พลังการเรียนรู้ สร้างสรรค์ สู่การเปลี่ยนแปลง ผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง สู่การฟื้นฟูสภาวะทางสังคมไทย


สวัสดีครับผมวันนี้มาพบกับผมอีกแล้วนะครับ โดยในวันนี้ผมจะมากล่าวถึง พลังการเรียนรู้ สร้างสรรค์ สู่การเปลี่ยนแปลง ผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง(Borderline personality disorder)

ในช่วงแรกผมจะขอกล่าวถึง โรคความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality disorder) กันก่อนเพื่อให้ได้เข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้นะครับ โดยโรคนี้เป็นโรคทางบุคลิกภาพที่จะมีความพฤติกรรมเบี่ยงเบนอย่างชัดเจนจากคนปกติในสังคม โดยตนเองจะคิดว่าการกระทำของตนเองนั้นถูกต้องแล้ว โดยผู้ป่วยจะไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคนี้ ผู้ที่สามารถสังเกตได้จะเป็นครอบครัวและเพื่อนเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

Cluster-A เช่น paranoid,schizoid

Cluster-B เช่น antisocial,borderline

Cluster-C เช่น avoidant,dependent

ในวันนี้ผมจะขอกล่าวถึง ผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง(Borderline personality disorder) โรคนี้จะมีปัญหาสัมพันธภาพที่ไม่มั่นคงนั้นคือ สามารถดีกับคนหนึ่งมาก ถ้ารู้สึกพอใจ แต่ถ้ารู้สึกไม่พอใจก็จะร้ายมากเช่นกัน แม้จะเป็นคนเดียวกันก็ตาม มีอารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว ขี้น้อยใจ เบื่อหน่าย เศร้า กลัวการถูกทอดทิ้งจะทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ถูกทอดทิ้ง โดยจะมีวิธีเรียกร้องความสนใจที่รุนแรง เช่น ทำร้ายตัวเอง ฆ่าตัวตาย เป็นต้น สาเหตุเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม,การถูกกระทบทางสมอง,ปัจจัยทางด้านสังคม,การเลี้ยงชีพ การทารุณกรรม โดยที่สำคัญคือผู้รับบริการจะไม่ทราบถึงโรคของตนเองผู้ที่สังเกตและพามาพบแพทย์จะเป็นเพื่อนหรือครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ เพราะเห็นความผิดปกติที่ได้กล่าวมาข้างต้นรวมถึงผลกระทบต่อกิจกรรมการดำเนินชีวิต (occupation) ในด้าน การงาน(work) งานอดิเรก(leisure) ความสัมพันธ์ทางสังคม(social participation) และในด้านความสามารถ (performance skills) ในส่วนการสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ (social communication and interaction)

การประเมินทางกิจกรรมบำบัดที่ใช้ PEOP Model เป็นหลักสำคัญในการประเมินผู้รับบริการ สามารถประเมินได้ดังนี้

P(person): ประเมินโดยการสัมภาษณ์จากตัวผู้รับบริการและการสังเกตระหว่างสัมภาษณ์ แบบประเมิน PDT ที่ผู้รับบริการสามารถประเมินผลได้ด้วยตนเอง

E(environment): สัมภาษณ์จากครอบครัวและเพื่อน เช่น พฤติกรรมที่ไม่เหมือนคนอื่น เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมนั้น การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและครอบครัว

O(occupation): ประเมิน routine task เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจ interest checklist เพื่อประเมินสิ่งที่สนใจ Vineland เพื่อประเมินการปรับพฤติกรรมในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

P(performance): functional assessments เพื่อประเมินการทำกิจกรรม

เมื่อบุคคลมีปัญหาทางพฤติกรรมย่อมทำให้ แรงจูงใจ(motivation) ความสามารถ(ability) โดยนักกิจกรรมบำบัดสามารถทำให้เกิดสองสิ่งนี้ได้จาก การใช้ therapeutic use of self,therapeutic relationship,teaching and learning process,activities analysis

Motivation การให้แรงจูงใจซึ่งมีได้ทั้งภายในและภายนอก P+E โดยเริ่มจากภายนอกก่อนจากบุคคลใกล้ชิดที่ต้องการให้ผู้รับบริการมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่ดีขึ้น โดยอาจทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรค พยายามไม่ตำหนิหรือรู้สึกแปลกกับพฤติกรรมใช้ความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจ ฟังมนสิ่งที่เขาต้องการ ส่งเสริมให้ทำตามที่ตนเองชอบ รวมถึงการปรับสิ่งแวดล้อมไม่ให้เกิดแรงกระตุ้นในการทำพฤติกรรม และภายในโดยตัวผู้รับบริการต้องยอมรับและพยายามสร้างแรงจูงใจให้ตัวเองว่าสามารถทำพฤติกรรมที่เหมาะสมได้ เมื่อได้ทำทั้งภายนอกภายในจะก่อให้เกิด แรงจูงใจ(motivation) แก่ตัวผู้รับบริการ

ability. ความสามารถสามารถเกิดขึ้นได้จาก P+E+O จากการสร้างจูงใจก่อนหน้านี้โดยความสามารถนี้คือการควบคุมอารมณ์ของตนเอง เข้าใจมารยาททางสังคมที่เหมาะสม โดยอาจให้เริ่มทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบและเป็นกลุ่มเพื่อให้เรียนรู้อารมณ์ของตนเองและมารยาททางสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและนำไปปรับใช้กับสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้(transformation)

การออกแบบสื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัด โดยในขั้นแรกเราจะประเมินระดับความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งในผู้รับบริการประเภทนี้จะอยู่ในระดับ 5.ระดับสำรวจ (exploratory) ซึ่งจะมีการวางตัวไม่เหมาะสมกับผู้อื่นระงับอารมณ์ของตนเองไม่ได้จากแบบประเมิน routine task และประเมินระดับของกลุ่มพลวัติจะอยู่ในระดับ ร่วมมือร่วมใจ ทำให้สามารถจัดกระบวนการบำบัดแบบจิตบำบัดโดยมีด้วยกันสองแบบคือ 1.จิตบำบัดแบบเดียว 2.จิตบำบัดแบบกลุ่ม

จิตบำบัด เป็นการรักษาโดยการพูดคุยกับผู้รับบริการ หาปัญหาร่วมกัน วิเคราห์ปัญหาและทำการแก้ปัญหาไปด้วยกันพร้อมผู้บำบัด โดยมีสองแบบคือ จิตบำบัดแบบเดี่ยว(individual psychotherapy) และ จิตบำบัดแบบกลุ่ม (group psychotherapy)

จิตบำบัดแบบเดี่ยว (individual psychotherapy) คือผู้บำบัดพูดคุยกับผู้รับบริการ หาสาเหตุ วิเคราะห์ปัญหาและร่วมกันแก้ไขปัญหา และเปลี่ยนบุคลิกภาพในระยะยาวเรียกว่า จิตบำบัดแบบลึก โดยมีการใช้วิธีบำบัดจากสองทฤษฎี คือ

จิตวิเคราห์ ซึ่งใช้แนวคิดของ ฟรอยด์

Free association ให้ผู้รับบริการผ่อนคลายและเล่าปัญหาของตนเองที่รู้สึกคับข้องใจ

dream interpretation ให้ผู้รับบริการเล่าถึงความฝันและสิ่งที่ผู้รับบริการอยากทำ

transference โอนถ่ายความรู้สึกของตนเองไปให้บุคคลอื่นคล้ายกับการได้ระบาย

พฤติกรรมนิยม สามารถทำได้สองแบบคือ การเสริมแรง การลงโทษ(behavioral FOR) การให้ตัวอย่างหรือการยกตัวอย่าง

จิตบำบัดแบบกลุ่มมีกระบวนอยู่ 3 ขั้นตอน

1.สร้างสัมพันธภาพ( therapeutic relationships) เพื่อให้ผู้รับบริการเชื่อใจและสามารถเล่าเรืองของตนเองให้เราฟังได้อย่างครบถ้วน ไม่ปิดบัง รู้สึกเป็นกันเองเหมือนเล่าให้เพื่อนฟัง และผู้บำบัดต้องรับฟังปัญหาอย่างตั้งใจ และแสดงความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจถึงสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการจะบอกเราและเข้าถึงสิ่งที่เขาต้องการ(therapeutic empathy)

2.ระยะโอนถ่ายความรู้สึกสู่ผู้รับบริการ พัฒนาการตระหนักรู้ในปัญหา วิเคราะห์ปัญหา ร่วมกันแก้ไขปัญหา เช่น ทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ เพื่อลดอารมณ์ที่แปรปรวนจากแบบประเมิน interest checklist (activities analysis) สนับสนุน ประคับประคอง ให้กำลังใจ ให้ผ่านเหตุการณ์และพฤติกรรมเหล่านี้ไปได้ (therapeutic empathy) การสอน(teaching and learning process) การปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ชุมชน โดยอาจจะบอกผ่านทางผู้รับบริการหรือบุคคลใกล้ชิดให้ได้ร่วมกันแก้ปัญหาก็ทำได้ดีเช่นกัน (therapeutic environment)

3.การสิ้นสุดความสัมพันธ์อย่างเหมาะสม (therapeutic relationships)

จิตบำบัดแบบกลุ่ม(group psychotherapy) เน้นการสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างคนในกลุ่มที่มีภาวะคล้ายและใกล้เคียงกัน โดยหัวใจคือเป็นการช่วยกันเองในกลุ่ม ให้รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น ยอมรับตนเองและผู้อื่น โดยมีผู้บำบัดเป็นผู้สังเกตการณ์หรือเป็นผู้ดำเนินหลายการณ์เพียงเล็กน้อย

การจัดรูปแบบกิจกรรมกลุ่มมีอยู่มากมายหลายรูปแบบเป็นอย่างยิ่ง แต่การจะบำบัดผู้รับบริการที่มีบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง(Borderline personality disorder) จะใช้วิธีกลุ่มแบบ free interaction group เป็นการพูดคุยระหว่างคนในกลุ่มที่มีปัญหาคล้ายกันได้แสดงความคิดเห็นอิสระ โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในกลุ่มอย่างจริงใจ ทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นมากยิ่งขึ้น รู้จักอารมณ์ของตนเองและมารยาททางสังคม โดยมีผู้บำบัดคอยสังเกตและคอยเตือนเมื่อมีการทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้น

การทำให้ได้เข้าใจตนเอง คนรอบข้าง รู้จักอารมณ์และมารยาททางสังคมจะทำให้ผู้รับบริการสามารถเปลั่ยนแปลงตนเองและจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆได้ดียิ่งขึ้นและไม่เกิดปัญหาตามมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผู้รับบริการจะได้รับความสามารถในการจัดการตนเองไป(therapeutic skills)

ท้ายที่สุดนี้ผมก็ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้อ่านบันทึกของผมมาจนถึงจุดนี้ได้ ขอบคุณมากจากใจจริงครับ ท่านอาจจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อยนะครับเท่านี้ปมก็ดีใจมากแล้วครับ และสุดท้ายผมขอลาไปก่อนนะครับ แล้วเราจะมาพบกันใหม่นะครับ สวัสดีครับ

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603356เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2016 00:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2016 00:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท