"KM 3.0 เพื่อเรียนรู้ สร้างสรรค์ สู่คุณภาพ...ทุกลมหายใจ"


session "KM 3.0 เพื่อเรียนรู้ สร้างสรรค์ สู่คุณภาพ...ทุกลมหายใจ" ข้าพเจ้าได้รับโอกาสจากทางท่านอาจารย์หมอวิจารณ์และทาง สรพ. ร่วมเป็นวิทยากรในการนำ KM มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน R2R ซึ่งใน session นี้มีอาจารย์วิทยากรคือ

1.ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช อิสระ

2.รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ อิสระ

3.อ.จิตติ อาพิบูลย์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

4.ดร.นิภาพร ลครวงศ์. โรงพยาบาลยโสธร


ข้าพเจ้าจำลองภาพกระบวนการเรียนรู้ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปของเครือข่ายนักวิทย์ฯ ชุมชน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่7 ขอนแก่น (ครอบคลุม 4 จังหวัดคือ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคามและร้อยเอ็ด) เป็นการนำเสนอเป็นคลิปสั้นๆ ให้เห็นภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้

จากคลิปทีข้าพเจ้าต้องการสะท้อนให้เห็นภาพของการจัดกระบวนการเรียนรู้ เริ่มแรกทุกคนต่างที่มาต่างหน้าที่ในการงาน

มีพยาบาล เภสัชกร แพทย์แผนไทย นักวิชาการสาธารณสุข อสม. กระบวนการที่ทำให้ดูผ่อนคลายและมีความเป็นกันเองจะช่วยทำให้บรรยากาศเกิดความผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้ การใส่กิจกรรมบางอย่างเพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมจะทำให้ท่าทีที่ปฏิบัติต่อกันมีช่องว่างแคบลง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวอาจจะเป็นการแนะนำตัวเอง การทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์. หรือแม้แต่การเขียนหัวใจแห่งความคาดหวังและนำมาติดที่กระดานส่วนกลาง ส่งผลการเคลื่อนไหวผ่อนคลายทางกายก็เริ่มต้น ....

จากนั้นสลายพฤติกรรมแล้วเข้าสู่กระบวนการสุนทรียสนทนาหรือ Dialogue เสน่ห์ของการสุนทรียสนทนาข้าพเจ้ามองว่าทำให้บุคคลมีสภาวะของความตื่นรู้ที่เป็นรับสิ่งใหม่ข้อมูลใหม่เข้าไปผสานกับฐานความรู้เดิมที่มีอยู่

เมื่อบุคคลแม้จะมาจากต่างๆหรือต่างหน้าที่ หากได้เข้ากระบวนการสุนทรียะแล้ว การไหลลื่นไปของการเรียนรู้ก็เริ่มดำเนินไปอย่างไม่สะดุด

ในการขับเคลื่อนพัฒนางานโดยใช้ KM และ R2R เข้ามาผสานกัน

สิ่งที่ข้าพเจ้าตั้งโจทย์กับตนเองคือ...ทำอย่างไรคนหน้างานจะเกิดสัมมาทิฐิในวิจัย

"มีความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถเกิดทักษะทางการวิจัยเนียนเนื้อเข้าไปในชีวิตแห่งการงาน"

การนำองค์ความรู้ทฤษฎีวิจัยมาย่อยแล้วแปลงเพื่อสื่อสารให้คนทำงานได้เข้าใจ คุณอำนวยมีส่วนช่วยอย่างสำคัญมาก...แปรเปลี่ยนจากการเป็นผู้บอกความรู้มาเป็นผู้ช่วยนำพาให้คนทำงานเกิดการสร้างความรู้เรื่องวิจัยขึ้นมาเอง

ตลอดหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2548 ที่เริ่มรู้จัก KM และเริ่มได้ยินคำว่า R2R

ข้าพเจ้านำประสบการณ์ของการทำวิจัย ถอดบทเรียนวิธีการของตนเองที่ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องวิจัย และเทคนิคกระบบวนการของ KM มาผสานกันออกแบบเป็นกระบวนการเรียนรู้ บางครั้งอาจจะไม่ได้เริ่มต้นค้นหาคำถามการวิจัยเพราะคนหน้างานเขาก้าวกระโดดไปสร้างสรรค์วิธีการแก้ปัญหาแล้ว(Intervention) ดังนั้นข้าพเจ้าจึงนำกระบวนการที่คนหน้างานสร้างสรรค์ขึ้นมานั้นย้อนกลับมาสู่การตั้งคำถามการวิจัย เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่เขาคิดขึ้นมานั้นใช้ได้ไหม ถูกต้องไหม

การเรียนรู้แบบนี้ไม่ต้องเป็นลำดับขั้น...สามารถหมุนวนกลับไปกลับมาได้

และสิ่งสำคัญ...สิ่งที่เอื้อให้ข้าพเจ้าสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ลื่นไหลไปด้วยคือ การไม่ถูกรบกวนจากวิธีการเรียนวิจัยแบบเดิมๆ ที่เป็นแบบบรรยายหรือแบบบอกความรู้ ต้องปล่อยให้ผู้เรียนเป็นอิสระที่จะเข้ามาทำความเข้าใจวิธีคิดวิธีเรียนของตนเอง

ข้าพเจ้าลองสรุปเป็นภาพตลอดสิบปีที่ทดสอบกระบวนการจัดการเรียนรู้ของตนเองในเรื่อง R2R. ดังภาพภาพนี้เป็นแบบจำลองการจัดพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้

มีการเคลื่อนไหว...เป็นไดนามิค

นำไปสู่การเกิดปฏิสัมพันธ์ในตัวบุคคลในเชิงบวก การเกื้อกูลและช่วยเหลือกัน

เป้าหมายของการนำ R2R มาพัฒนางานเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลทั้งทางด้านปัญญาและจิตใจ ส่วนผลลัพธ์ต่องาน องค์กรเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความลึกซึ้งของการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลนั้นๆ เท่านั้นเอง

จากต้นสายปลายเหตุ...เทคนิคหรือกระบวนการเรียนรู้สำคัญมาก ในภาษาธรรมะข้าพเจ้าเรียกว่า "วัตรปฏิบัติ"...(ลูกศรสีส้มในภาพ) หากกระบวนการไม่เหมาะสมโอกาสที่จะเกิดความรู้ความเข้าใจ...หรือเรียนรู้ไปแบบทุกข์มีสูง

ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ควรจะถึงพร้อมด้วยความรู้และความเบิกบาน

พลังชีวิตก็จะปรากฏและช่วยทำให้ผู้คนก้าวผ่านมิติแห่งความทุกข์และปัญหาไปได้แบบมีปัญญา

...

10 มีนาคม พ.ศ2559

ด้วยความนอบน้อมต่อท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ครูผู้เปิดประตูแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลให้ข้าพเจ้าได้เติบโตและงอกงามทางปัญญา


คำสำคัญ (Tags): #diloguebook#ha#r2r#km#haforum3.0
หมายเลขบันทึก: 603277เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2016 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2016 05:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านความเห็นของอาจารย์ทั้งสองท่าน ทั้ง อ.พี่แก้ว และ อ.หมอสุข...ยิ่งเบิกบานอย่างยิ่งค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท