จากการศึกษา journal ผู้สูงอายุกับภาวะซึมเศร้า


จากการที่ได้เรียนวิชาหลักฐานเชิงประจักษ์ อาจารย์ได้ให้ไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ มาด้วยกันทั้งหมด 3 เรื่อง ในส่วนตัวของดิฉันได้หยิบวารสารเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่สำคัญ จะพบมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันบุคคลส่วนใหญ่ต้องเผชิญความเครียด และไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้อาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการบำบัดฟื้นฟู และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางกิจกรรมบำบัดได้

วารสารเรื่องแรกที่จะนำเสนอคือ The Tree Theme Method (TTM), an occupational therapy intervention for treating depression and anxiety: study protocol of a randomized controlled trial” ซึ่งเรื่องราวของวิธีการบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการที่มีภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวล โดยวิธีการบำบัดฟื้นฟูที่มีชื่อว่า “The Tree Theme Method” หรือ “TTM” เปรียบเทียบกับการบำบัดฟื้นทางกิจกรรมบำบัดโดยทั่วไป (treatment as usual)

ก่อนอื่นมารู้จักกันก่อนว่า TTM คืออะไร?

The Tree Theme Method (TTM) เป็นการบำบัดฟื้นฟูพื้นฐานที่นักกิจกรรมบำบัดนำมาใช้ โดยการให้ผู้รับบริการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต ผ่านการวาดรูปต้นไม้ ซึ่งต้นไม้เปรียบเสมือนตัวแทนช่วงเวลาในชีวิตของเรา อาทิ ปัจจุบัน , เด็ก , วัยรุ่น , ผู้ใหญ่ และอนาคต (การวางแผนชีวิต)ภาพที่จะถูกนำมาใช้เป็นจุดเริ่มต้นการบอกเล่าเรื่องราวในชีวิตของเขา ซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการเข้าใจปัญหา , วิธีการที่จะจัดการ และระบุปัญหาในชีวิตประจำวันโดยก่อนที่นักกิจกรรมบำบัดจะเริ่มการบำบัดฟื้นฟูนี้ จะต้องมีการสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ โดยการปรับทัศนคติของผู้รับบริการ เพื่อที่จะกระตุ้นแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดฟื้นฟูนี้ ซึ่งกระบวนการนี้สำคัญมากเพราะจะทำให้ผู้รับบริการเริ่มต้นที่จะมองหามุมมองใหม่ๆ จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าสาเหตุที่ใช้ต้นไม้เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์โบราณในสมัยก่อนแทนตนเอง และแสดงสถานการณ์ชีวิตของพวกเขา ต้นไม้แสดงถึงความยาวนานของช่วงชีวิต และสัมพันธ์กับระยะเวลา การเจริญเติบโตของตนไม้ก็เหมือนพัฒนาการของคนเรา โดยต้นไม้จะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ซึ่งก็เหมือนชีวิตของคนเราในแต่ละช่วงเวลา เช่น ช่วงฤกูใบไม้ผลิ แสดงความรู้สึกความหวัง หรือเทียบกับบุคคลคือช่วงวัยรุ่น , ช่วงฤดูใบไม้ร่วง แสดงถึงความรู้สึกตกต่ำของชีวิต การพักผ่อน หรือเทียบกับบุคคลคือช่วงวัยสูงอายุ เป็นต้น นอกจากนี้ในส่วนของกิ่งต้นไม้ เปรียบเสมือนแขนของคนเรา ซึ่งบางคนเปรียบกิ่งก้านเหมือนสมาชิกในครอบครัว และรากเปรียบเสมือนเท้าของคนเรา เป็นต้น

ส่วนการรักษาทางกิจกรรมบำบัดทั่วไป (treatment as usual) จะเป็นการสนทนา และทำกิจกรรมโดยทั่วไป (การวิจัยนี้ได้กล่าวไว้แค่นี้)

การวิจัยนี้ได้ทำการทดลองแบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial : RCT) แต่ละกลุ่มจะได้รับการบำบัดฟื้นฟูแตกต่าง คือ การบำบัดฟื้นฟูแบบ TTM และ การบำบัดฟื้นฟูแบบทั่วไป ตามลำดับ ผู้ที่เข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้ได้ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง อายุระหว่าง 18-65 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะซึมเศร้า หรือมีภาวะวิตกกังวล ระยะเวลา 6-9 สัปดาห์ ซึ่งเป็นทั้งหมด 5 ครั้ง ครั้งล่ะ 60 นาที นอกจากนี้มีการรวบรวมข้อมูลในช่วง 3 เดือน และ 12 เดือน หลังจากการบำบัดฟื้นฟูสิ้นสุดลง

โดยการวัดผลจะวัดจากอาการทางจิต , การทำกิจวัตรประจำวันในทุกวัน และปัจจัยด้านสุขภาพ

ผลลัพธ์จากการศึกษาดังกล่าวว่า การบำบัดฟื้นฟูวิธีการ TTM เป็นที่น่าพอใจ เพราะเป็นวิธีการที่เฉพาะจะช่วยให้ผู้รับบริการสามารถกลับมาทำกิจกรรมดำเนินชีวิตได้ดี และภาวะอาการซึมเศร้าลดลงมากกว่าการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดทั่วไป

วารสารเรื่องต่อไปที่จะนำเสนอ คือ Emotion Regulation Skills Training Enhances the Efficacy of Inpatient Cognitive Behavioral Therapy for Major Depressive Disorder: A Randomized Controlled Trial” เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้รับบริการเป็นโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder : MDD) โดยวิธีการบำบัดฟื้นฟูที่มีชื่อว่า “Emotion Regulation Training (ERT) และ cognitive behabvior therapy (CBT)”

การวิจัยนี้ทำการทดลองแบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial : RCT) แต่ละกลุ่มจะได้รับการบำบัดฟื้นฟูแตกต่าง คือ การบำบัดฟื้นฟูแบบ CBT ร่วมกับ ERT และ CBT เป็นประจำ ตามลำดับ มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 432 คน ระยะเวลา 46 วัน เป็นโรคซึมเศร้า จากโรงพยาบาลดูแลสุขภาพจิตในประเทศเยอรมัน (routine mental health care hospital in Germany) โดยมีเกณฑ์ดังนี้ 1. ในปัจจุบันการวินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้า ตามเกณฑ์ของ DSM-5 , 2. มีค่าคะแนน BDI > 11 , 3. อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป , 4. คาดว่าได้รับการรักษาตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป , 5. มีทักษะภาษาเยอรมัน , 6. ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดรุนแรงในปัจจุบัน , ไม่มีการบาดเจ็บที่สมอง และปัญหาทางด้านร่างกาย

ในสัปดาห์ที่ 2 ของการรักษา ผู้ที่เข้าร่วมจะได้รับการให้ความรู้ และวิธีการในการให้การรักษา

การบำบัดฟื้นฟูแบบ CBT ร่วมกับ ERT (กลุ่มทดลอง)

ERT หรือ Affect Regulation Training : ART เป็นหนึ่งในการบำบัดฟื้นฟูแบบ “transdiagnostic intervention” ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมมาตรฐาน ประกอบด้วย 12 เกณฑ์วัด ในการใช้โปรแกรมนี้จะทำ 2 ครั้งในเวลา 45 นาที โดยจะเป็นการกำหนดให้ออกกำลังกายบางส่วน และมีการให้ความรู้ด้านสุขภาพจิต ในการสามารถกลับไปทำเองได้ วิธีการดังกล่าวจะถูกนำไปใช้แทน CBT ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 และ 4 การทำ ERT จะมีการทำกิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxation) , ผ่อนคลายลมหายใจ (breathing relaxzation), การรับรู้อารมณ์ของตนเอง (percept emotion) , การได้รับยอมรับ และความอดทนของอารมณ์ (acceptance and tolerance of emotions) , สนับสนุนตัวเองเห็นอกเห็นใจ (compassionate self-support) , ระบุสาเหตุการตอบสนองอารมณ์ของแต่ละบุคคล (identification of the causes) และการปรับเปลี่ยนอารมณ์ (active modification of emotions) นอกจากนี้ยังนำวิธีการ ERT ไปร่วมทำกิจกรรมกลุ่มประมาณ 8-10 คน

การให้การบำบัดฟื้นฟูแบบ CBT เป็นประจำ (กลุ่มควบคุม)

การใช้ CBT จะเน้นในผู้ป่วยในของโรงพยาบาล โดยวิธีการนี้จะเป็นวิธีการพื้นฐานในการรักษาอาการของโรคซึมเศร้า จะให้การบำบัดฟื้นฟูครั้งล่ะ 45 นาที ต่อ 1 สัปดาห์ โดยนักกิจกรรมบำบัดจะใช้วิธีนี้ในการสร้างปฏิกิริยาการตอบสนองมากขึ้น , ส่งเสริมการแสดงบทบาท และมีการแนะนำให้พูดคุยกับตนเอง เป็นต้น โดยจะวัดผลจากการที่ผู้รับการสามารถนำวิธีการ CBT มาใช้ เช่น การสร้างเหตุผลที่เป็นพื้นฐาน , การเพิ่มแรงเสริมทางบวกให้กับตนเองได้ (positive reinforcers) , สามารถลดการคิดเรื่องเศร้าได้ และสามารถพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหา

ในการบำบัดฟื้นฟูจะเริ่มจากฝึกให้ผู้รับบริการจัดการกับปัญหาได้ (problem solving)

ก่อน โดยการฝึกจะมีการสร้างสถานการณ์ปัญหาเฉพาะของผู้รับบริการแต่ละราย จากนั้นดูว่าผู้รับบริการสามารถมีกระบวนการคิดแก้ไขปัญหาที่พบเจอได้หรือไม่ นักกิจกรรมบำบัดมีอาจมีส่วนช่วยในการแนะนำ หรือเสนอความคิดเห็นร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีวิธีการฝึกอย่างอื่นในช่วงเวลา 45 นาทีที่ทำ เช่น กิจกรรมผ่อนคลาย (relaxation training) และกิจกรรมเล่นกีฬาที่สนุกสนาน เพื่อลดความเครียด , วิตกกังวล , เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ และเพิ่มแรงจูงใจ นอกจากนี้กิจกรรมกีฬายังมีส่วนช่วยในด้านการเข้าสังคม (ตัวอย่างกิจกรรม เช่น กิจกรรมวาดภาพ , ทอผ้า และถ่ายภาพ ) ซึ่งกิจกรรมจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้รับบริการแต่ล่ะคน

ผลลัพธ์จากการศึกษาดังกล่าวว่า ผู้รับบริการที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูแบบ CBT และ ERT ร่วมกัน จะเป็นมีอัตราลดภาวะเศร้าได้ถึง 84.9% อีกทั้งยังสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ส่วนผู้รับบริการที่บำบัดฟื้นฟูแบบ CBT เป็นประจำมีอัตราลดภาวะเศร้า 75.5%

ดังนั้นวิธีการทั้ง CBT และ ERT ช่วยสนับสนุนการบำบัดฟื้นฟูโรคซึมเศร้า ทำให้การบำบัดฟื้นฟูมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในการป้องกัน หรือรับมือโรคซึมเศร้าที่จะเกิดขึ้นได้

และวารสารเรื่องสุดท้ายที่จะนำเสนอ คือ “The effectiveness of individual interpersonal psychotherapy as a treatment for major depressive disorder in adult outpatients: a systematic review เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้รับบริการเป็นโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder : MDD) เช่นเดียวกับงานวิจัยเรื่องที่กล่าวมา แต่มีวิธีการบำบัดฟื้นฟูแตกต่างกัน งานวิจัยนี้จะใช้การบำบัดฟื้นฟูที่ชื่อว่า “individual interpersonal psychotherapy” ซึ่งในงานวิจัยนี้จะเน้นดูประสิทธิภาพของวิธีการดังกล่าว เปรียบกับการบำบัดฟื้นฟูทั่วไป

การวิจัยนี้ทำการทดลองแบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial : RCT) แต่ละกลุ่มจะได้รับการบำบัดฟื้นฟูแตกต่าง คือ interpersonal psychotherapy และ การรักษาบำบัดฟื้นฟูทั่วไป ตามลำดับ ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้รับบริการโรคซึมเศร้า แต่ไม่เรื้อรัง และไม่เป็นโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar) อายุระหว่าง 18-65 ปี

การให้การบำบัดฟื้นฟูแบบ interpersonal psychotherapy คือ

การใช้กระบวนการจิตบำบัดเพื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้รับบริการได้เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง และสามารถที่จะควบคุมอาการได้ให้สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม โดยมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาหลัก 4 ด้าน ได้แก่ 1. อารมณเศร้าโคกจากการสูญเสีย , 2. ความขัดแย้งทางบทบาทสัมพันธภาพระหว่างบุคคล , 3. การเปลี่นผ่านบทบาท และ 4. ความบกพร่องทางสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

โดยขั้นตอนบำบัดจะแบ่งเป็นด้วยกัน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มต้น จะเน้นการสร้างสัมพันธภาพ , การรับฟังปัญหา และการรับความรู้สึกที่ผู้รับบริการแสดงออกมา , ระยะกลาง เป็นระยะถ่ายโอนความรู้สึก จะเน้นในเรื่องตระหนักถึงปัญหา การสนับสนุน การประคับประคอง การตีความ การให้กำลังใจ และการจัดการกับสิ่งแวด และระยะสิ้นสุด เป็นการเตรียมสิ้นสุดสัมพันธภาพ

ผลลัพธ์จากการศึกษาดังกล่าวว่า การบำบัดฟื้ฟูด้วยวิธีการจิตบำบัด เมื่อเทียบกับการรักษาทั่วไป CBT จะไม่แตกต่างกันมากนัก ให้ผลใกล้เคียงกัน แต่จะช่วยให้ผู้รับบริการมีมนุษยสัมพันธ์มากขึ้น

ข้อเสนอแนะ และการนำไป

1. ภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล สามารถนำไปสู่ความยากลำบากการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ดังนั้นเราควรมีวิธีการจัดการภาวะดังกล่าว ซึ่งการนำวิธีการบำบัดฟื้นฟูแบบ The Tree Theme Method (TTM) ไปใช้ จะเน้นให้ผู้รับบริการบอกเล่าปัญหาต่างๆ ผ่านการวาดรูปต้นไม้ ซึ่งจะทำให้ผู้บำบัดได้เห็นถึงปัญหา และความคิดของผู้รับบริการที่แสดงออกมา หลังจากนั้นผู้บำบัด และผู้รับบริการร่วมมือกันในการวางแผนการรักษาร่วมกัน หลังจากนั้นฝึกกิจกรรม โดยกิจกรรมที่ใช้จะเป็นกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น กิจกรรมดูแลตัวเอง , กิจกรรมพักผ่อน , กิจกรรมยามว่าง และการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2. การนำวิธีบำบัดฟื้นฟู แบบ Emotion Regulation Training (ERT) ร่วมกับ cognitive behavior therapy (CBT) ไปใช้ จะช่วยให้ผู้รับบริการสามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง , สามารถจัดการหรือรับมือกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีดังกล่าวจะได้ผลประสิทธิภาพที่ดควรจะนำไปใช้ในผู้รับบริการโรคซึมเศร้า เพราะสามารถนำไปใช้ในการป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย ทำให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปทำกิจกรรมดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

3. การบำบัดฟื้นฟูแบบ Interpersonal psychotherapy (IPT) เหมาะสำหรับผู้รับบริการที่มีปัญหาหลักในด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และลดอาการซึมเศร้าในกลุ่ม moderate to severe depression (ระดับปานกลางถึงรุนแรง) จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อผู้รับบริการมีมนุษยสัมพันธ์มากขึ้นส่งผลให้ สามารถทำกิจกรรมมีส่วนร่วมทางคมได้

สรุป

วิธีการบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการที่มีภาวะซึมเศร้ามีหลายวิธีการด้วยกัน นี่เป็นเพียงตัวอย่างวิธีการบำบัดฟื้นฟูที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทของผู้รับบริการแต่ล่ะคน ซึ่งหน้าที่หลักนักกิจกรรมต้องเลือกวิธีการให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ โดยต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้รับบริการด้วย เพื่อให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการวางแผนการบำบัดฟื้นฟูไปด้วยกัน อีกทั้งครอบครัวของผู้รับบริการก็ต้องมีส่วนร่วมด้วย เพื่อให้การบำบัดฟื้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จนทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ข้อมูลอ้างอิงจาก :

http://bmcpsychology.biomedcentral.com/articles/10.1186/s40359-015-0097-9

http://bmcpsychiatry.biomedcentral.com/articles/10...

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23712210

http://lup.lub.lu.se/luur/download?func=downloadFi...

http://www.thaidepression.com/www/56/practical.pdf


หมายเลขบันทึก: 602557เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท