​พลังการเรียนรู้ สร้างสรรค์ สู่การเปลี่ยนแปลงผู้ใหญ่ซึมเศร้า สู่การฟื้นคืนสุขภาวะทางสังคมไทย


โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่จะกลายเป็นปัญหาทางสุขภาพอันดับ 2 ของโลก (รองมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือด) ในอีก 4 ปีข้างหน้า (ปี 2020) โดยในประเทศไทยเอง จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตในปี 2557 พบว่ามีคนไทยป่วยด้วยโรคนี้และยังไม่ได้เข้ารับการรักษากว่า 1.1 ล้านคน

โรคนี้ไม่ได้แสดงถึงความอ่อนแอของจิตใจ แต่ผู้ที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าจะไม่สามารถรวบรวมสติและพลังได้ด้วยตนเอง มีความรู้สึกหดหู่ ไร้ค่าตลอดเวลา เปรียบเสมือนสภาวะพิการ (disabling) ที่ส่งผลเสียต่อครอบครัว การงาน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล
โรคซึมเศร้าอาจเป็นภัยเงียบ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา และอาจถึงขั้นคิดสั้นฆ่าตัวตาย เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ที่อยู่ภายในจิตใจ พบความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูงถึง 15-18 % โรคซึมเศร้าจึงไม่ได้เป็นเพียงความรู้สึกหรืออารมณ์เศร้าหมองที่ผ่านเข้ามาและจะผ่านไปได้ง่ายๆ พบความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า (Lifetime risk) ในหญิงมากกว่าชาย คือ 7-12 % ในชาย และ 20-25 % ในหญิง
ทั้งนี้ จึงควรหาสาเหตุ และให้การช่วยเหลือ แก้ปัญหา บำบัดฟื้นฟูอย่างทันท่วงที เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตพร้อมทั้งฟื้นคืนสู่สุขภาวะที่ดี


สาเหตุของโรคซึมเศร้า
1. ความผิดปกติของสารสื่อประสาท
มีการเสียสมดุลของสารสื่อประสาท ได้แก่norepinephrine, serotonin และ dopamine ที่ลดลง ในสมองบริเวณส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์

2.พันธุกรรม
ในครอบครัวที่เป็นโรคซึมเศร้า คนอื่นๆ ในครอบครัวจะมี โอกาสป่วยได้มากกว่าคนทั่วไป 2.8 เท่า แต่อย่างไรก็ตามการ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมมีประมาณ 31-42%

3.เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด
เหตุการณ์ที่ก่อความเครียดในชีวิตเป็นสาเหตุสำคัญในการ กระตุ้นให้เกิดอาการซึมเศร้าครั้งแรก และยังเป็นตัวกระตุ้นการ กลับเป็นซ้ำของโรคซึมเศร้า เหตุการณ์ที่ก่อความเครียดดังกล่าว ได้แก่ การประสบปัญหาการเงิน ตกงาน คลอดบุตร หย่าร้าง การสูญเสียของรักหรือคนที่รัก ขัดแย้ง หรือทะเลาะเบาะแว้งกับคนอื่น ฯลฯ
4.บุคลิกภาพส่วนตัว
ลักษณะบุคลิกภาพส่วนตัวบางอย่างก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เช่น คนที่มองโลกแง่ร้ายอยู่เสมอ คน ที่ใช้วิธีหลีกเลี่ยงหรือหนีปัญหา และคนเก็บกดอารมณ์ไม่แสดงออก แม้ในสถานการณ์ที่สมควร

ลักษณะอาการ
1. มีอาการเศร้าคงอยู่เกือบตลอดทั้งวันและเป็นทุกวัน บาง วันอาจเป็นมากบางวันอาจเป็นน้อย
2. ความสนใจหรือความเพลิดเพลินในกิจกรรมต่างๆ ที่เคย ทำลดลงอย่างมาก
3. เบื่ออาหารจนน้ำหนักลดลงหรือบางรายอาจมีความ อยากอาหารเพิ่มขึ้น กินมากจนน้ำหนักเพิ่ม (เช่น 2-3 กก. ต่อ เดือน)
4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากแทบทุกวัน ส่วนใหญ่จะนอน ไม่หลับ กระสับกระส่าย หลับดึกแต่จะตื่นเช้า 1-2 ชั่วโมงก่อนเวลา ปกติที่เคยตื่นและไม่สดชื่น
5. ทำอะไรช้า พูดช้า เดินเหิน เคลื่อนไหวช้าลง แต่มีบาง รายก็มีหงุดหงิด กระสับกระส่าย ทำอะไรเหมือนรีบเร่ง
6. อ่อนเพลียหรือไร้เรี่ยวแรง ทั้งวันและแทบทุกวัน
7. รู้สึกตนเองไร้ค่าหรือรู้สึกผิดมากเกินควร (หลายรายที่ มองตน มองโลก มองอนาคตในด้านลบไปหมด เช่น ตนเองไม่หล่อ ไม่สวยไม่เก่งไม่ดี โลกสังคมก็แย่เสื่อมโทรมทุกอย่างแก้ไขไม่ได้แล้ว อนาคตต้องยิ่งทุกข์ยากลำบากมืดมน)
8. สมาธิหรือความคิดอ่านช้าลดลง 9. คิดอยากตายไม่อยากชีวิตอยู่ คิดถึงเรื่องการตายอยู่เรื่อยๆ หรือบางรายพยายามฆ่าตัวตายหรือมีแผนฆ่าตัวตาย
ถ้ามีอาการดังข้างต้น อย่างน้อย 5 อาการ อยู่นานตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และมีอารมณ์เศร้า (ข้อ 1) หรือเบื่อหน่ายไม่มีความสุข (ข้อ 2) แพทย์จะให้การวินิจฉัยว่า ป่วยเป็น “โรคซึมเศร้า”และต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

ระดับความรุนแรง
น้อย (mild) ส่งผลเสีย หรือสัมพันธภาพกับผู้อื่นเพียงเล็กน้อย
ปานกลาง (moderate) อาการและการเสียหน้าที่ อยู่ระหว่างน้อยกับรุนแรง
รุนแรง (severe) มีลักษณะอาการทางจิต
-ไม่มีอาการทางจิต รบกวนการทำหน้าอาชีพ กิจกรรมทางสังคม หรือสัมพันธภาพกับผู้อื่นชัดเจน
-ร่วมกับลักษณะอาการทางจิต มีอาการหลงผิด หูแว่วประสาทหลอน

ผลกระทบต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupation และ Occupational performance)
ADL (กิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน ) ละเลยการดูแลตนเองด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล รวมถึงด้านการเสริมแต่งตัวเอง ส่วนด้านการรับประทานอาหาร บางรายมีอาการเบื่ออาหาร รับประมานอาหารได้น้อยลง ส่งผลให้น้ำหนักลด
IADL (กิจวัตรประจำวันขั้นสูง) เช่น ละเลยการจัดเตรียมอาหาร การจับจ่ายซื้อของ รวมถึงจัดสรรการใช้เงินไม่ได้
Leisure (กิจกรรมยามว่าง) การทำกิจกรรมยามว่างลดลง ไม่มีความสนใจ หรือเพลิดเพลินกับกิจกรรมยามว่างที่เคยชอบทำ
Rest & Sleep (การพักผ่อนและการนอน) ด้านการนอน นอนได้น้อยลง มีปัญหาการนอน หลับๆตื่นๆ บางรายตื่นกลางดึกแล้วนอนต่อไม่ได้
Work (การประกอบอาชีพ) ความสามารถในการทำงานและความรับผิดชอบในการทำงานลดลง เนื่องจากเคลื่อนไหวร่างกายช้า สมาธิและความจำลดลง
Social Participation (การมีส่วนร่วมทางสังคมลดลง) ไม่มีแรงจูงใจเข้าร่วมกิจกรรมใด ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว


กระบวนการประเมิน
person
-สัมภาษณ์ผู้รับบริการ
อารมณ์ ดูว่ามีเศร้า หงุดหงิด ฉุนเฉียว หรือไม่
ความคิด ทัศนคติในการมองตัวเองและคนรอบข้าง มองทุกอย่างแย่ไปหมดทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต คิดเรื่องการตาย ได้ยินเสียงคนมาพูดคุยด้วย เช่นจะมาแกล้งและปองร้าย
-สังเกต
สังเกตดูการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง แววตา การหลบสายตา น้ำเสียง ท่าทีลุกลี้ลุกลน ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจผู้รับบริการว่ากำลังเศร้า ดีใจ ผิดหวัง กลัว หรือท้อแท้ รวมถึงสังเกตด้านร่างกายภายนอก จะมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
-แบบประเมิน
แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม เพื่อประเมินจำแนกความรุนแรงของโรค
แบบประเมินการฆ่าตัวตาย เพื่อค้นหาผู้มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย
Environment
สัมภาษณ์ เพื่อหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบให้เกิดอาการซึมเศร้า เช่น เพื่อนร่วมงานที่ทำงาน คนรัก เป็นต้น
occupation
สัมภาษณ์ถึงการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อหาปัญหาในหัวข้อต่างๆ เช่น
ด้านการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน ละเลยการดูแลตัวเองหรือไม่ อาจสังเกตจากการแต่งตัว กลิ่นตัว กลิ่นปาก มีการเบื่ออาหาร หรือรับประทานเยอะขึ้นกว่าเดิม
การทำกิจวัตรประจำวันขึ้นสูง มีปัญหาด้านการจัดการเงิน การเตรียมมื้ออาหารง่ายๆ
การนอนหลับพักผ่อน จะมีปัญหาการนอนไม่หลับ
การทำกิจกรรมยามว่าง มีการละเลยการทำกิจกรรมยามว่างที่เคยทำ เคยสนใจ
การประกอบอาชีพ ขาดการรับผิดชอบงาน ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ
การมีส่วนร่วมทางสังคม ไม่อยากเข้าสังคม แยกตัวอยู่คนเดียว
แบบประเมินความสนใจ (interest checklist)เพื่อคนหาสิ่งที่ผู้รับบริการชอบ สนใจที่จะทำ
Occupational performance
สัมภาษณ์ ด้านอารมณ์ ความคิดซ้ำ เทียบกับครั้งแรก
สังเกต สีหน้า ท่าทาง และด้านร่างกาย ซ้ำเทียบกับครั้งแรก

แบบประเมิน เพื่อดูความสามารถในการปรับตัว และการดำเนินชีวิตในประจำวัน
แบบวัดระดับความพึงพอใจ (VAS satisfaction)
แบบวัดระดับคุณภาพชีวิต 26 หัวข้อ (WHOQOL- BREF)
แบบประเมินการฟื้นคืนสุขภาวะ

วิเคราะห์โดยใช้ PEOP
Person
ผู้รับบริการ มีอาการซึมเศร้า low self-efficacy, low self-value ,
Environment
ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน บุคคลอื่นๆในสังคม
Motivation
ตั้งคำถามที่ให้ผู้รับบริการเกิดการสำรวจตนเอง และถามคำถามที่สร้างแรงจูงใจคือให้ผู้รับบริการพยายามหาข้อดีของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ใช้คำถามที่ว่า ผู้รับบริการมีความคาดหวังให้ชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร แล้วหาวิธีที่ทำอย่างไรถึงจะบรรลุผลนั้น
Occupation
ADL, IADL, work, rest &sleep , Social participation อย่างที่อธิบายในตอนแรก
Ability เมื่อผู้รับบริการเกิดแรงจูงใจ ก็จะสามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่สามารถเพิ่มสุขภาวะที่ดีได้ต่อไป
Occupational performance
รู้คุณค่าของตัวเอง มีการจัดการอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมที่ดี

กระบวนการออกแบบโปรแกรมการรักษา

Therapeutic relationship to recovery
สร้างความคุ้นเคยและไว้วางใจ ระหว่างผู้บำบัด และผู้รับบริการ ด้วยการพูดและแสดงท่าทางที่เป็นมิตร โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความไว้วางใจคุ้นเคย และเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศให้ดูอบอุ่น มีไมตรี ยิ้มแย้ม แจ่มใส แสดงให้เห็นว่า ผู้บำบัดมีความตั้งใจ จริงใจ และ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการเสมอ
เมื่อความสัมพันธ์มั่นคง ผู้รับบริการไว้ใจผู้บำบัดมากพอที่จะพูดอย่างตรงไปตรงมา แสดงความรู้สึกจริง ไม่เสแสร้ง
Therapeutic environment to empowerment
จัดให้มีกลุ่มที่คอยสนับสนุนกัน (Peer support ) ซึ่งเป็นผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าเหมือนกัน ได้มีโอกาสได้เจอกัน คอยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรื่องราวของกันและกัน ซึ่งให้ผู้รับบริการได้เกิดความคิดที่ว่า ตนเองไม่ได้เผชิญกับเรื่องนี้เพียงผู้เดียว ยังมีเพื่อนที่เจอเรื่องแบบนี้เหมือนกัน เวลาที่ผู้รับบริการได้เล่าเรื่องราว ก็จะเห็นอีกแง่หนึ่งว่ามีคนฟังคอยเข้าใจ เพราะทุกคนเคยผ่านประสบการณ์แบบนั้นมาเหมือนกัน ส่งผลให้ผู้รับบริการมีเพื่อนที่จะคอยประคับประคองกันไปตลอดการบำบัดฟื้นฟู
ครอบครัวถือเป็นคนสำคัญ เนื่องจากเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดผู้รับบริการมากที่สุด ในการคอยดูแลและให้คอยให้การกำลังใจแก่ผู้รับบริการครอบครัวควรมีความเข้าใจผู้รับบริการ กับโรคที่เขาเป็น สนับสนุนให้ผู้รับบริการในเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในกิจวัตรประจำวัน ร่วมกัน เลือกทำกิจกรรมที่ช่วงสร้างให้ความรู้สึกดีขึ้น หรือเพลิดเพลิน ไม่หนักจนเกินไป เช่น ออกกำลังกายเบาๆ ชมภาพยนตร์ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทางสังคม มีการพูดสร้างแรงจูงใจ และคอยทำให้เห็นว่ายังมีคนในครอบครัวที่ยังคอยดูแลใส่ใจอยู่ ไม่แยกจากไปไหน
Therapeutic use of self to empathy
ใช้ตัวผู้บำบัดในการบำบัด ซึ่งตัวผู้บำบัดควรมีคุณสมบัติ ได้แก่ มีความเห็นอกเห็นใจผู้รับบริการ ไว้วางใจได้ สามารถเก็บเรื่องที่ได้รับฟังจากผู้รับบริการไว้เป็นความลับ ยินดีรับฟังความทุกข์ ไวต่ออารมณ์ ความรู้สึกของผู้รับบริการ รวมถึงไม่ตัดสินผู้รับบริการโดยใช้ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อตนเองไปตัดสินผิดถูก มีความเชื่อว่าทุกคนมีความสามารถในการแก้ปัญหา เข้าใจและยอมรับว่าทุกคนมีความแตกต่างกันในเรื่องของความคิด ความสามารถ และยอมรับการตัดสินใจของผู้รับบริการ

การบําบัดกระบวนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive-Behavioral Therapy)
ใช้ cognitive model มาใช้กับผู้รับบริการให้เข้าใจโรคหรือปัญหาของตนเอง ดูว่าผู้รับบริการมีวิธีคิดและมองโลกอย่างไร ซึ่งในคนไข้แต่ละคนจะใช้ Cognitive model ที่ต่างกันไป และเมื่อพบเหตุการณ์ก็จะมีวิธีคิดและตีความต่างกันไป ซึ่งผู้รับบริการจะมีความคิดที่บิดเบือน ผิดไปจากความจริงโดยมักจะมองโลกในทางลบ มองตัวเองแย่ ไม่มีคุณค่า สิ้นหวัง สรุปเป็น 3 องค์ประกอบคือ 1.ตัวเองแย่ 2.โลกรอบตัวแย่ 3.อนาคตแย่ การนำ Cognitive model มาใช้ ก็เพื่อให้ผู้รับบริการเห็นความเชื่อมโยง และสามารถประเมินได้ว่าการมองโลกนั้นถูกหรือผิดเพี้ยน บิดเบือนความจริงแค่ไหน
Cognitive therapy ใช้เทคนิคหลากหลาย เพื่อเปลี่ยนแปลงความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม ในผู้รับบริการที่มีอาการซึมเศร้า ที่เก็บตัว ไม่อยากทำอะไรเพราะอารมณ์เศร้า ถ้าแก้ไขอารมณ์ให้ดีขึ้น ก็น่าจะกลับไปทำงานได้ แต่แก้ไขโดยตรงจะทำได้ยาก หรือการปรับแก้ความคิดก็อาจทำได้ยากในช่วงแรก เนื่องจากผู้รับบริการยังอยู่ในความคิดความอ่านช้า คิดอะไรไม่ออก ดังนั้นจึงปรับแก้ที่พฤติกรรมก่อน โดยกำหนดกิจกรรมให้ทำ ให้ช่วยคิดตาราง หรือกิจกรรมที่ผู้รับบริการควรทำ แล้วสังเกต ติดตาม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ทำให้ผู้ป่วยกระฉับกระเฉงมากขึ้น ผลสุดท้ายอารมณ์จะดีขึ้นตามมา

Therapeutic skill to active learning
สำหรับผู้บริการที่มี Cognitive ระดับ 5-6 จัดกลุ่มแบบ cooperative หรือ กลุ่ม อารมณ์ร่วมใจ
โดยจัดกิจกรรมที่ให้ผู้รับบริการ และ peer support ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นในการจัดการอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมร่วมกัน ค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละคนและร่วมการแก้ปัญหาเหล่านั้น เพื่อให้เกิดการแสดงบทบาทที่เหมาะสม โดยจัดให้มี peer support ที่มีอาการของโรคที่เริ่มหาย ใกล้เคียงกับปกติรวมถึงมีสุขภาวะที่ดีอยู่ในกลุ่ม ในการร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้ โดยจะมีการตั้งคำถามที่ช่วยดึงผู้รับบริการออกจากตัวเอง ทำให้เขาหลุดจากมุมมองเดิม เช่น
“หากคนที่คุณรู้จักและห่วงใยมีความคิดเช่นนี้ คุณจะบอกเขาว่าอย่างไร”
“เคยบ้างไหมที่เผชิญสถานการณ์แบบนี้ แต่ไม่มีความคิดแบบนั้น”
“เคยรู้สึกแบบนี้มาก่อนไหม แล้วจัดการความรู้สึกนั้นอย่างไร”
“หากคุณออกจากสถานการณ์นั้น หรือเมื่อมันผ่านไปแล้ว ถึงตอนนั้นคุณจะคิดอย่างไร”
โดยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้รับบริการเกิดมุมมองใหม่ต่อความเชื่อ ความคิด และสถานการณ์เดิม

จากนั้นให้ระบุความคิดแบบขาว-ดำ หรือสุดขั้ว กิจกรรมคือ ให้ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่กำหนดระดับขอบเขต ตั้งแต่น้อยไปมาก ไม่มีอะไรดีหรือแย่สุดไปตลอด ให้ผู้รับบริการลองคิดเป็นสองทาง ระหว่าง “แย่/เลว/ไม่ดี” มากที่สุด ให้คะแนนเป็น 0 ไปจนถึง “ดี/มีค่า” มากที่สุด ให้คะแนนเต็ม 10 ให้ผู้รับบริการบอกความคิดที่สอดคล้องกับการให้คะแนน 0-10
ซึ่งวิธีนี้ จะทำให้ผู้ป่วยเห็นว่าสิ่งที่ตัวเองคิดว่าเป็นเหตุการณ์ร้ายๆนั้นไม่เป็นความจริง จากนั้นให้เจาะลงไปในเรื่องที่แย่ที่สุดที่เขาคิดว่าจะเป็นอะไร ให้เขาเลือกเรื่องที่คิดว่าแย่ที่สุด แล้วตั้งคำถาม เช่น มีวิธีอื่นที่สามารถมองสิ่งที่เกิดขึ้นอีกไหม หรือตั้งคำถามว่ามันมีจุดแข็งที่มองข้ามไปหรือไม่ ซึ่งให้ผู้รับบริการยอมรับว่า สิ่งที่เขาเชื่ออาจไม่ได้เป็นแบบนั้นจริงๆ

อ้างอิง

นันทวัช สิทธิรักษ์, บรรณาธิการ. จิตเวช ศิริราช DHM-5. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิต เวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล;
2558.
จิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรคซึมเศร้า [อินเทอร์เน็ต]. [เขาถึงเมื่อ 7 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้ จากhttp://med.mahidol.ac.th/psych/sites/default/files...

http://hph.moph.go.th/modules/Books/pdffile/b1293696856.pdf


http://www.thaifamilylink.net/web/node/138

http://www.thaidepression.com/www/56/CBTdepression...

https://www.facebook.com/D2JED/photos/a.783639861769249.1073741893.293539557445951/783651288434773/?type=3&theater





หมายเลขบันทึก: 603336เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2016 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2016 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท