พลังการเรียนรู้ สร้างสรรค์สู่การเปลี่ยนแปลง ...โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังเผชิญเหตุการณ์รุงแรงในชีวิตของผู้ใหญ่... สู่การฟื้นคืนสุขภาวะทางสังคมไทย


สวัสดีค่ะนักอ่านทุกท่าน วันนี้ก็ได้มีโอกาสมาเขียนบล็อคอีกครั้ง ซึ่งในวันนี้จะมาเล่าถึงการบำบัดฟื้นฟูสำหรับผู้ใหญ่ที่มีอาการเครียดเรื้อรังหลังจากประสบเหตุการณ์รุนแรง และร้ายๆ ในชีวิตที่ผ่านมา นักอ่านลองสังเกตดูนะคะว่ามีบุคคลใกล้ตัว หรือคนในครอบครัวที่เคยมีประสบการณ์ดังกล่าวบ้าง แล้วยังส่งผลให้คิดถึงอยู่ตลอด จนเกิดเป็นความเครียดเรื้อรัง วิธีการบำบัดฟื้นฟูนี้หวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ที่ประสบโรคนี้สามารถจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นได้ , ทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ก่อนอื่นเรามารู้จักโรคเครียดเรื้อรังนี้กันก่อน ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีสาเหตุจากอะไร

โรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังเผชิญเหตุการณ์รุงแรงในชีวิต (Post-traumatic Stress Disorder : PTSD) คือ ความผิดปกติทางด้านจิตใจที่มีอาการเกิดขึ้นหลังจากประสบเหตุการณ์รุนแรงในชีวิต และการกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุงแรง เช่น ภัยพิบัตธรรมชาติ , ความหายนะที่เกิดจากคนเรากระทำ ได้แก่ สงคราม , จราจล , ถูกทรมาน , ข่มขู่เอาชีวิต และข่มขืน เป็นต้น โดยมีลักษณะหวนคิด และนึกถึงเหตุการณ์นั้นบ่อยๆ ทำให้สนใจในสิ่งต่างๆรอบตัวลดลงหรือหมดไป เริ่มรู้สึกห่างเหินจากคนใกล้ชิด ครอบครัว ญาติ และเพื่อน มีอาการเฉยเมย ไม่ร่างเริง ตื่นเต้นตกใจง่าย นอนไม่หลับ ซึ่งอาการดังกล่าวจะไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่จะเกิดในช่วงหลัง 2-3 สัปดาห์ที่ประสบเหตุการณ์ดังกล่าว และจะมีอาการต่อเนื่องจนถึง 2-3 เดือน บางรายอาจเป็นมากกว่า 6 เดือน

รูปนี้จะแสดงเห็นภาพรวมของโรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังเผชิญเหตุการณ์รุงแรงในชีวิต

อาการสำคัญหลัก

1. การนึกถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ (re-experienced) หรือเหตุการณ์นั้นตามมาหลอกหลอน เช่น ฝันร้าย โดยฝันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เหมือนภาพติดตา

2. มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นั้นหรือสิ่งที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์นั้น (avoidance) เป็นพฤติกรรมที่สืบต่อมาจากอาการ re-experienced เพราะการเห็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์จะทำให้นึกถึง ทำให้ผู้ป่วยจะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งของ สถานการณ์ บุคคลหรือสถานที่ที่ทำให้รู้สึกกลัว

3. อาการตื่นกลัว (hyperarousal) ผู้ป่วยจะมีอาการนอนไม่หลับ ใจสั่น หงุดหงิด โมโหง่าย ไม่มีสมาธิ ตกใจง่าย สมาธิไม่ดี กลัวอะไรต่างๆ ได้ง่ายกว่าปกติ

การระบาดวิทยาองโรค PTSD อาจพบได้ถึง 30% ของผู้ที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ ในระยะยาว และอาการสามารถคงอยู่ได้นานถึง 30 ปี หลังจากเกิดเหตุการณ์ นอกจากนี้โรคนี้จะพบในผู้ชายมากสำหรับบุคคลที่อยู่ในสมรภูมิ หรือพบเหตุการณ์รุนแรงจนเสียชีวิต และการทำร้ายร่างกายจะมีผลต่อผู้หญิงประมาณครึ่งหนึ่ง

โรคที่พบร่วมบ่อยๆ ได้แก่ โรคซึมเศร้า , โรคแพนิค , โรคประสาทวิตกกังวล , ติดสารเสพติด และโรคติดสุรา เป็นต้น

เกณฑ์การวินิจฉัยของโรค PTSD

A. ผู้ประสบภัยอยู่ในเหตุการณ์ภัยพิบัตที่มีความรุนแรงนั้น

  • เผชิญด้วยตนเองกับเหตุการณ์ที่คุกคามชีวิต การบาดเจ็บของตนเองหรือผู้อื่น
  • ผู้ประสบภัยนั้น เกิดความกลัวอย่างรุนแรง รู้สึกข่วยเหลือตนเองไม่ได้ หวาดหวั่นอย่างมาก ในเด็กอาจแสดงออกเป็นพฤติกรรมวุ่นวาย

B. มีอาการที่แสดงว่าได้กลับไปเผชิญเหตุการณ์นั้นอีก (re-experience) อย่างน้อย 1 ข้อใน 5 ดังนี้

  • คิดวนเวียนถึง
  • ฝันร้าย
  • รู้สึกว่ากลับไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นอีก
  • รู้สึกเครียดเวลานึกถึง พูดถึง หรือเผชิญสิ่งเร้าที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์
  • มีอาการทางร่างกายตอบสอนงเวลาเผชิญเหตุการณ์นั้นจริง หรือคิดถึง

C. พถติกรรมหลีกเลี่ยงส่งกระตุ้น ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น อย่างน้อย 3 ข้อใน 7 ข้อต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการคิด ความรู้สึก การสนทนา ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรม สถานที่ คน ที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์
  • ไม่สามารถระลึกถึงจุดสำคัญของเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ประสบมา
  • ไม่สนใจร่วมกิจกรรมที่สำคัญ
  • อารมณ์เฉยชาต่อผู้อื่น
  • ไร้อารมณ์ตอบสนอง
  • ไม่สนใจอนาคต ไม่คิดว่าจะต้องทำอะไรต่อไป

D. อาการของความตื่นตัว มีอย่างน้อย 2 ข้อใน 5 ข้อต่อไปนี้

  • หลับยาก หรือตื่นง่าย
  • หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย
  • ขาดสมาธิ
  • จับจ้องระวังภัย
  • อาการหวาดกลัวมากต่อสิ่งกระตุ้นเพียงเล็กน้อย

E. อาการในข้อ B,C,D นานเกิน 1 เดือน

F. อาการทำให้เกิดปัญหาในการปรับตัวอย่างมาก ชัดเจน ต่อ สังคม อาชีพ และหน้าที่สำคัญของชีวิต

การประเมินทางกิจกรรมบำบัด ตามแบบจำลองทางกิจกรรมบำบัด PEOP model ดังนี้

  • P= Person (ตัวบุคคล) โดยจะทำการสัมภาษณ์เพื่อถามถึงลักษณะอาการของโรค โดยการใช้แบบประเมิน PTSD screening test เพื่อประเมินอาการคร่าวๆ รวมทั้งให้ทำแบบถามทางด้านจิตใจ เช่น แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (TGSD) เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวข้างต้นไปใช้ในการวางแผนการรักษา
  • Environment (สิ่งแวดล้อม) โดยจะสอบถามเกี่ยวสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้รับบริการ อะไรที่ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกกังวล หรือรู้สึกเหมือนต้องเผชิญเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ อาจจะใช้แบบประเมิน PTSD Checklist จะทำให้ทราบว่าสิ่งแวดล้อมใดเอื้อ หรือกระตุ้นตัวเขา นอกจากนี้อาจสอบถามพูดดูแลใกล้ชิดถึงเหตุการณ์ที่ผู้รับบริการเคยประสบพบเจอ
  • Occupation (กิจกรรม) โดยการสอบถาม และประเมินการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ เพื่อค้นหาว่ามีกิจกรรมใดบ้างที่กระทบหลังจากประสบเหตุการณ์นั้น นอกจากนี้ยังสอบถามความต้องการของผู้รับการผ่านการทำแบบประเมิน Interest Checklist
  • P=Performance (การแสดงความสามารถ) ประเมินดูความสามารถของผู้รับบริการในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และสอบถามผู้ดูแล โดยการใช้แบบประเมิน Routine Task Inventory-Expanded (RTI-E) นอกจากนี้ยังมีการสอบถามถึงทักษะการปรับตัว และความเป็นอยู่หลังจากประสบเหตุการณ์ดังกล่าว
  • W=Well-being (คุณภาพชีวิต) สัมภาษณ์ความพึงพอใจในชีวิต และการใช้แบบประเมินการฟื้นคืนสุขภาวะ

หลังจากการประเมินเราจะทำการรวบรวม และนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนการบำบัดฟื้นฟู ซึ่งการวางแผนการบำบัดฟื้นฟู จะให้ผู้รับบริการมีส่วนในการวางแผน และออกแบบโปรแกรมการฟื้นฟูไปด้วยกัน

การวิเคราะห์ปัญหาโรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังเผชิญเหตุการณ์รุงแรงในชีวิตของผู้ใหญ่

P+E = Motivation (แรงจูงใจ)

จากปัญหาจะเห็นได้ว่าการที่เราจะทำให้ผู้รับบริการมีแรงจูงใจขึ้นมาสามารถจะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ตามปกตินั้น ก็ต้องเริ่มจากตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อมก่อน ซึ่งทั้งสองจะสัมพันธ์กัน ในระยะแรกของโรคผู้รับบริการจะมีความวิตกกังวล คิดถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ และเครียดมาก ดังนั้นเราจะทำให้เลิกคิดถึงเหตุการณ์ และลดความเครียดก่อนโดยการใช้วิธีผ่อนคลาย และการจิตนการสถานที่ที่ผู้รับบริการรู้สึกปลอดภัย หรืออยากที่จะอยากไป ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการปรับความคิด และพฤติกรรม ร่วมกับการปรับสิ่งแวดล้อมให้ผู้รับบริการรู้สึกปลอดภัย ไม่มีสิ่งกระตุ้น เมื่อผู้รับบริการลดความวิตกกังวลได้ จากนั้นเราจะการหากิจกรรมที่เขาให้ความสนใจในอดีตที่เคยชอบทำมาเป็นสื่อในการกระตุ้นแรงจูงใจของเขา เพื่อทำให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นคงทางจิตใจมากขึ้น

P +E+O = Abilities (ความสามารถ)

ความสามารถของบุคคลสามารถเกิดขึ้นได้ โดยการปรับตัวบุคคล และสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกัน ก็จะทำให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และเกิดเป็นความสามารถในการทำกิจกรรมได้ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีตามมาอีกด้วย

การบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัด

Therapeutic Relationship to recovery

การสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ ในการพูดคุย และรับฟังสิ่งที่ผู้รับการเล่าด้วยความจริงใจ เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความไว้วางใจ ไม่รู้สึกว่าถูกกดดัน หรือวิตกกังวล และรู้สึกปลอดภัยขณะพูดคุย

Therapeutic Environment to empowerment

  • ให้ความรู้กับผู้ดูแลให้เข้าใจถึงภาวะที่ผู้รับบริการประสบ และแนะนำให้ผู้ดูแลช่วยกระตุ้นให้ผู้รับบริการทำกิจกรรม
  • มีการปรับ และจัดสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกปลอดภัย ไม่เครียด และวิตกกังวล รวมทั้งการป้องกันสิ่งเร้าที่มากระตุ้น
  • จัดกิจรรม Peer Group เพื่อให้ผู้รับบริการได้ฟังประสบการณ์จากผู้ที่เคยเป็นภาวะเช่นนี้ มีวิธีการจัดการอย่างไร ซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการมีแรงจูงใจมากขึ้น
  • ติดต่อหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน

Therapeutic Use of self to empathy

  • ใช้ตนเองเป็นสื่อบำบัด โดยการพูดคุยให้ความรู้กับผู้รับบริการให้เข้าใจถึงภาวะของโรคที่กำลังประสบอยู่ ว่าโรคนี้สามารถหายได้ ถ้าคุณเข้าใจ และรู้จักปรับตัวเอง
  • มีการพูดคุยโดยการใช้คำถามปลายเปิด

Therapeutic Skill to active learning

ตัวอย่างกิจกรรมบำบัดฟื้นฟู ได้แก่ กิจกรรมปรับสมดุลจิตใจ เป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้รับบริการที่มีแผลทางจิตใจ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถรับมือกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ โดยจะสอนเทคการจัดการกับความวิตกกังวล เช่น การหายใจอย่างช้าๆ , การจินตนาการ และเทคนิคการควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้น เหมาะสำหรับผู้รับบริการที่มีระดับความรู้ความเข้าใจ ตั้งแต่ 3 ขึ้นไป โดยจัดกลุ่มแบบกลุ่มผลงานก่อน คือทำด้วยกันกับผู้บำบัดก่อน จากนั้นเข้าสู่กิจกรรมสร้างความสมดุลทางจิตใจ เช่น สอนให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าตนเองปลอดภัย สอนการสังเกต และจดจำการเปลี่ยนแปลงร่างกายที่เกิด เพื่อให้ผู้รับบริการได้เกิดการเรียนรู้ตัวเอง สามารถจัดการกับสถานการณ์ได้ และเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางจิตใจของผู้รับบริการอีกด้วย ซึ่งกิจกรรมนี้เหมาะสำหรับผู้มีระดับความรู้ความเข้าใจระดับ 4 ขึ้นไป จัดกลุ่มแบบกลุ่มผล จากนั้นเมื่อผู้รับบริการทำได้ก็สามารถนำวิธีเหล่านี้ไปแชร์กับคนอื่นโดยการจัดกลุ่มอารมณ์ร่วมใจ ทุกคนมามีส่วนร่วมด้วยกัน เพื่อที่จะช่วยกันต่อสู้กับโรคนี้ไปได้

การบำบัดฟื้นฟูจะได้ผลดีหรือไม่ก็ต้องเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างผู้บำบัดและผู้รับบริการ ร่วมทั้งคนในครอบครัวถ้าช่วยกันสนับสนุน และให้กำลังใจซึ่งกันและกันโรคเหล่านี้ก็จะสามารถหายไปได้ และสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้ตามบริบทของผู้รับบริการ

สุดท้ายนี้ดิฉันหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับนักอ่านทุกท่านนะคะ ^^

อ้างอิง :

พนม เกตุมาน. จิตเวช ศิริราช DSM-5. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์; 2558.

สถาบันกัลยาณ์ราชนคริทร์. คู่มือการช่วยเหลือเยียวยาจิตใจประชาชนในภาวะวิกฤต (ฉบับปรับปรุง). [Internet]. 2553 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.mcc-galya.com/manual_files/usermanual1.pdf

PTSD ในภัยพิบัติ. [Internet]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.nursepolice.go.th/sites/default/files/r...

พ.ญ.บุญพร้อม เชษฐรตานนท์. Posttraumatic Stress Disorder [Internet].2542 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/...

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603360เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2016 02:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2016 02:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท