ผลกระทบของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ


...มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือเรียกกันสั้นๆว่า มาตรการ QE เป็นหนึ่งในนโยบายการเงินแบบพิเศษ เพื่อรักษาเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจ ทั้งเสถียรภาพทางการเงิน และการกระตุ้นอุปสงค์เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และทำให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัว ซึ่งไม่ได้หมายถึง การอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ โดยวิธีการที่ถูกใช้มากที่สุด คือ การลดดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับที่ต่ำ เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจให้อยู่ในระดับที่ต่ำลง

...มาตรการ QE เคยถูกประกาศใช้มาแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุน และล่าสุด คือ ประเทศสวีเดน ซึ่งประเทศเหล่านี้ถือว่าเป็นประเทศเศรษฐกิจหลัก ซึ่งมองผลกระทบของมาตรการ QE ว่าจะทำให้ตลาดเงินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจโลกเติบโตต่อได้ และจะทำให้ประเทศอื่นได้รับผลประโยชน์ผ่านการค้าและการลงทุน

...แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งด้านบวกมีผลเพียงทำให้ตลาดเงินกลับสู่สภาวะปกติเท่านั้น ส่วนด้านลบส่งผลให้มีความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงิน ลดแรงจูงใจในการแก้ปัญหาที่แท้จริง และประสิทธิผลของนโยบายการเงินแบบปกติลดลงอีกด้วย เมื่อมีการประกาศใช้ก็ต้องมีการลดหรือยุติมาตรการ QE ลง อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจ และภาคการเงินของประเทศไทยยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และไม่ทำให้เกิดวิกฤตดุลชำระเงิน


มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE : Quantitative Easing)


ข้อมูลจาก : http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx...

คำสำคัญ (Tags): #มาตรการ QE
หมายเลขบันทึก: 602556เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท