ครั้งหนึ่งในชีวิตกับภารกิจออกหน่วยฯในดินแดนพุทธภูมิ ตอน "ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติกาล"


สังเวชนียสถาน หมายถึงสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็น มี 4 แห่ง คือ

  1. สถานที่ประสูติ
  2. สถานที่ตรัสรู้
  3. สถานที่แสดงปฐมเทศนา
  4. สถานที่ปรินิพพาน

สังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้ ท่านว่าเป็นสถานที่ควรไปเคารพสักการะ ควรไปแสวงบุญ เพื่อให้เกิดความสังเวชและเกิดพุทธานุสติ อันจักนำมาซึ่งบุญกุศลและความปลาบปลื้มแช่มชื่นใจ จากเนื้อความในมหาปรินิพพานสูตร แสดงให้เห็นว่าสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้ได้เกิดขึ้นโดยคำแนะนำของพระพุทธองค์ ที่ได้ตรัสว่า ผู้ใดระลึกถึงพระองค์ พึงจาริกไปยังสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้

ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติกาล


เบบี้บุดดา บริเวณทางเข้าไปยัง มายาเทวีมหาวิหาร

"ลุมพินี" สมัยก่อนพุทธกาลเป็นป่าใหญ่ อยู่ในเส้นทางระหว่างกรุงกบิลพิสดุ์ (พระเจ้าสุทโธทนะ) และ กรุงเทวทหะ (พระนางสิริมหามายาพุทธมารดา)

ป่าใหญ่ที่ชื่อ "ลุมพินี" ได้เกิดมีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของโลก เพราะเกิดเป็นพุทธสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ คือ "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า"

เป็นธรรมเนียมของยุคสมัยโบราณก่อนพุทธกาลนั้น หญิงเวลามีครรภ์ใกล้คลอด นิยมกลับบ้านเมืองเดิมเพื่อทำการคลอดลูก แต่เนื่องจาก "พระนางสิริมหามายาพุทธมารดา" บ้านเมืองเดิมอยู่ที่กรุงเทวทหะ (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงกบิลพัสดุ์) เมื่อใกล้ประสูติกาล จึงพร้อมด้วยข้าราชบริพาร เดินทางกลับมาตุภูมิที่กรุงเทวทหะ แต่เดินทางยังไม่ทันถึงมาตุภูมิ เดินได้เพียงแค่ครึ่งทางที่ป่าใหญ่ "ลุมพินี" ก็พอดีเกิดประสูติกาล ประสูติพระราชกุมารคือ "เจ้าชายสิทธัตถะ" ที่กลางป่าใหญ่ที่ "ลุมพินี" นั่นเอง

มายาเทวีมหาวิหาร ภายในวิหารมีรูปสลักหินเก่าแก่ตั้งอยู่ในรูปสลักของพระนางสิริมหามายา กำลังประทับยืนประสูติพระราชโอรส คือ เจ้าชายสิทธัตถะ (เค้าห้ามถ่ายรูปภายในมายาเทวีมหาวิหารค่ะ เลยไม่มีรูปด้านใน)

ติดกับตัววิหารทางทิศตะวันตกเป็นที่ตั้ง ของเสาพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงปักวางไว้ เพื่อเป็นเครื่องหมายสำคัญว่าตรงนี้คือ ที่ประสูติของพระพุทธองค์

พระอาจารย์เล่าให้ฟังว่า เป็นธรรมเนียมของยุคสมัยโบราณก่อนพุทธกาลนั้น หญิงเวลามีครรภ์ใกล้คลอด นิยมกลับบ้านเมืองเดิมเพื่อทำการคลอดลูก แต่เนื่องจาก "พระนางสิริมหามายาพุทธมารดา" บ้านเมืองเดิมอยู่ที่กรุงเทวทหะ (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงกบิลพัสดุ์) เมื่อใกล้ประสูติกาล จึงพร้อมด้วยข้าราชบริพาร เดินทางกลับมาตุภูมิที่กรุงเทวทหะ แต่เดินทางยังไม่ทันถึงมาตุภูมิ เดินได้เพียงแค่ครึ่งทางที่ป่าใหญ่ "ลุมพินี" พอดีเกิดประสูติกาล ประสูติพระราชกุมารคือ "เจ้าชายสิทธัตถะ" ที่กลางป่าใหญ่ที่ "ลุมพินี" นั่นเอง

ติดกับบริเวณตัววิหารลงมาทางทิศใต้ เป็นสระน้ำโบกขรณีซึ่งเชื่อกันว่า เป็นสระน้ำเก่าที่ใช้สรงสนามพระวรกายของพระสิทธัตถะกุมารเมื่อประสูติออกมาใหม่ๆ

ลงภาพไว้ก่อนเดี๋ยวกลับมาเล่าต่อค่ะ

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 602984เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2016 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2016 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น้องหนึ่ง

หายไปนานมากๆ

อ้อไปเป็นอาสาสมัครนี่เอง

ที่อินเดียน่าสนใจมาก

ถือเป็นโชคดีมากๆที่หนึ่งมีโอกาสได้ไปออกหน่วยค่ะ

พระอาจารย์ท่านบอกว่า บุญหนุนนำ ทำให้เรามีโอกาสได้มา 4 สังเวชนียสถาน และไม่ใช่แค่มาแสวงบุญ แต่เรามาดูแลพระและผู้แสวงบุญด้วย ได้หลายต่อเลยค่ะ สาธุๆๆ _/l\_

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท