ความรู้ คู่ความดี


แผนภูมิขั้นบันได “ฝันให้ไกล ไปให้ถึง”
ให้นักศึกษาเข้าไปทำความเข้าใจความหมายของชื่อจัดตั้งใน แผนภูมิขั้นบันได แล้วตอบครูให้ได้ว่าตัวเองมีชื่อจัดตั้งว่าอย่างไร เวลาพูดคุยกับครูให้ระบุ ชื่อจัดตั้ง ของตนเองด้วยครับ
คำสำคัญ (Tags): #stair#digram
หมายเลขบันทึก: 60264เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2006 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
  • มีการบ้านแล้วเหรอครับ
  • ดีจังเลยครับ
  • แวะมาทักทายก่อนนักศึกษาครับอาจารย์
นี้คือ KM ในชั้นเรียนครับ ต่อจากเรื่องที่แล้ว คือ "การสร้างความรู้ สู่เกรดคาดหมาย" การวิจัยครั้งนี้ มีหลักการโดยย่อดังนี้ หัวปลาคือ เกรดคาดหมายของผู้เรียนแต่ละคน ตัวปลาคือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน โดยมีผู้สอนชี้แนะแนวทาง และบันทึกความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นหางปลาสำหรับการศึกษาทั้งนักศึกษารุ่นนี้และรุ่นต่อไปครับ
  • เยี่ยมเลยครับ
  • อาจารย์เปลี่ยนชื่อแล้วหรือครับ
  • ยิ้ม ยิ้ม

หนทางไปสู่เป้าหมาย

 

ตารางตรวจสอบผลการพัฒนา

 

เกรดคาดหมาย (expected grade)

 

จำนวนข้อที่ต้องทำให้ได้

 

A

 

27 -30

 

B / B+

 

22 – 26

 

C / C+

 

17 - 21

 

D / D+

 

12 - 16

 
  

                นักศึกษาจะต้องพัฒนาตนเองให้สอดรับกับชื่อจัดตั้ง โดยทำชุดติวเตอร์ให้ได้จำนวนข้อเท่ากับจำนวนข้อในตารางข้างต้น เช่น นักศึกษาที่มีชื่อจัดตั้ง BD, CF ควรทำชุดติวเตอร์ให้ได้ดังนี้

 

                ชื่อ BD หมายถึง นักศึกษาตั้งเป้าหมายที่ B แต่ศักยภาพปัจจุบันคือ D

ดังนั้น นักศึกษาจะต้องพยายามทำชุดติวเตอร์ให้ได้ 22 – 26 ข้อ จึงจะมีโอกาสได้เกรด B

 

                ชื่อ CF หมายถึง นักศึกษาตั้งเป้าหมายที่ C แต่ศักยภาพปัจจุบันคือ F

ดังนั้น นักศึกษาจะต้องพยายามทำชุดติวเตอร์ให้ได้ 17 – 21 ข้อ จึงจะมีโอกาสได้เกรด C (ไม่ควรทำเกิน 21 ข้อ ไม่เช่นนั้น เกรดอาจจะสูงกว่า C)

ความรู้ คู่ความดี

 

                ความรู้ คือ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด เปรียบเทียบ

เชื่อมโยงกับสิ่งอื่น จนเกิดเป็นความเข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้

จนมีคำกล่าวที่สำคัญเกี่ยวกับความรู้ คือ ความรู้ คือ พลัง (Knowledge is power)”

 

                ความดี คือ ธรรมะ ความรัก (ต่อทุกคน) ความเมตตา

ความเห็นอกเห็นใจ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และการได้ช่วยเหลือผู้อื่น

เช่น การได้ติวให้เพื่อนๆ มีความรู้จนพ้นจากการสอบตก เป็นต้น

 

                หากมีความรู้แต่ไม่มีความดี โดยการนำเอาความรู้ไปใช้ในการ

เอาเปรียบคนอื่น เช่น การหลบเลี่ยงภาษี หรือเบียดบังเงินหลวง/บริษัท ฯลฯ

สังคมก็จะขาดความสงบสุข

                 ดังนั้น ความรู้จึงควรคู่กับความดี ดังคำขวัญ ความรู้ คู่ความดี

เตรียมพร้อมสำหรับ Test1


ครูขอฝากข้อความนี้ถึงกลุ่ม 15 คนด้วยครับ เกรงเขาไม่ได้เปิดดู


1. แบบฝึกหัดบทที่ 2 ครูพบว่านักศึกษากลุ่ม 15 คน ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำข้อ 1-3-7-8 ให้พยายามทำให้ได้ โดยหาคนที่เข้าใจช่วยติวให้ เมื่อเข้าใจแล้วให้ทำส่งครูเพิ่มเติมในวันจันทร์ที่ 27 นี้ เพราะหากไม่เข้าใจสี่ข้อนี้แล้วจะทำข้อสอบไม่ได้อีกหลายข้อ


2. ให้ดาวน์โหลดไฟล์ http://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/linearquadratic.pdf แล้วให้ทำตามคำแนะนำในนั้น อาจให้เพื่อนช่วยติวให้บางข้อ แล้วให้ทำส่งครูเพิ่มเติมในวันจันทร์ที่ 27 นี้ เช่นกัน


3. นักศึกษาต้องยอมรับว่า เมื่อเราอ่อนกว่าเพื่อน จะต้องทำงานให้มากกว่าเพื่อน จึงจะได้คะแนนเท่ากับเพื่อนครับ

ข่าวดีสำหรับติวเตอร์
            จากผลการวิจัย พบว่า นักศึกษายิ่งติวให้เพื่อนมากข้อเพียงใด ทักษะทางคณิตศาสตร์ก็จะเกิดกับผู้ติวมากตามเพียงนั้น โอกาสที่จะสำเร็จตามเป้าหมายก็สูงตามไปด้วย ดังนั้น การติวให้เพื่อน นอกจากตัวเองจะมีความรู้มากขึ้นแล้ว ยังได้ทำความดี ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีความสุขในฐานะผู้ให้อีกด้วย โปรดจำว่า “ความรู้ คู่ความดี”

  • จากลูกศิษย์ถึงครู 

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ที่ให้กำลังหนูและเพื่อน ๆ ที่อ่อนวิชานี้ค่ะ หนูจะทำตามที่อาจารย์บอกค่ะ และจะขยันติวกับเพื่อน ๆ ที่เข้าใจในวิชานี้ค่ะ

 ขอบคุณค่ะที่พยายามสอนพวกหนู ทำให้มีกำลังใจที่จะเรียนถึงแม้ว่าเลขจำยากสำหรับพวกหนูหนูก็จะพยามยามทำตามที่อาจารย์บอกคะ หนูขอบคุณมากคะที่อาจารย์สนใจที่จะสอนคนไม่ให้เป็นกลับทำได้ ขอบคุณมากคะ  เพราะหนูไม่เคยเจอ ครูที่สนใจแบบนี้คะ

  


สวัสดีค่ะอาจารย์  
              หนูได้หัดทำแบบฝึกหัด และติวเตอร์ของอาจารย์แล้ว   หนูรู้สึกว่ามันช่วยให้หนูเข้าใจมากขึ้นค่ะ หนูไม่ใช่ 1 ใน 15 คนที่สอบได้ 0   กับ 1 หรอกค่ะ แต่หนูเป็นคนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์อ่อนมากค่ะ   เพราะหนูคิดว่าหนูไม่ชอบวิชานี้เลย ไม่อยากเรียนตั้งแต่อยู่มัธยมแล้วค่ะ   แบบว่าหนูมีอคติไปเองน่ะค่ะ  พอตอนที่หนูได้มาเรียนและมีอาจารย์คอยช่วยหาแบบฝึกหัดมาให้คิด หนูก็ทำไม่เป็นค่ะ เพราะว่าพื้นฐานหนูไม่แน่นค่ะอาจารย์ ดีหน่อยค่ะ ที่มีเพื่อนคอยแนะ คอยสอนให้เวลาที่หนูทำข้อไหนไม่ได้   ทำให้ตอนนี้หนูรู้สึกชอบคณิตศาสตร์ขึ้นมาหน่อยค่ะ เพราะทำให้หนูได้คิด   ตอนนี้ก็ทำได้บ้างค่ะ แต่ก็ไม่เก่ง หนูก็จะค่อยๆฝึก  พัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆค่ะเดี๋ยวหนูก็จะไปโหลดงานที่อาจารย์ส่งมาให้ค่ะ
                ขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะ
 

  


 สวัสดีค่ะอาจารย์       
              คือว่าหนูอยากจะถามอาจารย์น่ะค่ะว่า วันจันทร์ ที่ 20 นี้  ส่งการบ้านแบบฝึกหัดบทที่ 2 กับชุดติวเตอร์ใช่ไหมคะ   พอดีวันนี้เพื่อนบอกน่ะค่ะ หนูก็งง เอ...หนูก็เข้าเรียนทุกคาบ ทำไมไม่ได้ยิน   หนูก็ไม่แน่ใจค่ะ ก็เลยเมล์มาถามอาจารย์ ตอนนี้หนูทำติวเตอร์ชุด 1.1 ใกล้เสร็จแล้ว เหลือประมาณ 3-4 ข้อ กะว่าจะทำเย็นนี้ค่ะ  ให้เพื่อนสอนเกือบทุกข้อเลย   แต่ถึงอย่างนั้นหนูก็รู้เรื่องพอที่จะสอนเพื่อนอีกคนให้เข้าใจได้ค่ะเพราะว่าเพื่อนหนูก็เป็น   1 ใน 15 คนที่ได้ 0 กับ 1 ค่ะ  แต่เขาก็ตั้งใจทำแบบฝึกหัดนะคะ  ข้อไหนเขาทำไม่ได้เขาก็ถามหนู   ถ้าหนูทำไม่ได้หนูก็ให้เพื่อนอีกคนช่วยติวให้เขา เหมือนที่เพื่อนติวให้หนูค่ะ  ส่วนแบบฝึกหัดบทที่ 2 คงทำวันอาทิตย์ค่ะ เดี๋ยวไปให้เพื่อนช่วยสอนค่ะ                                                
          ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ
ใครที่ยังแก้ 2 ตัวแปร 2 สมการไม่ได้ โปรดอ่านเว็บที่ส่งมานี้ครับ หากไม่เข้าใจภาษาอังกฤษก็ดูวิธีการแก้สมการก็น่าจะพอเข้าใจบ้าง เพราะมีสิสรรช่วยให้ดูเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับhttp://www.coolmath.com/algebra/Algebra1/08System2x2/04_elimination.htm

                ขอแสดงความยินดีกับนันทิกาที่ได้คะแนนเต็ม Test1 และสุภัคธนากับพัทราพรที่ได้คะแนนเกือบเต็ม ผิดข้อเดียว ข้อที่ทั้งสองคนทำผิดคือ ข้อ 13 ดังนี้

 

                x^2 – x + 6 = (x – 3)(x + 2)
                เมื่อ x^2 คือ x ยกกำลังสอง

 


จำได้หรือเปล่าครับ กฎการแยก x^2 + bx + c มี 3 ขั้นตอนๆ ที่ผิดคือขั้นตอนที่ 2


                1.  แยกตัวหน้าคือ x^2 ออกเป็น x กับ x ซึ่งในที่นี้ ถูก


                2.  แยกตัวหลังคือ +6 ออกเป็น 2 จำนวนคูณกัน ในที่นี้ +6 ไม่เท่ากับ (–3) (+2)


                3.  ผลรวมของคู่ในคูณกันและคู่นอกคูณกัน เท่ากับตัวกลางคือ –1x ซึ่งในที่นี้ ถูก

  

                ขอแสดงความยินดีกับ กลุ่ม 15 จำนวน 10 คนที่สามารถทำคะแนนได้ 3.8 ขึ้นไป ส่วนที่เหลืออีก 5 คน รวมกับคนใหม่อีก 27 คน มีชื่อใหม่เป็น กลุ่ม 32ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำคะแนน Test1ได้ต่ำกว่า 3.8 ดูหมอวิทยาศาสตร์หรือยังครับ

                  กลุ่ม 32 ยังมีโอกาสแก้ตัว ยังเหลือคะแนนอีก 90% ถ้านักศึกษากลุ่มนี้สัญญากับครูว่าจะทำตามที่ครูแนะนำ ครูเชื่อว่าครูสามารถช่วยให้ทุกคนสอบได้ วันจันทร์ที่ 4 ธค. นี้จะบอกวิธีครับ
  • คำแนะนำในการทำข้อสอบ

                ให้อ่านโจทย์อย่างคร่าวๆ จนครบทุกข้อ แล้วจึงเลือกข้อที่ง่ายที่สุดทำก่อน ต่อไปจึงเลือกข้อที่ง่ายรองๆ ไป ไม่จำเป็นต้องทำตามลำดับข้อ 1-2-3-4... เป็นต้นไป เพราะหากทำข้อแรกๆ ไม่ได้จะทำให้เสียกำลังใจทำข้อต่อๆ ไป หากหมดเวลา ให้เดาข้อ ก-ข-ค-ง ข้อใดข้อหนึ่ง ไม่ควรเดาข้อ จ.

  

  • คำแนะนำในการดูหนังสือ

                จันทร์ที่แล้วครูได้สอบถามนักศึกษาใน กลุ่ม 32 บางคน พบว่า แทบทุกคนดูหนังสือถึงตีสองตีสาม ครูจึงถึงบางอ้อ ว่าทำไมนักศึกษาถึงทำข้อสอบไม่ได้ หลักการเรียนที่ถูกต้องคือ ดูหนังสือให้สม่ำเสมอ โดยดูหนักก็ได้ แต่คืนก่อนสอบจะต้องเข้านอนในเวลาปกติที่เคยนอน เพื่อให้สมองแจ่มใสสำหรับการสอบในวันรุ่งขึ้น หากพักผ่อนไม่เพียงพอ ประสิทธิภาพการทำงานของสมองจะลดลง และการนอนมากเกินไปก็ใช่ว่าจะดี ดังนั้น การพักผ่อนในเวลาปกติที่เคยนอนจะดีที่สุดครับ

  

  • หลักในการเตรียมสอบวิชาคณิตศาสตร์

                วิชาคณิตศาสตร์ต่างจากวิชาบรรยาย ซึ่งวิชาบรรยายนั้นการอ่านทบทวนหลายๆ เที่ยวก็จะทำข้อสอบได้ แต่การอ่านวิชาคณิตศาสตร์จะช่วยไม่ได้มากนัก เพราะคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับทักษะการคำนวณ  การอ่านจึงไม่ทำให้เกิดทักษะ จะต้องลงมือทำเท่านั้นจึงจะเกิดทักษะ โปรดสังเกตพฤติกรรมการเตรียมสอบของนักศึกษาสองคนต่อไปนี้ นักศึกษาเลขที่ 32 แสดงความรู้สึกดังนี้ รู้สึกไม่ค่อยภูมิใจเลย เพราะอ่านและท่องมาอย่างดี พอมาถึงห้องสอบกลับทำไม่ได้ ... ในขณะที่นักศึกษาเลขที่ 1 แสดงความรู้สึกดังนี้ รู้สึกดีมาก เพราะไม่เคยทำคะแนนได้มากขนาดนี้มาก่อน ครั้งนี้ตั้งใจมาก ทำทั้งติวเตอร์และแบบฝึกหัดท้ายบท ก่อนสอบได้นำมาลองทำใหม่ทั้งหมด ซึ่งก็ทำได้ ...คนแรกอ่านและท่องมาก คนหลังทำมาก ผลลัพธ์ต่างกันมากระหว่างการอ่านกับการทำครับ

  

  • ผลของการทำตามคำแนะนำของครู

                นักศึกษาเลขที่ 12 แสดงความรู้สึกดังนี้ รู้สึกภูมิใจมากที่ทำได้เกือบเต็ม สาเหตุที่ทำให้ได้คะแนนมากคือ ชุดติวเตอร์ของอาจารย์ ดิฉันทำหลายรอบจนเข้าใจทุกข้อ และอีกอย่างหนึ่งคือ การติวให้เพื่อนตามที่อาจารย์แนะนำ ได้ผลมากเลยค่ะ ขอบคุณอาจารย์ที่ให้โอกาสหนูค่ะ ...

                นักศึกษาเลขที่ 24 แสดงความรู้สึกดังนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจต่อคะแนนที่ได้มาก ไม่เสียแรงที่มีเพื่อนช่วยติให้ ทำให้ข้าพเจ้าทำข้อสอบได้ ต้องขอบใจเพื่อนๆที่มีน้ำใจติวให้

                นักศึกษาเลขที่ 35 แสดงความรู้สึกดังนี้ คะแนนสอบออกมาดีกว่าที่คิดมากๆ ขอขอบคุณอาจารย์ค่ะที่ทำชุดติวเตอร์ให้ฝึกทำ ขอสัญญาว่าจะทำตามคำแนะนำของอาจารย์ทุกอย่าง และจะช่วยติวให้เพื่อนๆ มีความรู้มากขึ้นด้วยค่ะ

                  และอีกหลายๆ คนที่ทำตามคำแนะนำของครูก็ได้ผลเช่นเดียวกันนี้ครับ

หนูเป็นหนึ่งคนที่อ่อนคณิตศาสตร์มากค่ะ  แต่พอหนูได้เรียนกับอาจารย์  อาจารย์ช่วยให้หนูเข้าใจมากขึ้นเยอะเลยค่ะ  หนูต้องขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างมากน้าค่ะ  หนูชอบวิธีการสอนของอาจารย์มากเลยค่ะ  อาจารย์สอนเข้าใจดีค่ะ  ฝึกให้ทำแบบฝึกหัดชุดติวเต้อ สนุกดีค่ะ  ตอนแรกทำแล้วทำไม่ได้  แต่พอทำไปเรื่อยๆๆ  ก้อรู้สึกว่ามันสนุกดีค่ะ  และพอสอบมันทำให้หนูทำข้อสอบได้ค่ะ  ขอบคุณอาจารย์มากน้าค่ะ

  • ครูดีใจที่นักศึกษาส่วนใหญ่ทำตามคำแนะนำของครู ครูเคยพูดในชั้นเรียนว่า หากนักศึกษาทำตามที่ครูแนะนำอย่างเคร่งครัดแล้ว ปาฎิหาริย์จะเกิดขึ้นกับตัวนักศึกษาอย่างแน่นอน จากการทดสอบย่อยครั้งที่แล้ว พบว่า มีหลายคนที่ได้คะแนนมากกว่าที่คาดคิดไว้ นี้แหละคือ ปาฏิหาริย์ ครับ
  • ยังไม่สายเกินไปสำหรับนักศึกษาที่ยังลังเลใจว่าจะทำตามคำแนะนำครูดีหรือไม่
  • มีผลลัพธ์งานวิจัยในชั้นเรียนที่นักศึกษาตอบแบบสอบถามในวันแรก น่าสนใจมาก ครูจะหาเวลานำเสนอในภายหลังครับ
  • ถึงนักศึกษาที่รักทุกคน
           ครูได้อ่านข้อเขียนของนักศึกษาทุกคนแล้ว พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะกลุ่ม 32) มีความเครียดมาก ซึ่งจะเป็นสาเหตุของการทำข้อสอบกลางภาคไม่ได้ ถ้าไม่รีบแก้ไขจะมีปัญหาเรื่องคะแนนสอบแน่นอน ก่อนที่ครูจะแนะนำในข้อ 2 ต่อไป ขอให้ดำเนินการในข้อ 1 ก่อนดังนี้

    1. เกรดคาดหมาย
            ยังมีนักศึกษาหลายคนยังไม่ได้เขียนเกรดคาดหมายครั้งที่ 2 (ครั้งที่ 1 คือ วันแรกที่เรียน) ครูให้เติมในตอนท้ายของแบบบันทึกต่อไปนี้

         “แบบบันทึก MA101 (สำหรับเตรียมสอบกลางภาค) เกรดคาดหมายครั้งที่ 2 คือ.......”

             ซึ่งนักศึกษาคงไม่ได้สังเกต ทำให้หลายคนไม่ได้เขียน โปรดเขียนส่งให้ครูด่วนครับ ในการตั้งเกรดคาดหมายนั้น ถ้าตั้งสูงกว่าความสามารถจริงมากเกินไปก็จะเกิดความเครียดมากตามไปด้วย เพราะความสามารถตามไปไม่ถึง ยกเว้นนักศึกษามีความเพียรมาก จึงควรตั้งให้ใกล้เคียงกับความสามารถที่แท้จริง เช่น ถ้าทำติวเตอร์ได้ไม่เกิน 16 ข้อ เกรดคาดหมายที่เหมาะสมคือ D หากตั้ง C จะต้องทำให้ได้ประมาณ 20 ข้อ เป็นต้น

    2. ความเครียดเกี่ยวข้องกับการสอบอย่างไร?
             ถ้านักศึกษามีความสามารถระดับ 10 ข้อ หากไม่มีความเครียด หรือมีเพียงเล็กน้อย นักศึกษาจะทำข้อสอบได้ทั้ง 10 ข้อ แต่ถ้านักศึกษามีความเครียดในระดับมากแล้ว อาจทำข้อสอบได้เพียง 4 – 5 ข้อ หรือน้อยกว่านี้ ดังนั้น นักศึกษาจึงควรลดความเครียดโดยดำเนินการดังนี้
            นำติวเตอร์มาทำซ้ำๆ (อย่าเพียงแต่นำมาอ่านแบบวิชาบรรยาย) ให้ได้อย่างน้อย 16 ข้อ โดยไม่ต้องดูชุด 2.2 หากลืมวิธีทำก็ดูชุด 2.2 ก่อนได้ แล้วทำโดยไม่ต้องดูจนได้คำตอบ ให้ทำซ้ำจนทำได้โดยไม่ต้องดูของเก่า หากติดขัดควรหาเพื่อนช่วยติวให้ด้วย บางข้ออาจติวให้เพื่อนก้ได้ถ้าเพื่อนทำไม่ได้

    ใครทำตามคำแนะนำครู และมีความก้าวหน้าไปอย่างไร โปรดเมล์ให้ครูทราบด้วยครับ


     
     ด้วยความปรารถนาดี
     ครูเลข

    จากลูกศิษย์ 

    • ตอนนี้สามารถทำ ติวเตอร์ 2.1 เองได้แล้วเกือบทั้งหมด
      รู้สึกเครียดน้อยลงกว่าเดิมมากเลยค่ะ
      ถ้าสามารถทำในติวเตอร์ได้แล้วจะสามารถทำข้อสอบได้หรือเปล่าคะ หรือว่าต้องอ่านที่ไหนเพิ่มเติมบ้าง
      แต่ยังมีบางข้อที่ยังไม่เข้าใจค่ะ คือ

      ข้อ 18 (ในติวเตอร์) 
      ข้อ 19 (ในติวเตอร์)
      ขอบคุณอาจารย์มากๆ ค่ะ(4490100304)
    • อาจารย์ค่ะหนูกลัวว่าหนูจะทำคะแนนMidtermได้ไม่ถึงครึ่งแต่หนูทำเต็มที่แล้วและสุดความสามารถแล้ว ให้เพื่อนช่วยติวให้แล้ว ทำติวเตอร์เองแล้ว หนูควรจะทำอย่างไรดีค่ะอาจารย์ ถ้าอาจารย์อ่านแล้วตอบกลับด้วยนะค่ะ (4490100072)
    •  หนูสัญญากับอาจารย์และตัวของหนูเองว่าหนูจะทำคะแนนสอบครั้งนี้ให้ดีที่สุดตอนนี้พยายามลดความเครียดตามที่อาจารย์แนะนำมาเพื่อลดความกดดันในการทำข้อสอบ หนูขอขอบพระคุณอาจารย์มากที่ไม่ทอดทิ้งพวกหนู ทำให้หนูมีกำลังใจขึ้นมามาก (4490100015)
      ตอบศิษย์ทั้งสาม
    • หากฝึกทำทุกวันๆ และเพิ่มจำนวนข้อไปเรื่อยๆ หรือทำซ้ำสำหรับข้อยากๆ ความเครียดจะลดลงอย่างแน่นอนครับ พร้อมกันนี้ครูมีคำแนะนำเพิ่มเติมต่อไปนี้ครับ
    • ข้อ 18 (gof)(2) = g(f(2)) ให้หา f(2) ก่อน โปรดสังเกตว่า เขียน (2,3) หมายถึง ถ้า x = 2 แล้วจะได้ y = 3
      และโดยทั่วไป เราเขียน  y = f(x) ดังนั้น ถ้า x = 2 แล้วจะได้ y = f(2) = 3
      ข้อ 19 การหา g(f(1)) ให้ทำข้างในสุดก่อน คือ หา f(1) = … แล้วจะได้ g(f(1)) = g(…) ในท้ายสุดครับ
    • เรียนอาจารย์ที่เคารพค่ะ อาจารย์ช่วยส่งแนวคิดและวิธีการทำมาให้หนูหน่อยค่ะ หนูขอแค่ข้อที่ 18,20,28,29,30 ..หนูขอบพระคุณอย่างยิ่ง ด่วนนะค่ะอาจารย์ เดี๋ยวหนูจะติวให้เพื่อนไม่ได้ค่ะ
    •   ดูที่นี่ครับ http://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/18.zip
    • ขอแสดงความยินดีกับนันทิกา และอัจจิมา ที่ได้คะแนนเต็ม และปาจรีย์ ที่ได้คะแนนเกือบเต็ม และนักศึกษาทุกคนที่ไม่อยู่ในกลุ่ม 21 ส่วนนักศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม 21 ให้แก้ตัวอีกครั้งในการทดสอบย่อยครั้งที่ 2
    ได้คะแนนเท่าไรจึงควรเพิกถอน

    นักศึกษาที่ได้คะแนนสองกรณีต่อไปนี้อาจไม่จำเป็นต้องเพิกถอนวิชาเรียนคือ   

    • กรณีที่ 1 นักศึกษาที่มีคะแนนเก็บเต็ม (ส่งงานทุกครั้งและไม่เคยขาดเรียนเลย)
                                 และมีคะแนน test1+midterm+test2 ไม่น้อยกว่า 20
    • กรณีที่ 2 นักศึกษาที่มีคะแนนเก็บไม่เต็ม แต่มีคะแนน test1+midterm+test2 ไม่น้อยกว่า 25
    • นอกจากสองกรณีดังกล่าวแล้ว ควรพิจารณาเพิกถอนวิชาเรียน
    • ความเห็นของนักศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
    • น.ส. ฉัตรวจี คดีพิศาล สอบวัดพื้นฐานความรู้ในชั่วโมงแรกได้ 0 คะแนน (คะแนนเต็ม 25) และสอบกลางภาคได้ 25 คะแนน (คะแนนเต็ม 35) หนูดีใจที่ได้คะแนนเพิ่มขึ้นมา หนูช่วยติวให้เพื่อนเลยทำให้ตัวเองมีความชำนาญในการทำเพราะเหมือนได้ทบทวนหลายๆรอบแต่อาจจะยังไม่ดีเท่าควรแต่หนูก็ภูมิใจค่ะ
    •  น.ส. สุกัญญา ขวัญเจริญ สอบย่อยครั้งที่ 1 ได้ 1.9 คะแนน (คะแนนเต็ม 10) และสอบกลางภาคได้ 31 คะแนน หนูขอขอบคุณอาจารย์ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะอาจารย์เป็นแรงกระตุ้นให้หนูมีความพยายามมากขึ้น เหตุนี้จึงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้หนูทำได้ และอีกนัยหนึ่งหนูช่วยติวให้เพื่อนอีกด้วย หนูจึงมีความคล่องในการทำข้อสอบค่ะ
    •  น.ส. นราทิพย์ จักษุบท สอบกลางภาคได้ 21 คะแนน  หนูดีใจมากค่ะที่หนูสอบผ่านได้ตั้ง 21 คะแนน ทั้งที่ทีแรกหนูตั้งใจขอแค่ได้ครึ่งหนึ่งค่ะ แต่เกินคาดค่ะ
    • คำถาม
    • สวัสดีค่ะ  อาจารย์  หนูเป็นนักศึกษาที่เรียน MA 101หนูไม่ได้เป็นหนึ่งในกลุ่ม 21 หรอกค่ะแต่หนูอยากได้แบบฝึกหัดเสริมจากอาจารย์เหมือนกลุ่ม 21 เพราะคิดว่าน่าจะทำให้เจอแบบฝึกหัดหลายๆ แบบ และจะได้ทำข้อสอบได้ดีกว่านี้ค่ะ
     
    • คำตอบ
    • ผมให้ทำแบบฝึกหัดที่ 5.1 จำนวนห้าข้อคือ 3.5 / 3.6 / 3.12 / 3.13 / 8
    นันทิกา วิลัยลักษณ์

    อาจารย์ค่ะ  สอบย่อยครั้งที่ 2  เวลาไวมากเลยค่ะอาจารย์  ทำไม่ทันเลยค่ะอาจารย์  อาจารย์เค้าปล่อยไว้มากเลยค่ะ  ให้เข้าห้องสอบก็ช้าค่ะ  แย่แน่เลยค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท