยมา ได้ทราบว่า ท่านเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ทำงานด้านการเงินมานาน ก่อนจะมาทำงานขับเคลื่อน ปศพพ. ท่านเคยเป็นผู้จัดการกองทุนรวม และเห็นว่าความสามารถด้านการเงิน (Money Literacy) เรื่องการทำบัญชีรับ-จาย เป็นเรื่องที่นิสิตมหาวิทยาลัยควรจะมีและทำเป็นประจำ


ความหมายและความเข้าใจ

  • ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือการพัฒนาอย่างสมดุล
  • มีคำสำคัญ ๓ คัญ คือ ความสุข ความรัก สมดุล
  • ความสุขคือเป้าหมาย ความรักคือตัวขับเคลื่อน ความสมดุลคือพื้นฐานทั้งหมดทุกสิ่ง
  • เป้าหมายของบริษัทไม่ใช่ "ความสำเร็จ" แต่เป็น "ความสุข"
  • "...นักจิตวิทยาพบว่า คนที่ประสบความสำเร็จมักไม่มีความสุข ส่วนคนที่มีความสุขมักไม่ประสบความสำเร็จ ..."
  • "...แต่ของพิเศษของพ่อ... จะนำมาสู่ทั้งความสำเร็จและความสุข..."
  • ความรัก ๑ คือ รักงาน มีฉันทะในสิ่งที่ทำ ๒ คือ รักผู้อื่น ยิ่งให้ยิ่งมีความสุข
  • ต้องสมดุล ๔ มิติ ของธุรกิจ
    • องค์กรสมดุล ความพอประมาณคือ เรา เราเก่งอะไร เรามีจุดอ่อนตรงไหน มีเหตุมีผลคือ เขา เขาคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การมีภูมิคุ้มกันคือความรู้ รู้เขา รู้โลก รู้การเปลี่ยนแปลง
    • สมดุลของคน คือ คนต้องมีคุณธรรม
    • สมดุลเป้าหมาย คือ ต้องไม่มองเฉพาะเงิน กำไร แต่ต้องมองประโยชน์สุข คือ ทั้งประโยชน์และความสุข
    • สมดุลสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ประโยชน์สุขแบ่งปันสู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่เฉพาะผู้ถือหุ้น

การน้อมนำไปใช้ในการทำธุรกิจ

  • ธุรกิจขนาดกลาง เริ่มตอนปี ๓๘ นำเข้าผลิตภัณฑ์สินค้าในห้องน้ำ นำเข้า ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่มีแบรนด์ตนเอง ขายดีมาก
  • วิกฤต ๔๐ หนี้เพิ่มขึ้นกว่า ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่มีเงินจ่ายเงินเดือน สินค้าขายไม่ดี แบงค์ก็เริ่มทวงหนี้ ต่างประเทศบอกว่าขายไม่ดีจะดึงแบรนด์กลับ
  • ๔ ธ.ค. ๒๕๔๐ ได้ฟังในหลวงเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ทางทีวี สนใจเลยติดตามฟังบรรยายของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
  • เริ่มกลับมาวางแผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว
  • ระยะสั้น มีปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงิน จึง ลดราคาสินค้าก่อน เอาเงินที่ขายได้มาจ่ายเงินเดือนพนักงาน เจรจากับแบงค์ให้ยึดเวลาการชำระหนี้ออกไป
  • ระยะกลาง ลดการนำเข้า และสร้างแบรนด์ของตนเอง เราเริ่มศึกษาว่าโรงงานในกรุงเทพฯ มีอะไรบ้าง แล้วค่อยให้ฝ่ายออกแบบออกแบบเอง แล้วไปจ้างโรงงานทำ สร้างภูมิคุ้มกันด้วยสมดุล ๖ มิติ design->function->technology->materials-> Social->environment จากสินค้าที่นำเข้าทั้งหมดก็เริ่มมีตลาดของเราเอง
  • เริ่มจากการ design ชั้นวางของในห้องน้ำ ใช้วัสดุเมทาริกสีขาวทดแทนตะแกรงโลหะต่างๆ เริ่มมีตลาดเพราะไม่มีคู่แข่ง
  • จากนั้นใส่ function เข้าไป จากอ่านเปล่า ก็กลายเป็นมีระบบน้ำวน ถือเป็นเจ้าแรกในประเทศ
  • ต่อมาจีนเข้ามาตีตลาดด้วยสินค้าราคาถูกกว่า ๓ เท่า จึงต้องเอา technology เข้ามา... เป็นที่มาของ Ispa อ่างน้ำวนที่เชื่อมต่อ Ipod ได้ สามารถวัดอัตราการเผาพลาญแคลอรี่ได้ ไม่ขายเฉพาะฮาร์ดแวร์ แต่ขายซอร์ฟแวร์ที่สามารถดาวน์โหลดออนไลน์ได้ ... ทำให้ธุรกิจค่อยๆ ขยับ
  • อีกเรื่องที่สำคัญคือคน เน้นความรัก รักเหมือนพ่อเหมือนแม่ ปลูกฝังฝ่ายบริการให้มองลูกค้าเหมือนคุณพ่อคุณแม่
  • ส่วนพนักงาน ขนาดกลางที่มีประมาณ ๕๐๐ คน จะดูแลให้เกิดสมดุลทั้งด้านมูลค่าและคุณค่า
  • ด้านมูลค่าคือ เงินในกระเป๋า ใช้หลักว่า " เงินได้ไม่สำคัญเท่าเงินเหลือ " จ้างทำอาหารกลางวัน กำข้าวตักได้ไม่อั้น ทำให้พนักงานประหยัดได้ ๗๐ บาทต่อวัน จัดการหนี้นอกระบบของพนักงานโดยประสานกับธนาคารออมสิ จากดอกเบี้ยร้อยละ ๕ เหลือร้อยละ ๐.๕ มีกิจกรรมทำแปลงเกษตรหลังโรงงาน ส่งเสริมการเพาะเห็ดให้พนักงานเอากลับไปทำที่บ้าน ส่งเสริมอาชีพเสริมต่างๆ ...อย่างสนุกสนาน
  • ด้านคุณค่า คือสิ่งที่จะทำให้พนักงานอยู่กับเรา ไม่ใช่เพราะเงิน หลักคิดคือ ทำอย่างไรให้พนักงานรู้สึกว่ามีคุณค่า และทำให้เขาเห็นคุณค่าของผู้อื่น วิธีการคือการใส่ใจกับวันสำคัญของพนักงาน เช่น วันเกิด ก่อนวันเกิดจะมีขนมแค้กอวยพร และให้หยุดงานได้ในวันเกิด ฯลฯ
  • ส่วนวิธีการทำให้เห็นคุณค่าของผู้อื่น จะเน้นการมีส่วนร่วมและใช้ความรักขับเคลื่อนไม่ใช่เงิน บริษัทจะประเมินผลด้านความดี ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้วัดความเก่งอย่างเดียว
  • บริษัทจะน้อมนำเอา ๒๓ หลักการทรงงานมาใช้ โดยแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนคือ ๑๐+๑๐+๓ หรือ ปริยัติ+ปฏิบัติ+ปฏิเวท
  • ยกตัวอย่างเช่น ๑๐ ข้อแรก จะทำอะไรต้องหาความรู้ก่อน ต้องระเบิดจากขัางใน ทำจากจุดเล็กๆ ง่ายๆ ก่อน และทำตามลำดับขั้น การศึกษาภูมิสังคม การศึกษาองค์รวมตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน อนาคต จะไปถึงไหน ต้องไม่ติดตำรา การประหยัดเรียบง่าย ประโยชน์สูงสุด การทำให้ง่าย การมีส่วนร่วม
  • ๑๐ ข้อที่สอง คือ จะทำอะไรต้องเน้นประโยชน์ส่วนรวม ต้องบริการรวมที่จุดเดียวทั้ง Authority และ Responsibility ต้องไปคู่กัน ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ คนทำดีองค์กรนั้นจะได้ดี ให้อธรรมปราบอธรรม คนไหนเคยไม่ดีก็ให้กลับตัว ปลูกป่าในใจคนคือปลูกฝังความดีในใจคน ขาดทุนคือกำไร คือให้มองกำไรระยะยาว รู้จุักพึ่งพาตนเอง พออยู่พอกิน เศรษฐกิจพอเพียง และ ซื่อสัตย์ สุจริต และจริงใจต่อกัน
  • ปฏิเวท ๓ ข้อ คือ ๑) ทำงานอย่างมีความสุข ทุกเช้าตื่นขึ้นมาอยากมาทำงานหรือเปล่า ลูกค้ามีความสุข คนในชุมชนมีความสุข ๒) ความเพียร ทุกคนทำงานอย่างสนุกสนานแลท้าทาย ไปทำงานเหมือนทำข้อสอบ และ ๓) รู้ รัก สามัคคี รู้คือรู้เขารู้เรา รักคือรักกัน รักงาน รักลูกค้า รักผู้อื่น แล้วความสามัคคีจะมาเอง
  • ความสามัคคีคือหัวใจของทั้งหมด
หากเราสืบค้นด้วยคำสัญว่า "วัชรมงคล" จะพบคลิปเผยแพร่เรื่องราว เรื่องเล่า ผลของการน้อมนำเอา ปศพพ. มาใช้จนประสบผลสำเร็จ ผมคิดว่า เราควรแนะนำให้นิสิตดูคลิปต่อไปนี้ หรืออาจใช้คลิปเหล่านี้เป็นสื่อการสอนเลยก็ได้ครับ




ผม AAR ว่า การยกตัวอย่างการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตจนประสบความสำเร็จนี้ นอกจากจะทำให้นิสิตเข้าใจมากขึ้นแล้ว น่าจะทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะนำไปปรับใช้บ้าง ไม่มากก็ไม่น่าจะน้อย.... เชิญให้ทุกท่านทดลองนำคลิปวีดีโอนี้ไปใช้สอน ถอดบทเรียน แล้วมาแลกเปลี่ยนกันครับ ....

หมายเลขบันทึก: 603924เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2016 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2016 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท