Global Innovation Index บอกอะไรแก่กิจการในการรุก AEC


อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

องค์ประกอบสำคัญด้านความได้เปรียบด้านการแข่งขันของกิจการมีหลายองค์ประกอบ แต่องค์ประกอบหนึ่งที่กิจการไทยอาจจะใช้เป็นตัวชี้วัด และชั่งใจเพื่อเตรียมตัวออกสู่ตลาด AEC เรียกว่า นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ของประเทศแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน และสามารถชี้วัดได้ด้วยตัวชี้วัดที่เรียกว่า Global Innovation Index

นวัตกรรม หรือ Innovation เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถด้านการแข่งขันที่สำคัญตัวหนึ่งของแต่ละประเทศ

กลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จควบคู่กับโมเดล ที่ปรับตัวได้อย่างเหมาะสมเป็นปัจจัยวิกฤติของการสร้างผู้ประกอบการพันธ์ใหม่ในอนาคต โดยเฉพาะสำหรับกิจการของไทยที่ยังคงขาดการรับรู้อย่างเพียงพอว่า โลกนี้เขาวัดปัจจัยขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมกันอย่างไร

นับตั้งแต่ปี 2002 INSEAD elab ได้อาศัยการศึกษาร่วมกันของสถาบันการศึกษา ผู้นำธุรกิจและผู้กำหนดนโยบาย ได้ร่วมกันสร้างดัชนีเรียกว่า Global Innovation Index (GII) โดย GII ได้ทำการวัดผลประเทศด้วยศักยภาพด้านนวัตกรรม 3 ดัชนีย่อย

  • Input ปัจจัย
  • Output ผลผลิต
  • Efficiency ประสิทธิภาพ

Input sub-index

Innovative เป็นการประเมินจากทรัพยากรในด้านนวัตกรรม และทำการจัดอันดับ (Rating)

Output sub-index

Innovative เป็นการประเมินจากที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมและทำการจัดอันดับ (Rating)

Efficiency Composite-index

เป็นการนำเอาดัชนี 2 ดัชนีที่ได้ทำการประเมินไว้ก่อนหน้านี้ มาประเมินในภาพรวมเป็น Innovation Efficiency Index(IEI) ซึ่งวัดจากการที่ประเทศได้ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า ในการผลิตผลผลิตทางด้านนวัตกรรมที่มีคุณภาพดีกว่า

อย่างไรก็ตาม ในการจัดอันดับ Global Innovation Index นี้ได้ทำการจัดกลุ่มประเทศต่างๆออกเป็น 5 กลุ่มคือ

(ก) High Income Group

(ข) Upper Middle Income

(ค) Middle Income Group

(ง) Lower- Middle Income Group

(ค) Middle Income Group

(ง) Lower-Middle Income Group

(จ) Low Income Group

วิธีการคิดคะแนนที่ใช้เรียงลำดับ

ใช้ในการคำนวณค่าเฉลี่ยของ Input Sub-index และ Output Sub-index

ประเทศที่มีคะแนนสูงกว่า แสดงว่า มีระดับนวัตกรรมดีกว่า

Input Sub-index

Output Sub-index

Pillar 1

สถาบันทางการเมือง หน่วยงานกำกับด้านกฎหมาย และสภาพแวดล้อม

Pillar 1

ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ (การสร้างสรรค์องค์ความรู้ ผลกระทบจากการใช้องค์ความรู้ และประโยชน์ที่มาจากการใช้องค์ความรู้

Pillar 2

ทรัพยากรมนุษย์และการวิจัย(การศึกษา สานอาชีพ และการวิจัยและพัฒนา)

Pillar 2

ผลผลิตที่เป็นเชิงสร้างสรรค์ (สินค้าเชิงสร้างสรรค์ บริการที่สร้างสรรค์ และสิ่งที่มองไม่เห็นที่เป็นเชิงสร้างสรรค์

Pillar 3

โครงสร้างพื้นฐาน (เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีด้านการสื่อสารหรือ ICT พลังงานและโครงสร้างพื้นฐานทั่วไป)

Innovation Efficiency Index

Pillar 4

ความทันสมัยด้านตลาด(เครดิตและสินเชื่อ การลงทุน การค้าและการแข่งขัน)

สัดส่วนของคะแนนจาก Output Sub-index ต่อ Input Sub-index

Pillar 5

ความทันสมัยทางธุรกิจ (องค์ความรู้ของบุคลากรที่เป็นผู้ใช้แรงงาน ความเชื่อมโยงนวัตกรรมและการถ่ายทอดและซึมซับด้านนวัตกรรม)

ผลการจัดอันดับของประเทศในเอเชีย

GII Ranking

ประเทศ

กลุ่ม

Input

Ranking

Output

Ranking

Efficiency

Rank

3

สิงคโปร์

รายได้สูง (High)

1

17

94

4

ฮ่องกง

รายได้สูง (High)

2

12

66

16

เกาหลีใต้

รายได้สูง (High)

17

11

25

20

ญี่ปุ่น

รายได้สูง(High)

18

26

64

29

จีน

Lower-middle

43

14

3

31

มาเลเซีย

Upper-middle

27

35

77

48

ไทย

Lower-middle

48

46

56

51

เวียดนาม

Lower-middle

63

42

20

62

อินเดีย

Lower-middle

87

44

9

75

บรูไน

รายได้สูง (High)

70

94

101

82

ศรีลังกา

Lower-middle

96

65

21

91

ฟิลิปปินส์

Lower-middle

93

84

62

97

บังคลาเทศ

รายได้ต่ำ (Low)

114

69

10

99

อินโดนีเซีย

Lower-middle

95

97

80

105

ปากีสถาน

Lower-middle

123

67

4

111

กัมพูชา

Lower

103

108

87

ผลที่ได้จากการจัดอันดับ GII แสดงว่า สิงคโปร์อยู่ในระดับดีที่สุด คืออันดับ 3 รองจากและสวีเดน ที่อยู่อันดับ1 และ2 ตามลำดับ

จีนเป็นประเทศในกลุ่ม Lower-middle เพียงประเทศเดียวที่ติดอันดับ 1 ใน 30 ของโลก จากการปรับตัวของทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก

มาเลเซียเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Upper-middle ที่ติดอันดับสูงสุด 31 ของทั้งหมดจากความโดดเด่นด้านทรัพยากรทางการเงินเพื่อสนับสนุนนวัตกรรม

ประเทศที่อยู่ในสถานะไม่ดี คือ บรูไนที่อยู่อันดับ 75 ทั้งที่เป็นกลุ่มประเทศรายได้สูง

ในการประเมิน Efficiency Rank พบว่าประเทศในระดับ Lower-middle กลับมีประสิทธิภาพดีกว่าโดยเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอื่น ในกลุ่ม 30 อันดับแรก

ประเทศในเอเชียอย่างสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มีศักยภาพในการแข่งขันไม่ได้ด้อยกว่าประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือ แต่อย่างใด ในด้าน GII แต่มีประสิทธิภาพด้อยกว่า

แต่เฉพาะกลุ่มประเทศ Lower-income ในสมาคมอาเซียนจะพบว่ามีความเป็นผู้นำด้านประสิทธิภาพของนวัตกรรม

ประเทศที่โดดเด่นกว่าประเทศอื่นในกลุ่มเดียวกันคือ จีน เวียดนาม อินเดีย มาเลเซียและไทยด้วย

การพิจารณาจากอันดับเหล่านี้ จะพบว่าไทยยังคงมีอนาคตที่จะพัฒนาในด้านนวัตกรรมเพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศผู้นำในภูมิภาคได้ในอนาคต

แต่ประเทศที่ไทยควรหวั่นเกรง ยังคงเป็น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ จีน มาเลเซีย อินเดีย และปากีสถาน

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603337เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2016 19:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2016 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท