ฮั่นแน่..!!..รู้นะว่าคิดอะไรอยู่...
พอได้ยินคำว่า
RCA
วัยรุ่น ตัวจริงและ รุ่นแรกแย้ม
(ฮิฮิ...แย้มฝาโลง.นะ..) หลายคนตาลุกเชียวนะ
แต่... RCA ที่กำลังกล่าวถึง คือ
Root Cause Analysis
ต่างหากแปลเป็นไทยว่าการวิเคราะห์เหตุรากเหง้าของปัญหา
ฟังแล้วเป็นอย่างไรบ้างคะ ขนลุกมั้ย..? เหมือน ๆ
กับจะเป็นการขุดรากถอนโคน ยังไง ยังงั้นเชียวใช่ม้า ?เอ้าฮุย..เล..ฮุย
ในหน่วยงานโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่คุ้นเคยกับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล HA ย่อมรู้จักและคุ้นเคยกับคำ ๆ นี้แน่นอน แต่สำหรับท่านที่....
ดิฉันมีคำตอบและแนวทางการทำ RCA อย่างง่าย ๆ ตามมาเลยค่ะ
RCA คืออะไร
เอ๊ะ...แล้วทำ RCA เพื่ออะไรล่ะ
อืม.!!..ท่าทางน่าจะดีและมีประโยชน์มากนะ ลองบอกประโยชน์ของการทำ RCA มาซิว่ามีอะไรบ้าง
หลักการของ RCA ที่ต้องจำให้ขึ้นใจคือมุ่งเน้นเป็นระบบและกระบวนการ
เมื่อรู้ความหมายและประโยชน์ของ RCA แล้วจะเริ่มต้นทำอย่างไรเนี่ย...
อันที่จริงดิฉันก็ไม่ใช่
GURU
ในเรื่องนี้ซะด้วย ..แต่..
ดิฉันจะขอเล่าถึงประสบการณ์ที่เพิ่งทำ RCA แบบง่าย ๆ
และเพิ่งทำเสร็จมาสด ๆ ร้อน ๆ ให้ฟังแล้วกันนะคะ จะอึ๋ย...จะอึ๋ย...
ตัวอย่างการทำ RCA ในผู้ป่วยชายเป็นมะเร็งของลำไส้ทำผ่าตัดตัดลำไส้ออก (Hemicolectomy) หลังวันผ่าตัดได้ 6 วัน เกิดมีน้ำใสๆ ออกมาจากแผลผ่าตัด แพทย์เจ้าของไข้จึงให้ตัดคลิปที่เย็บแผลออก พบมีไขมันใต้ผิหนังเกิดเป็นเนื้อตาย (Fat Necrosis) ถือว่ามีการติดเชื้อของแผลผ่าตัด วินิจฉัยเป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาล (Nosocomial infection)
ทีมที่ทำ RCA เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ
ประกอบด้วยคณะดนตรีวงใหญ่ ที่ต้องมาช่วยกันบรรเลง..ลุย
ได้แก่
เราเริ่มต้นด้วยการ
1. ให้แพทย์เจ้าของไข้เล่าถึงประวัติผู้ป่วยเพื่อให้ทุกคนทราบข้อมูลเหมือน ๆ กัน
2. ใช้แบบฟอร์มแนวทางการวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุอุบัติการณ์ด้านคลินิก เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่เรากำลังทำ RCA ซึ่งรายละเอียดของแบบฟอร์มจะให้พิจารณาด้านต่าง ๆ ได้แก่
จะเห็นว่ามีรายละเอียดให้พิจารณาในแบบฟอร์มมากแต่ก็ครอบคลุมครบถ้วนดี ซึ่งทำให้โอกาสที่หลุดยากมาก หากใช้เครื่องมืออย่างเป็นประโยชน์
3. ทีมเราพิจารณาหาปัจจัยสาเหตุตามหัวข้อที่มีอยู่ในแบบฟอร์มแล้วโดยที่แพทย์และพยาบาล ร่วมกันตีประเด็นปัญหา ซักถามกันซ้ำไปซ้ำมาว่าสาเหตุหรือปัจจัยนี้ใช่ หรือไม่ใช่ สาเหตุรากเหง้ากันแน่ ซึ่งเราได้ความกระจ่างมากมายจากแพทย์ผู้ซึ่งมีองค์ความรู้ในตัวอย่างมากมาช่วยกันวิเคราะห์
4. สรุปปัจจัยสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อแผลผ่าตัดในผู้ป่วยรายนี้หลังร่วมกันไป อุ๊ย...ไม่ใช่ ทำ RCA ได้ดังนี้คือ
1. ผู้ป่วยรายนี้เป็นมะเร็งของลำไส้ ซึ่งมีการอุดตัน โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีพยาธิดังกล่าวลำไส้จะมีเชื้อโรคมากมายเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้มาก
2. ผู้ป่วยมีภาวะขาดสารอาหาร (Malnutrition)ซึ่งย่อมทำให้การฟื้นตัว ซ่อมแซมร่างกายอาจจะช้าไม่เหมือนปกติ
3. ผู้ป่วยมีผนังหน้าท้องหนามากซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแผลติดยากหรือมีโอกาสเกิดการแยกของแผลจากภาวะ Fat Necrosis ของชั้นไขมันบริเวณแผลผ่าตัด
หลังสรุปปัจจัยสาเหตุแล้วทีมเราก็ทำ AAR ได้ดังนี้
1. สิ่งที่คาดหวัง
2. สิ่งที่เกิดขึ้น
3. สิ่งที่จะนำไปใช้
น้องขวัญ คุณดนัย
หวัดดีคับคับพี่เล็ก พอดีหมูเพิ่งเปิดคอม ตกใจเหมือนกาน นึกว่า คนชุดเขียวจาไป โอดี ที่ RCA กัน อิอิ!!
ดีคับ ผมจาลองให้แฟนผมเอาไปใช้ที่ I.C.U. ดูคับแล้วจามาแชร์กับพี่เล็กคับ เปงหวัดคับพี่ อยู่หน้าจอนานไม่ได้ - -"
แวะมาเยี่ยมคับพี่เล็กที่คิดถึง
เพิ่งกลับจาก กำแพงเพชร ไปส่งแฟนมา
แอบเอา url พี่ไปใส่เป็นหน้าแรกที่ I.C.U. รวม มาด้วยคับ
แปลกดีไหมพี่เอา เว๊ป สาว O.R. ไปเปิดให้สาว I.C.U. ดู พอดี Head แฟนหมู เปง Anesth เก่าอ่ะคับ น่าจะเห็นด้วยกับ RCA นะพี่เล็ก
นอนและคับ เปงหวัดยังไม่หายเลย แถมเปงตากุ้งยิงอีก !!!
จับ ค๊อกซ่า ยัดใส่ปาก 20 เม็ด ZZZZzzzzzzzz